KRAC Insight | เเค่เปิดเผยข้อมูลอาจไม่พอ (?) เพราะต้องมีการวางให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน !

พัฒนามาตรฐานของชุดข้อมูลอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ? วันนี้เรามีคำตอบมาให้จากงาน “The Southeast Asian Anti-Corruption Network (SEA-ACN) Roundtable Discussion”

งานนี้จัดขึ้นโดยศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (KRAC) สนับสนุนโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับสำนักงานความร่วมมือด้านยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC – United Nations Office on Drugs and Crime) องค์กร Chandler Institute of Good Governance และสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย

การประชุมระดมสมองครั้งนี้ เป็นพื้นที่สำหรับเครือข่าย SEA-ACN ในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ มุมมอง ประสบการณ์ และวางแผนการดำเนินงานต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันเพื่อทำงานร่วมกันในการสร้างความโปร่งใสและความรับผิดชอบในภูมิภาค ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการต่อต้านการทุจริตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การประชุมระดมสมอง (Roundtable Discussion) ในหัวข้อ “การเปิดเผยข้อมูล (Open Data)” จะพูดถึงการส่งเสริมความโปร่งใสและความรับผิดชอบผ่านข้อมูลสาธารณะที่ครอบคลุมและเข้าถึงได้ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมจากหน่วยงานต่าง ๆ ถึง 8 หน่วยงาน ได้แก่
กลุ่มผู้เข้าร่วมได้นำเสนอการจัดทำ “แนวทางปฏิบัติในการวางมาตรฐานการเปิดข้อมูลของบุคคลที่สถานภาพทางการเมือง (Politically Expose Person: PEPs)” ซึ่งหมายถึง ฐานข้อมูลของบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้ดำรงตำแหน่งสำคัญ หรือเคยดำรงตำแหน่งดังกล่าว ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงผู้มีบทบาทสำคัญในพรรคการเมือง เนื่องจากบุคคลในกลุ่มดังกล่าวมักมีความเสี่ยงต่อการฟอกเงิน ที่อาจเกิดขึ้นจากการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่ ซึ่งเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
 
จากการพูดคุยในวงสนทนาพบว่า การจัดเก็บชุดข้อมูล PEPs ยังไม่เป็นมาตรฐานเดียวกันในแต่ละหน่วยงาน เพราะแต่ละหน่วยงานต่างเก็บข้อมูลอย่างเป็นเอกเทศ และไม่ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามปัจจุบันสมาชิกในนเครือข่าย SEA-ACN มีความพยายามในการดำเนินงานเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลของแต่ละประเทศและระหว่างประเทศภายในภูมิภาคให้เข้าถึงและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ง่ายมากยิ่งขึ้น แต่พบปัญหาว่า การจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ มีรายละเอียดที่แตกต่างกันจึงต้องเร่งปรับปรุงกระบวนการด้านการเปิดเผยข้อมูล เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีมาตรฐานและสามารถใช้งานได้จริง
กลุ่มผู้เข้าร่วมจึงต้องการพัฒนาคู่มือเพื่อเชื่อมชุดข้อมูลให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน มีการกำหนดนิยามของ “ข้อมูลบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง” อย่างชัดเจนเพื่อให้ง่ายและสะดวกต่อการแลกเปลี่ยนฐานข้อมูลระหว่างกันของสมาชิกในเครือข่าย อีกทั้งยังสามารถนำจุดเด่นของแต่ละฝ่ายมาผสมผสานกันได้ ซึ่งจะเป็นการช่วยสร้างมาตรฐาน และส่งเสริมศักยภาพ เช่น บางองค์กรมีชุดข้อมูลอยู่ในมือ แต่มีข้อจำกัดด้านการนำเสนอข้อมูล ซึ่งหากมีชุดข้อมูลที่มีมาตรฐานเดียวกันจะทำให้สามารถนำข้อมูลไปทำงานร่วมกับองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการนำเสนอข้อมูลได้
 
นอกจากนี้การมี “คู่มือมาตรฐานชุดข้อมูล” จะช่วยให้การดำเนินงานร่วมกันของภาคส่วนต่าง ๆ สะดวกมากยิ่งขึ้น เช่น ภาคสื่อสารมวลชนสามารถเข้าถึงชุดข้อมูลที่มีรูปแบบที่ง่ายต่อการนำไปใช้ทำข่าวและขยายผลต่อ และนำเสนอต่อสาธารณะได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากไม่จำเป็นต้องอาศัยการแปลงข้อมูล รวมถึงการแบ่งปันฐานข้อมูลระหว่างกันเพื่อจัดการปัญหาการฟอกเงินร่วมกันกับคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงินเกี่ยวกับการฟอกเงิน (Financial Action Task Force: FATF) เป็นต้น
 
นี่เป็นเพียง 1 ใน 4 หัวข้อจากการประชุมระดมสมองในครั้งนี้ ที่ศูนย์ KRAC จะนำประเด็นต่อไปจากวงสนทนามาให้คุณร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในสัปดาห์ถัดไป ! ติดตาม Facebook KRAC Corruption ไว้ได้เลย !
สรุปการประชุม Roundtable Discussion ของเครือข่าย "SEA-ACN"
How can we develop effective data standards? We’ve got the answers from “The Southeast Asian Anti-Corruption Network (SEA-ACN) Roundtable Discussion”
 
This event was organized by Knowledge Hub for Regional Anti-corruption and Good Governance Collaboration” (KRAC), Faculty of Economics, Chulalongkorn University supported by the National Research Council of Thailand (NRCT) in collaboration with the United Nations Office on Drugs and Crime (UNODC), The Chandler Institute of Good Governance, and the U.S. Embassy in Thailand.
 
