Corruption Watch ลดคอร์รัปชันด้วยช่องทางร้องเรียนที่ปลอดภัยสำหรับประชาชน

ไม่มีใครอยากร้องเรียนเรื่องทุจริต เพราะชีวิตจะไม่ปลอดภัย เมื่อการร่วมเป็นหูเป็นตา แจ้งเบาะแสการทุจริตเป็นเรื่องอันตรายสำหรับหลายคน แล้วปัญหานี้จะถูกแก้ได้ยังไง

Corruption Watch เกิดขึ้นเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมต่อต้านคอร์รัปชันในพื้นที่แอฟฟริกาใต้ ด้วยวิธีการทำงานที่อาศัยกลไกการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมเป็นหลักในการขับเคลื่อนงาน อย่างโปร่งใส และปลอดภัยสำหรับผู้ร้องเรียน โดยแพลตฟอร์มเสนอ 3 วิธีการง่าย ๆ ที่ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมต่อต้านคอร์รปชัน ได้แก่

  1. รายงานการทุจริตคอร์รัปชันที่ประชาชนทั่วไปสามารถร่วมรายงานเหตุสงสัยหรือความผิดปกติผ่านช่องทางที่หลากหลายของโครงการ ได้แก่ เว็บไซต์ WhatsApp อีเมล และสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ หรือแจ้งด้วยตนเองที่สำนักงาน
  2. การรับบริจาคสำหรับพัฒนาระบบรับเรื่องรายงานและค่าใช้จ่ายของทีมงาน
  3. ติดตามข้อมูลข่าวสารการทุจริตคอร์รัปชันในประเทศ

จุดเด่นของแพลตฟอร์มอยู่ที่ระบบรายงานเรื่องคอร์รัปชันที่มีความปลอดภัยต่อผู้รายงาน และมีระบบการติดต่อกลับผู้แจ้งเบาะแส (whistleblower callback service) ผ่าน SMS ในกรณีที่ผู้ใช้งานต้องการข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงมีเจ้าหน้าที่ช่วยตรวจสอบรายงานที่ถูกกล่าวหาว่ามีการทุจริตโดยเฉพาะกรณีที่มีผลกระทบต่อสังคมเพื่อนำไปเผยแพร่และทำงานร่วมกับสื่อกระแสหลักและชุมชน เพื่อให้แน่ใจว่ามีการติดตามผลจากรายงานที่ประชาชนร้องเรียนเข้ามา ซึ่งขั้นตอนการตรวจสอบอาจจะดำเนินการได้แค่บางกรณีเท่านั้o

ผู้ใช้งานสามารถเข้าสู่หน้าการรายงานได้ที่ฟีเจอร์ Repory Corruption โดยจะมีแบบฟอร์มสำหรับกรอกข้อมูล 4 ขั้นตอนได้แก่

  1. ประเภทการคอร์รัปชัน
  2. ประเภทของกลุ่มองค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น รัฐบาลท้องถิ่น บริษัทหรือองค์กรเอกชน พร้อมเลือกเมืองและจังหวัดที่เกิดเหตุ
  3. เขียนเล่ารายละเอียดของสถานการณ์คอร์รัปชันโดยย่อ
  4. ให้ข้อมูลติดต่อกรณีที่ท่านต้องการได้รับข้อมูลอัปเดตจากองค์กร

หรือหากผู้ใดไม่สะดวกรายงานผ่านทางเว็บไซต์ทางองค์กรมีช่องทางติดต่ออื่น เช่น สายด่วน HotLine, Call back Service และ WhatsApp โดยหลังจากที่ทีมงานได้รับเรื่องร้องเรียนแล้วจะทำตรวจสอบก่อนจะทำการรายงานกลับไปให้คุณทราบทันที

🚩 Corruption Watch
ประเทศ : แอฟฟริกาใต้
ประเภทเครื่องมือ : Report corruption
ผู้จัดทำเครื่องมือ : Corruption Watch สนับสนุนโดย International Transparency

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2564
ผู้แต่ง
  • HAND SOCIAL ENTERPRISE
หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : เมื่อผมเรียนรู้การต้านคอร์รัปชัน จากร้านซักผ้า

หรือนี่คือช่างเชื่อมตัวจริง ? เมื่ออาจารย์ต่อภัสสร์พาคุณไปเรียนรู้การต่อต้านคอร์รัปชันจากการตามหาร้านซักผ้าในสหรัฐอเมริกา !

ลงมือสู้โกง : ไข ‘เครื่องมือต้านโกง’จากประเด็นร้อนเสาไฟกินรี

จากการตั้งคำถามด้วยภาพเสาไฟกินรีไม่กี่ต้นในซอยด้วยมือถือเครื่องเดียว ลุกลามสู่การตรวจสอบงบติดตั้งเสาไฟประติมากรรมทั่วประเทศได้อย่างไร

ลงมือสู้โกง : ฟื้นฟูจากโควิด และระบบตรวจสอบภาคประชาชน

จะวางใจได้อย่างไร ว่าเงินของเราถูกนำไปใช้แก้ปัญหาโควิด-19 อย่างคุ้มค่า ?นับตั้งแต่เกิดสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2563 ทำให้ทั่วโลกต้องเผชิญกับปัญหาด้านสาธารณสุขในการป้องกันและรักษาผู้ป่วย ตามมาด้วยปัญหาภาวะเศรษฐกิจถดถอย อัตราการว่างงานและอัตราการเลิกจ้างสูงขึ้น

You might also like...

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : แก้บนอาจไม่ถูกใจ แต่สินบนถูกใจแน่นอน

สวัสดีปีใหม่และสุขสันต์วันคริสต์มาสแด่นักอ่านแนวหน้าทุกท่าน ในเทศกาลแห่งความสุขนี้ ผู้เขียนขอมอบเพลง Santa Doesn’t Know You Like I Do ของ Sabrina Carpenter เพื่อเป็นหนึ่งในเพลงที่เหมาะสำหรับการฟังในช่วงเวลาพิเศษนี้ เนื้อเพลงได้สื่อถึงความรักของคนคนหนึ่งที่สามารถเติมเต็มความปรารถนาของคนรักได้โดยไม่ต้องพึ่งคุณพ่อฤดูหนาวหรือซานต้า เพราะซานต้านั้นไม่ได้รู้จักตัวตนของเราดีไปกว่าคนใกล้ชิดหรือคนใกล้ตัว

KRAC Hot News I ปลดล็อกรังนกจากถ้ำสู่บ้านอย่างไร ให้โปร่งใสไร้ทุจริต

การส่งออกรังนกไทยมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามความต้องการของผู้บริโภค ธุรกิจรังนกจึงสร้างรายได้มหาศาลให้กับเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน แต่หากขาดการกำกับดูแลให้โปร่งใส อาจจะก่อให้เกิดผลเสียมหาศาลกับธุรกิจไทยได้

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | “ธรรมาภิบาล” หลักการที่ยืดหยุ่น พร้อมสร้างประสิทธิภาพ

เคยสงสัยไหมว่าทำไมหลักธรรมาภิบาลของแต่ละองค์กรถึงดูไม่เหมือนกัน บางองค์กรมี 6 หลัก บางองค์กรมี 8 หลัก ความจริงแล้วหลากหลายองค์กรทั่วโลกล้วนมีการวางแนวคิดเกี่ยวกับธรรมาภิบาลที่ต่างกัน โดยงานวิจัยเรื่อง “โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูล องค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (ระยะที่ 2)” (2563) ได้ศึกษาเรื่องนี้เอาไว้