Hello Sarkar พัฒนาบริการสาธารณะเเละลดคอร์รัปชัน ด้วยช้องทางร้องเรียนที่ปลอดภัย

จะให้ร้องเรียนการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐทำไม เสี่ยงอันตรายเปล่า ๆ หลายครั้งที่เวลาเจอปัญหาแล้วอยากร้องเรียน แต่ก็คงแอบหวั่น ๆ ในใจอยู่แหละว่าเราจะปลอดภัยไหม อยากให้แก้ปัญหานะ แต่ก็…..ไม่เอาดีกว่า แล้วแบบนี้ใครจะอยากร้องเรียนกันล่ะ

Hello Sarkar เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดให้ประชาชนรายงานปัญหาที่เกิดจากการใช้บริการสาธารณะ และการบริการของเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อนำมาปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการของหน่วยงานรัฐ และพัฒนาการบริการสาธารณะให้มีประสิทธิภาพ

มีเป้าหมายเพื่อรับฟัง รับรู้ถึงความเดือดร้อนและปัญหาที่ประชาชนพบเจอ เช่น ปัญหาเรื่องถนน มลภาวะทางอากาศ การขาดแคลนอุปกรณ์การเรียน การขาดแคลนน้ำดื่ม การใช้บริการสาธารณะ รวมถึงการเรียกเก็บภาษีจำนวนมากกว่าปกติ รวมถึงการทุจริตคอร์รัปชันในการทำธุรกรรมกับเจ้าหน้าที่รัฐ เป็นต้น

จุดเด่นของแพลตฟอร์มนี้อยู่ที่ระบบการติดตามเรื่องด้วยการให้หมายเลขติดตามผลกับผู้รายงาน และมีการกำหนดให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องส่งข้อความกลับไปยังผู้รายงานผ่านช่องทางที่ระบุไว้ โดยแบ่งขั้นตอนของการติดตามผล 6 ขั้น คือ Response Seen Processing Solved Sold out และ Closed ซึ่งผลการรายงานทุกขั้นตอนจะถูกอัปโหลดขึ้นเว็บไซต์โดยอัตโนมัติ

นอกจากนี้มีการนำข้อมูลจากรายงาน ประมวลผลเป็นสถิติเผยแพร่บนเว็บไซต์ได้ เช่น หน่วยงานที่มีการร้องเรียนมากที่สุด ประเภทของเรื่องร้องเรียนที่ได้รับรายงานมากที่สุด นอกจากนี้ยังเผยแพร่รายงานแบบไม่เปิดเผยตัวตน (Anonymous) บนเว็บไซต์เพื่อให้ประชาชนเข้าไปติดตามเรื่องร้องเรียนได้ ปัจจุบันมีรายงานร้องเรียนในระบบ 8,000 กว่าเรื่อง และได้รับการดำเนินงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกว่า 69% ของรายงานทั้งหมด

ผู้ใช้งานสามารถส่งคำร้องผ่าน 5 ช่องทาง ได้แก่ ทาง website Facebook: HelloSarka Twitter: @hello_sarkar SMS และ hotline (โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย) กรณีที่ร้องเรียนผ่านทางเว็บไซต์ กำหนดให้ผู้ใช้งานเลือกหัวข้อที่ต้องการร้องเรียน เช่น การเรียกรับสินบน เมื่อเลือกหัวข้อแล้วระบบจะส่งฟอร์มให้ระบุประเภทการเรียกรับสินบนที่เราที่ต้องการร้องเรียน เช่น มีการเรียกสินบน มีการขอให้จ่ายเพิ่มจากระเบียบ มีการปลอมแปลงใบรับรอง เป็นต้น

หลังจากนั้นให้กรอกชื่อของเจ้าหน้าที่ หน่วยงาน ตำแหน่งของสถานที่ กลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง และรูปภาพหลักฐาน จากนั้น กดปุ่ม “Submit” เพื่อรับหมายเลขในการติดตามเรื่อง โดยสามารถเลือกประเภทของการรายงานว่ามีความร้ายแรงมากแค่ไหนเพื่อคัดกรองความสำคัญเร่งด่วนของรายงานได้ รวมถึงผู้ใช้งานสามารถเลือกการส่งรายงานเผยแพร่ในรูปแบบไม่เปิดเผยตัวตนได้ (Anonymous) หรือจะเก็บรายงานเป็นความลับไม่มีการเผยแพร่สู่สาธารณะได้ โดยที่ผู้ใชงานจะได้รหัสผ่านสำหรับติดตามผลการดำเนินงานเป็นการส่วนตัว


🚩 Hello Sarkar
ประเทศ : เนปาล
ประเภทเครื่องมือ : Public Service delivery
ผู้จัดทำเครื่องมือ : รัฐบาลประเทศเนปาล

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2564
ผู้แต่ง
  • HAND SOCIAL ENTERPRISE
หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

ปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน ลดปัญหาการทุจริตจากภาครัฐ ด้วยการเฝ้าระวังจากประชาชนผ่านทางออนไลน์

เห็นเจ้าหน้าที่รัฐแอบคอร์รัปชัน ทำไงดี!!! เมื่อการแก้ปัญหาคอร์รัปชัน อาจจะไม่ใช่แค่การไปจับคนโกงเท่านั้น แค่เราช่วยจับตาดู รู้เบาะแส แล้วก็บอกข้อมูลแค่นี้ ก็อาจจะช่วยแก้ปัญหาการคอร์รัปชันได้

VEZA จับตาการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตรวจสอบร้องเรียนได้อย่างปลอดภัย

ถ้าตำรวจเรียกรับสินบน คนธรรมดาที่ไหนจะกล้าร้องเรียน เมื่อผู้รักษากฎหมาย (บางคน) ใช้อำนาจในทางที่ผิด เรียกรับผลประโยชน์เข้าตนเอง ประชาชนก็ต้องร้องเรียนได้อย่างปลอดภัย

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | การใช้ e-bidding เพื่อแก้ปัญหาคอร์รัปชันในโครงการจัดซื้อจัดจ้าง มีประสิทธิภาพมากแค่ไหน ?

ชวนสำรวจ e-bidding : เทคโนโลยีการจัดซื้อจ้างออนไลน์ลดคอร์รัปชัน โดยจะพาไปดูผลการใช้งานระบบจริงจากทั้ง 3 กรมว่าเป็นอย่างไร ? แล้วเราจะทำอย่างไรให้ระบบ e-bidding มีประสิทธิภาพมากขึ้น

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | โควิดเป็นเหตุ: สำรวจสถานการณ์ทุจริตที่เพิ่มขึ้นในช่วงโรคระบาด

การระบาดของโควิด-19 นำมาซึ่งวิกฤตการณ์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อทุกภาคส่วนทั่วโลก โดยพบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่าการให้และเรียกรับสินบนในภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นในช่วงโควิด-19 แล้วเราจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร ? อ่านเพิ่มเติมได้ในบทความนี้เลย

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | “รังนก” ก็โกงได้ : ตรวจสอบช่องโหว่กลไกการให้สัมปทานรังนกไทย

ส่องกลไกสัมปทาน เมื่อการทุจริตรังนกอาจทำให้งบรั่วไหล หากไม่มีกลไกการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ แล้วเราจะป้องกันปัญหานี้ได้อย่างไร ? โดย KRAC สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “กระบวนการและการตรวจสอบการให้สัมปทานรังนกในภาคใต้ของประเทศไทย” (2562)