Developmentcheck แก้ปัญหางานไม่ได้มาตรฐานเพราะการทุจริต ด้วยการติดตามประเมินผลจากประชาชน

เคยเห็นไหม ถนนที่สร้างแบบคุณภาพต่ำ แป๊บ ๆ ก็ต้องสร้างใหม่ให้เปลืองงบ หลายครั้งที่เราพบเจอการก่อสร้างของภาครัฐที่ไม่ได้คุณภาพ แต่ไม่รู้จะทำยังไง ได้แต่บ่นลงโซเชียลไปวัน ๆ ปัญหาก็ไม่ได้แก้สักที

Developmentcheck จึงเป็นแพลตฟอร์มให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ ติดตามการดำเนินงานโครงการพัฒนาของรัฐ เช่น ถนน ที่อยู่อาศัย โรงเรียน โรงพยาบาล ไฟฟ้าและพลังงาน เป็นต้น เพื่อให้แต่ละโครงการส่งมอบงานอย่างมีคุณภาพตามที่ระบุในสัญญา

เนื่องจากโครงการพัฒนาที่เข้ามาในพื้นที่บางโครงการไม่ได้ปฎิบัติตามข้อตกลงใน TOR อาจเป็นช่องทางให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชันได้ โดยผู้ทำหน้าที่รายงานต้องได้รับการอบรมเบื้องต้นจากโครงการในการทำหน้าที่สำรวจความคืบหน้าและเหตุผิดปกติของโครงการด้วยการลงไปสำรวจพื้นที่โครงการพร้อมถ่ายรูปความคืบหน้าและแจ้งปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อให้เจ้าหน้าที่หรือผู้เชี่ยวชาญเข้าไปตรวจสอบ

ข้อมูลเหล่านี้จะปรากฎบนเว็บไซต์ทันทีเพื่อสร้างแรงจูงใจในการแก้ปัญหาของบริษัทที่ดำเนินการ และกระตุ้นให้ประชาชนในพื้นที่โดยรอบโครงการเข้าไปติดตามการทำงานต่อได้

นอกจากนี้โครงการจะถูกประเมินประสิทธิภาพของความโปร่งใส 3 ด้าน ได้แก่

  • จำนวนของปัญหาที่ระบุไว้ได้รับการแก้ไข
  •  ผลประเมินความพึงพอใจของประชาชนต่อโครงการ
  • การเข้าถึงข้อมูลสัญญา

ปัจจุบันแพลตฟอร์มนี้ได้ถูกใช้ใน 6 ประเทศทั่วโลก และสามารถตรวจสอบงบประมาณโครงการต่าง ๆ ได้มากถึง $1,026,838,379 จาก 517 โครงการ และมีอัตราความสำเร็จในการดำเนินโครงการมากถึง 46%

ผู้ใช้งานสามารถเข้าใช้งาน Developmentcheck ได้ผ่านแอปพลิเคชัน Developmentcheck โดยมีขั้นตอนการเข้าใช้งานดังต่อไปนี้

  1. ผู้ใช้งานสร้างบัญชีผู้ใช้ ซึ่งผู้ใช้จะต้องกรอกข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ เช่น ชื่อจริง เบอร์โทรศัพท์ และอีเมล เพื่อ login เข้าระบบ
  2. เมื่อ login เรียบร้อยแล้วในหน้าต่างแรกผู้ใช้งานสามารถอ่านรายงานปัญหาจากโครงการต่าง ๆ และสามารถสืบค้นชื่อโครงการที่ต้องการติดตามได้จากช่อง “serch projects”
  3. เมื่อเจอโครงการที่ตนเองต้องการส่งคำร้องเรียนให้ click เข้าไปในโครงการนั้น จากนั้นผู้ใช้งานสามารถกรอกคำร้องเรียนของตนเอง และสามารถแนบรูปหลักฐานประกอบได้จากนั้นให้ผู้ใช้งานกดปุ่ม “submit” เพื่อส่งคำร้องเรียน
  4. ผู้ใช้งานสามารถติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหา ได้จากเมนู “developmentcheck”

ชาวไทยก็ไม่น้อยหน้า เพราะว่าเรามีทั้ง https://actai.co/ ให้เข้าไปตรวจสอบงบประมาณจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
หรืออยากตรวจสอบโครงการก่อสร้างภาครัฐในรัศมี 20 กิโลเมตรรอบตัวเราได้ง่าย ๆ ที่ https://costthailand.org/


🚩 Developmentcheck
ประเทศ : เคนย่า, แทนซาเนีย, ยูกันด่า, ปาเลสไตน์, คองโก, อัฟกานิสถาน และ โรมาเนีย
ประเภทเครื่องมือ : Monitoring Public Procurement
ผู้จัดทำเครื่องมือ : Integrity Action
—————

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2564
ผู้แต่ง
  • HAND SOCIAL ENTERPRISE
หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

โรงเรียนโปร่งใส เครื่องมือส่งเสริมความโปร่งใสและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา (School Governance)

เพราะการมีส่วนร่วม คือ กุญแจสำคัญในการพัฒนาโรงเรียน…ชวนทุกคนมาแลกเปลี่ยน เพื่อพัฒนาโรงเรียนไปด้วยกัน

เชื่อมต่อทุกไอเดียจากความต้องการของประชาชนไปกับเเพลตฟอร์ม JOIN

ไต้หวันเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างในเอเชียที่มีการเปิดเผยการทำงานของรัฐบาลอย่างเป็นรูปธรรม ตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์ม JOIN หรือ https://join.gov.tw มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการสื่อสารและความเข้าใจกันระหว่างภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคส่วนอื่น ๆ ในสังคม

ผ่างบเมือง ให้งบประมาณเมือง…เป็นเรื่องตรวจสอบได้

งบ อบจ. สำคัญกับชีวิตเราอย่างไร? และประชาชนอย่างเรา สามารถมีส่วนร่วมในการติดตาม ตรวจสอบ การใช้จ่ายงบประมาณของแต่ละจังหวัดได้ไหม?

You might also like...

บทความวิจัย : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี

เมื่อการกระจายอำนาจกลับกลายเป็นการกระจายการทุจริตสู่ท้องถิ่น เพื่อยับยั้งปัญหาคอร์รัปชันในท้องถิ่น จึงต้องส่งเสริมการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล (กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี)

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I UNODC จับมือไนจีเรียจัดทำรายงานการทุจริตในไนจีเรีย ชี้ “การติดสินบนได้รับการยอมรับน้อยลง”

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า “การทุจริตในไนจีเรีย: รูปแบบและทิศทาง (Corruption in Nigeria: Patterns and Trends)” เป็นการสำรวจเกี่ยวกับการรับรู้การทุจริตของประชาชนในประเทศไนจีเรียจากประสบการณ์ของประชาชน นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์แนวโน้มการทุจริต ประสิทธิภาพของกลยุทธ์ และแนวทางการต่อต้านการทุจริตอีกด้วย

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : โกง (เรื่อง) กิน ฉ่ำๆ หม่ำๆ แบดกาย แบดกายหม่ำๆ

เมื่อวันแม่ที่ผ่านมาหลายๆ ท่านคงพาคุณแม่ไปทานข้าว หรืออาจกลับบ้านไปทานข้าวกับคุณแม่และครอบครัว เพราะสำหรับคนไทยแล้ว “อาหารเป็นเรื่องสำคัญ” ดังนั้นในวันสำคัญการนัดรวมตัวกันกินข้าวจึงเป็นเรื่องจำเป็น