KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย I มันจบแล้วครับ…(ถ้า) นาย (โกง) : รู้จักกฎหมายคุ้มครองผู้แจ้งเบาะทุจริต

ทุจริต ผิดหรือไม่ ถ้า “นายสั่ง” ?   

 

การแจ้งเบาะแส หรือ “Whistleblowing” เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่สามารถลดการคอร์รัปชันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะคงไม่มีใครให้มีข้อมูลเชิงลึกได้เท่า คนใน องค์กรเอง แต่อุปสรรคสำคัญที่ทำให้คนในองค์กรไม่กล้าให้แจ้งเบาะแสทุจริต คือ ความกลัวโดยเฉพาะถ้าคนกระทำผิดเป็นเจ้านาย หรือผู้บังคับบัญชา ก็อาจทำให้เจ้าหน้าระดับปฏิบัติการเสี่ยงต่อการถูกกลั่นแกล้งหรือเสี่ยงต่อหน้าที่การงาน เพราะโครงสร้างของระบบราชการไทยส่วนใหญ่จะบริหารแบบบนลงล่าง (Top Down) 

แต่รู้หรือไม่ !!! จริง ๆ แล้วในประเทศไทยมีกฎหมายช่วยเหลือผู้แจ้งเบาะแส” ข้อมูลนี้มาจากงานวิจัย เรื่อง “ราชการไทยไร้คอร์รัปชัน: การสำรวจความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่รัฐต่อการแจ้งเบาะแสการทุจริต” โดย วิษณุพงษ์ โพธิพิรุฬห์ และอังศุธร ศรีสุทธิสอาด (2563) เป็นการสำรวจความเห็นของเจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวกับการแจ้งเบาะแสทุจริต รวมทั้งศึกษากลไกการแจ้งเบาะแสทุจริตในหน่วยงานรัฐและพบว่า แม้จะเป็นเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการก็สามารถโต้แย้งผู้บังคับบัญชาได้ 

กฎหมายนี้ คือ พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 2561 มาตรา 133, 134 และ 135 ที่เปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่รัฐสามารถแจ้งเบาะแสโดยทำหนังสือร้องเรียนเพื่อขอความเป็นธรรมหรือขอให้ผู้บังคับบัญชาทบทวนคำสั่ง ส่งไปที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ภายใน 30 วัน และแม้ว่าข้าราชการที่แจ้งจะเคยทุจริต (เพราะถูกผู้บังคับบัญชาสั่งทำ) ก็จะถือว่าไม่มีความผิดและไม่ต้องรับโทษ

แม้จะดูเป็นกฎหมายสำคัญสำหรับการแจ้งเบาะแสทุจริตแต่จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐจำนวน 4,899 คน พบว่า ความรู้เกี่ยวกับสิทธิในการทำหนังสือร้องเรียนของเจ้าหน้ารัฐอยู่ระดับปานกลางเท่านั้น นอกจากนี้ งานวิจัยนี้ ยังได้สำรวจความเห็นของหน่วยงานรัฐที่มีต่อกฎหมายนี้ ซึ่งพบว่าเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับกฎหมายนี้ แต่ยังมีข้อกังวลเกี่ยวกับการคุ้มครองพยาน เช่น ในกรณีที่ต้องย้ายผู้แจ้งเบาะแสเพื่อป้องกันการถูกกลั่นแกล้งในบางหน่วยงานก็ไม่สามารถย้ายได้ หรือการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสจะมีระยะเวลานานแค่ไหน นานพอหรือไม่ และบางครั้งก็ไม่เห็นด้วยในส่วนของการยกเว้นโทษให้กับผู้แจ้งเบาะแส เพราะถือเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดด้วย 

แม้การละเว้นโทษให้กับผู้แจ้งเบาะแสจะยังเป็นที่ถกเถียง แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่ากฎหมายนี้เป็นหนึ่งในช่องทางที่จะทำให้เจ้าหน้าที่รัฐกล้าออกมาแจ้งเบาะแสทุจริตมากขึ้น และในอนาคตการสนับสนุนให้มีแนวทางอื่น ๆ เช่น มีการให้รางวัล หรือการคุ้มครองที่ครอบคลุม ก็อาจเพิ่มแรงจูงใจ และทำให้การแจ้งเบาะแสทุจริตลดคอร์รัปชันในประเทศไทยลงได้จริง 

