การเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส อาจจะไม่ใช่แค่การเปิดทุกอย่าง แต่ต้องเปิดเผยให้ประชาชนเข้าใจ และเข้าถึงง่าย เหมือนเครื่องมือนี้
DIGIWHIST เป็นระบบการแจ้งเบาะแสดิจิทัล (Watch Dog Tools) ภายใต้กรอบการทำงาน 3 หลัก ได้แก่ ความโปร่งใสทางการคลัง การประเมินความเสี่ยง และการประเมินผลกระทบของนโยบายด้านธรรมาภิบาล
โดยปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาเครื่องมือส่งเสริมความโปร่งใสร่วมกับพันธมิตร 6 องค์กรในสหภาพยุโรปเพื่อสร้างเครื่องมือที่เป็นประโยชน์ต่อการตรวจสอบระบบการจัดซื้อจัดจ้างที่มีประสิทธิภาพและพัฒนาระบบอัลกอริทึมในการรวบรวมข้อมูลให้มีการอัพเดตฐานข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ
โดยมุ่งเน้น 3 เรื่องหลักที่เป็นประโยชน์ต่อการติดตามและตรวจสอบการทำงานของภาคประชาชน จัดระเบียบกฎหมายและสร้างมาตรฐานการเปิดเผยและการเข้าถึงข้อมูลของรัฐที่สำคัญ เช่น การจัดซื้อจัดจ้างสาธารณะ ข้อมูลรายได้และทรัพย์สินพัฒนาตัวชี้วัดความโปร่งใส ความเสี่ยงในการคอร์รัปชัน และคุณภาพการบริหารจัดการของภาครัฐ
สร้างชุดเว็บพอร์ทัลและแอปพลิเคชันมือถือแบบ interactive เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลและมีอิสระในการร้องขอข้อมูล รวมถึงร่วมรายงานการแจ้งเบาะแสได้ทางออนไลน์
ผู้ใช้งานสามารถเลือกเครื่องมือในการตรวจสอบและแจ้งเบาะแส (Watch Dog Tools) ได้ทั้งหมด 4 เครื่องมือ ได้แก่
- digiwhist.eu: เว็บไซต์ศูนย์รวมข้อมูลของนักวิจัยและภาคีเกี่ยวกับเครื่องมือสร้างความโปร่งใสที่โครงการกำลังพัฒนา
- opentender.eu เว็บไซต์และแอปพลิเคชันในการเปิดเผยข้อมูลการประกวดราคาที่รวบรวบข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างระดับชาติจากทั้ง 35 เขตอำนาจศาลของประเทศภาคี โดยมี 3 ฟังก์ชันหลักให้บริการ ได้แก่ ดาวน์โหลดเอกสารและฐานข้อมูลต่าง ๆ / เครื่องมือที่อำนวยความสะดวกในการวิเคราะห์ข้อมูลแบบ interactive analytic และช่องทางให้ผู้ใช้งานมีส่วนร่วมช่วยเหลือในการแจ้งข้อมูลเพิ่มเติม
- EuroPAM.eus เว็บไซต์สังเกตการณ์เกี่ยวกับกฎหมายความโปร่งใสในสหภาพยุโรป เป็นแหล่งรวบรวมฐานข้อมูลที่มีความครอบคลุมในเรื่องของการจัดซื้อจัดจ้างสาธารณะ ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ข้อมูลรายได้และทรัพย์สิน และการเข้าถึงข้อมูลและข้อมูลเปิด
- RISK Assessment Software ซอฟต์แวร์วิเคราะห์ความเสี่ยงของการทุจริตคอร์รัปชันในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างสำหรับหน่วยงานภาครัฐที่ใช้งานง่าย
DIGIWHIST – The Digital Whistleblower
ประเทศ : สหภาพยุโรป
ประเภทเครื่องมือ : Report corruption
ผู้จัดทำเครื่องมือ : Government Transparency Institute
- HAND SOCIAL ENTERPRISE
หัวข้อ
เปิดข้อมูลเพื่อความสร้างสรรค์ไปกับ data.gov.sg
เคยนึกสงสัยกันไหมว่าถ้าประเทศไทยมีการเปิดเผยข้อมูลจากภาครัฐ ข้อมูลเหล่านั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ และต่อต้านการคอร์รัปชันได้อย่างไรบ้าง?
เชื่อมต่อทุกไอเดียจากความต้องการของประชาชนไปกับเเพลตฟอร์ม JOIN
ไต้หวันเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างในเอเชียที่มีการเปิดเผยการทำงานของรัฐบาลอย่างเป็นรูปธรรม ตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์ม JOIN หรือ https://join.gov.tw มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการสื่อสารและความเข้าใจกันระหว่างภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคส่วนอื่น ๆ ในสังคม
USA spending.gov แหล่งข้อมูลเปิดสาธารณะ ติดตามการใช้จ่ายงบประมาณรัฐได้ง่าย ๆ
จะดีแค่ไหนถ้าเรามีรัฐที่เปิดเผย เอาเงินไปใช้ทำอะไรก็ติดตามได้ง่ายไปหมด ไม่ต้องเสี่ยงทุจริตให้เป็นข้ออ้างมาทำรัฐประหารบ่อย ๆ