The roundtable discussion on “Open Data” addressed the promotion of transparency and accountability through comprehensive and accessible public data, featuring participants from eight different organizations:
1. Chandler Institute of Governance
3. Sinar Project
4. WeVis (WEVIS DEMO CO., LTD)
5. People’s Empowerment Foundation
7.Sweden Embassy
8.Indonesia Corruption Watch
 
The participants presented the “Guidelines for Standardizing Open Data on Politically Exposed Persons (PEPs),” referring to a database of individuals assigned or previously assigned to important positions domestically and internationally, including key political party figures. These individuals are at risk of money laundering due to misconduct or corruption, which are predicate offenses under anti-money laundering laws.
 
The discussion revealed that the collection of PEPs data lacks standardization among different agencies, as each agency collects data independently and does not continuously exchange information. However, SEA-ACN members are currently striving to facilitate access and exchange of data within and between countries in the region. Despite this, differences in data collection details remain a challenge, necessitating improvements in data disclosure processes to ensure standardized and usable information.
 
Therefore, the participants aim to develop a handbook to standardize data sets, clearly define “Politically Exposed Persons”, and make data exchange between network members easier and more convenient. This approach will also leverage the strengths of each organization, such as organizations with extensive data sets but limited presentation capabilities. Standardized data will enable collaboration with organizations specialized in data presentation, enhancing overall potential.
 
Moreover, having a “Data Standards Handbook” will streamline cooperation among various sectors. For example, the media will be able to access easily usable data sets for news reporting, accelerating public dissemination without needing data conversion. Additionally, sharing databases will facilitate collaborative efforts to combat money laundering with the Financial Action Task Force (FATF).
 
This is just 1 of 4 topics from this roundtable discussion. Stay tuned for more insights from KRAC in the next coming weeks! Follow us on Facebook KRAC Corruption !
ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
12 กรกฎาคม 2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ตัดจบปัญหาคอร์รัปชัน ผ่านการสร้าง Big Data

Big Data มีความสำคัญอย่างมากในการต่อต้านคอร์รัปชัน เพราะสามารถนำข้อมูลการใช้จ่ายของรัฐที่ถูกจัดเก็บไว้มาวิเคราะห์หาความเสี่ยงในการคอร์รัปชันได้ หากใช้งานข้อมูลให้เป็น จะช่วยอุดช่องโหว่ความเสี่ยงคอร์รัปชันได้

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | 3 มุมมองจากผู้รู้ สู่การแก้โกงจากการใช้ดุลยพินิจของรัฐ

เมื่อดุลยพินิจมากเกินไป แก้อย่างไรถึงจะเห็นผล ? ในการกำหนดนโยบายและการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของรัฐต่างก็ต้องมีคนที่เข้ามาทำหน้าที่บริหารจัดการ โดยสามารถใช้ดุลยพินิจของตนเพื่อตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ได้ แต่หลายครั้งการวินิจฉัยกลับไม่เป็นไปอย่างเที่ยงธรรม หรือเป็นการวินิจฉัยที่เบี่ยงเบนไปตามความพึงพอใจ อคติ หรือเพื่อผลประโยชน์บางอย่าง จนเกิดเป็นการ “ทุจริต”

KRAC The Experience | EP 4 “Tales of Transparency : Lesson learns from Georgia”

เปิดเผยข้อมูลแบบโปร่งใสอย่างสุดโต่ง คืออะไร ? วันนี้เรามีเรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับข้อมูลเปิด (Open Data) มาเล่าให้คุณฟังกับ KRAC The Experience ตอน “Tales of Transparency : Lesson learns from Georgia”

You might also like...

KRAC Hot News I ไฟฟ้าไทยแพง เพราะภาคพลังงานยังโปร่งใสไม่พอ

เพราะไฟฟ้าได้กลายเป็นปัจจัยที่ 5 ไปแล้ว แต่ที่น่ากังวล คือไฟฟ้ายังคงเป็นปัจจัยเดียวที่ราคาไม่ได้เป็นไปตามกลไกตลาด ที่สำคัญยังเหมือนจะแพงขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย…ทำไมค่าไฟฟ้าของไทยยังแพง และมีบทเรียนจากต่างประเทศอะไรบ้าง

บทความวิจัย : ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประจำจังหวัด ในการรวบรวมพยานหลักฐานในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ในองค์การบริหารส่วนตำบล

ความล่าช้าในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด มีปัญหาหลักมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย และการดำเนินการ

บทความวิจัย : รูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนววิถีพุทธในงานต่อต้านการทุจริต และการสร้างเครือข่ายต่อต้านการทุจริตอย่างยั่งยืน

การพัฒนากิจกรรมสำหรับต่อต้านการทุจริตควรมีการประยุกต์หลักพุทธธรรมและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