งานวิจัยชิ้นนี้ ยังมีการพูดถึงการแจ้งเบาะแสในแง่มุมอื่น เช่น วัฒนธรรมองค์กรและปัญหาการทุจริตในหน่วยงาน หรือกลไกและมาตรการด้านการแจ้งเบาะแสทุจริต สามารถอ่านเพิ่มได้จากรายงานวิจัย เรื่อง “ราชการไทยไร้คอร์รัปชัน: การสำรวจความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่รัฐต่อการแจ้งเบาะแสการทุจริต” (2563) โดย วิษณุพงษ์ โพธิพิรุฬห์ และอังศุธร ศรีสุทธิสอาด

#กฎหมาย #Whistleblower #Whistleblowing #แจ้งเบาะแส #ตำรวจ #ทุจริต #โกง #KRAC #KRACCorruption 

——————

คอลัมน์ “KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย” เป็นบทความเล่างานวิจัยไทยด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน ที่หยิบยกหนึ่งในประเด็นของงานวิจัยในมุมมองของผู้ปฏิบัติการ เพื่อปูพื้นฐานความรู้และความเข้าใจเรื่องการคอร์รัปชัน และการต่อต้านคอร์รัปชันในมิติต่าง ๆ ภายใต้บริบทของประเทศไทย

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย I มันจบแล้วครับ…(ถ้า) นาย (โกง) : รู้จักกฎหมายคุ้มครองผู้แจ้งเบาะทุจริต

การแจ้งเบาะแส เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่สามารถลดการคอร์รัปชันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะคงไม่มีใครให้มีข้อมูลเชิงลึกได้เท่า “คนใน” องค์กรเอง แต่อุปสรรคสำคัญที่ทำให้คนในองค์กรไม่กล้าให้แจ้งเบาะแสทุจริต คือ “ความกลัว”

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | รู้จัก 3 แนวทาง Support ผู้แจ้งเบาะแสทุจริต

ยิ่งมีคนแจ้งเบาะแสมากเท่าไร ก็จะยิ่งมีการตรวจสอบและช่วยนำคนผิดมาลงโทษมากเท่านั้น แต่อุปสรรคสำคัญที่ทำให้หลายคนที่มีข้อมูลไม่อยากแจ้งเบาะแส เพราะกลัวว่าถ้าแจ้งไปแล้วก็อาจจะโดนกลั่นแกล้ง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | รางวัลแด่คนช่าง “แจ้ง”

กุญแจสำคัญที่จะช่วยจัดการคอร์รัปชันได้ คือ “การมีส่วนร่วมในการแจ้งเบาะแส” เพราะถ้าทั้งเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนมีส่วนร่วมในการช่วยตรวจสอบคอร์รัปชันภายในหน่วยงานรัฐ ช่วยกันแจ้งเบาะแส จะทำให้เจ้าหน้าที่รัฐรู้สึกกดดัน กลัวจะถูกจับได้และไม่กล้าคอร์รัปชัน ภาครัฐจึงมีความพยายามอย่างมากให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมกับการแก้ปัญหาคอร์รัปชัน

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ท้องถิ่นอาจช้ำ เมื่อความเหลื่อมล้ำถูกซ้ำด้วยการจัดสรรงบประมาณที่ไม่มีประสิทธิภาพ

รู้หรือไม่ ? การจัดสรรเงินอุดหนุนจากรัฐบาลกลางที่ไม่เป็นธรรม ไม่โปร่งใส และขาดเป้าหมายชัดเจน อาจกลายเป็นการเพิ่มปัญหาความเหลื่อมล้ำในท้องถิ่น แทนที่จะช่วยลดช่องว่างทางเศรษฐกิจ แล้วเราจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร ?

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | โควิด-19 ส่งผลอย่างไรต่อสถานการณ์คอร์รัปชันและธรรมาภิบาล ?

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ไม่ได้ส่งผลกระทบแค่สุขภาพและเศรษฐกิจ แต่ยังทำให้การต่อต้านคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลเผชิญความท้าทายใหม่ ๆ เช่น การใช้อำนาจพิเศษของรัฐ ความไม่เท่าเทียมที่เพิ่มขึ้น และการจัดซื้อจัดจ้างแบบฉุกเฉินที่เสี่ยงต่อการทุจริต แล้วเราจะฟื้นฟูผลกระทบเหล่านี้ได้อย่างไร ?

KRAC The Experience | EP 8: Networks is in every way, Offline and Online Against Corruption

“การทำงานเป็นเครือข่ายจะช่วยเสริมสร้างการทำงานต่อต้านคอร์รัปชันอย่างไร ?” เรามีคำตอบมาให้จากแนวทางการขับเคลื่อนการต่อต้านคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นในระดับโลก🌏 ร่วมไขข้อสงสัยได้ที่ KRAC The Experience ตอน Networks is in every way, Offline and Online Against Corruption