เมื่อปัญหาภายในโรงเรียน ไม่ใช่แค่เรื่องของผู้บริหารโรงเรียนเท่านั้น เพราะนักเรียนก็ใช้เวลาในโรงเรียนรองลงมาจากการอยู่บ้าน เพราะฉะนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียนย่อมส่งผลกระทบกับนักเรียนแน่นอน
เมื่อปัญหาภายในโรงเรียน ไม่ใช่แค่เรื่องของผู้บริหารโรงเรียนเท่านั้น เพราะนักเรียนเองก็ใช้เวลาในโรงเรียนรองลงมาจากการอยู่บ้าน เพราะฉะนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียนย่อมส่งผลกระทบกับนักเรียนแน่นอน พ่อแม่ ผู้ปกครองจึงต้องมีส่วนในการดูแลคุณภาพชีวิตของลูกหลานในรั้วโรงเรียนด้วยเช่นกัน
Check My School จึงเป็นแพลตฟอร์มสำหรับให้ประชาชนชาวฟิลิปปินส์ สามารถติดตาม ตรวจสอบผลการปฎิบัติงานของสถานศึกษา เพื่อแก้ปัญหาการคอร์รัปชันในสถานศึกษา และเพิ่มความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างในโรงเรียน และนำผลจากการตรวจสอบนำเสนอบนเว็บไซต์เพื่อเป็นฐานข้อมูลของโรงเรียนทั่วประเทศ สำหรับการติดตามการดำเนินงานและแก้ไขปัญหาต่างๆ ตามแนวคิดการจัดทำข้อมูลเปิด (Open Data) เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้ และนำไปตรวจสอบกับโรงเรียนของตนเองเพื่อส่งข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสถานการณ์ของโรงเรียนเข้ามาในระบบฐานข้อมูล เมื่อรายงานปรากฎบนฐานข้อมูลแล้ว กระทรวงศึกษาธิการและคณะกรรมการสถานศึกษาในพื้นที่จะหารือแนวทางแก้ไขกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยมุ่งเน้นความร่วมมือของคนในพื้นที่เป็นหลัก
นอกจากนี้ ยังมีการอบรมคนในชุมชน ผู้ปกครอง เด็ก และครูเรื่องระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างและการตรวจสอบครุภัณฑ์ในโรงเรียนเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในการร่วมกันรับผิดชอบโรงเรียนในพื้นที่ของตนเอง วิธีการนี้ทำให้เกิดเครือข่ายอาสาสมัครในพื้นที่ทั่วประเทศที่ได้รับการอบรมให้มีความพร้อมในการเก็บข้อมูลและตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ในโรงเรียน
ผู้ใช้งานสามารถส่งข้อร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาของโรงเรียนมาได้ทั้งทางเว็บไซต์ Facebook ทางสายด่วน Hotline และ SMS โดยระบุแค่เพียง ชื่อโรงเรียน ชื่อครูผู้สอน และระบุสถานภาพของคนส่งว่าเป็นผู้ปกครอง นักเรียน ครู หรือบุคคลทั่วไป
หลังจากได้รับข้อมูลแล้วทางโครงการจะส่งอาสาสมัครเข้าไปตรวจสอบพื้นที่ โดยมุ่งเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียนที่ถูกร้องเรียน คณะกรรมการการศึกษาในพื้นที่ และประชาชนในพื้นที่เพื่อประเมินคุณภาพของโรงเรียน เช่น จำนวนนักเรียน ครู โต๊ะและเก้าอี้ ห้องน้ำ สิ่งอำนวยความสะดวกในห้องเรียน น้ำสะอาด ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ และตำราเรียน
ซึ่งเป็นการประเมินที่ประกอบด้วยเชิงปริมาณ คือ การนับจำนวนเพื่อตรวจสอบความเพียงพอ และการประเมินเชิงคุณภาพด้วยการระบุสภาพการใช้งานของแต่ละหมวด เมื่อได้รับการตรวจสอบจากทุกฝ่ายแล้วจึงทำการอัพโหลดข้อมูลการสำรวจขึ้นบนเว็บไซต์สาธารณะเพื่อเป็นข้อมูลเปิดด้านคุณภาพสถานศึกษาต่อไป
ที่จริงตอนนี้ในประเทศไทยก็ได้เริ่มสร้างช่องทางการมีส่วนร่วมภายในโรงเรียนแล้วเช่นกัน ตามไปดูกันได้ที่ โครงการโรงเรียนโปร่งใส พื้นที่ให้คนทุกกลุ่มในโรงเรียนได้มีส่วนในการแก้ปัญหาร่วมกัน รวมถึงกระตุ้นให้โรงเรียนจัดทำข้อมูลเปิดโรงเรียน (Open School Data) ที่เป็นมาตรฐานที่นักเรียน ผู้ปกครองหรือประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ง่าย ร่วมสร้างเสริมธรรมาภิบาลในโรงเรียน
Check My School
ประเทศ : ฟิลิปปินส์
ประเภทเครื่องมือ : Public Service delivery (School)
ผู้จัดทำเครื่องมือ : Department of Educational และ Local School Board Community
- HAND SOCIAL ENTERPRISE
หัวข้อ
โรงเรียนโปร่งใส เครื่องมือส่งเสริมความโปร่งใสและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา (School Governance)
เพราะการมีส่วนร่วม คือ กุญแจสำคัญในการพัฒนาโรงเรียน…ชวนทุกคนมาแลกเปลี่ยน เพื่อพัฒนาโรงเรียนไปด้วยกัน
เปิดข้อมูลเพื่อความสร้างสรรค์ไปกับ data.gov.sg
เคยนึกสงสัยกันไหมว่าถ้าประเทศไทยมีการเปิดเผยข้อมูลจากภาครัฐ ข้อมูลเหล่านั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ และต่อต้านการคอร์รัปชันได้อย่างไรบ้าง?
หลักสูตรสุจริตไทย เรียนรู้เรื่องราวการทุจริตประเภทต่าง ๆ เพื่อร่วมต้านโกงในสังคมไทย
คุณแยกแยะระหว่าง สุจริต กับ ทุจริต ได้ไหม ? หลักสูตรสุจริตไทย ช่วยคุณได้