การศึกษากลุ่มอิทธิพลซึ่งนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบ (Organized Corruption) จำแนกตามภาคเศรษฐกิจ: กรณีศึกษาการทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีศุลกากรในประเทศไทย

ศึกษารูปแบบของกลุ่มอิทธิพล ซึ่งนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบ และศึกษาลักษณะความสัมพันธ์ และความร่วมมือของกลุ่มอิทธิพล ผ่านกรณีศึกษาการทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีศุลกากรในประเทศไทย

งานวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะการทำงาน การเเลกเปลี่ยนข้อมูล และการเเลกเปลี่ยนผลประโยชน์ของกลุ่มอิทธิพล ซึ่งนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบ ผ่านกรณีศึกษาการทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีศุลกากรในประเทศไทย เพื่อนำเสนอมาตรการที่เหมาะสมต่อการพัฒนากลไกการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันในลักษณะดังกล่าว โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้เเก่ การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การสัมมนากลุ่มย่อย 

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • ผลจากการศึกษา พบว่าความหมายของ “กลุ่มอิทธิพล” ตามบริบทของการศึกษา ได้แก่ (1) นักการเมืองที่มีตำแหน่งทางการเมืองหรือมีอำนาจแทรกแซงทางบริหาร และทางนิติบัญญัติ (2) ข้าราชการหน่วยจัดเก็บภาษีอากร และ (3) ผู้ประกอบการหรือบุคคล ซึ่งกระทำตนเป็นผู้ประกอบการ แต่ไม่ได้ประกอบการจริง เพื่อแสวงหาประโยชน์ทางภาษี โดยทั่วไป “กลุ่มอิทธิพล” จะเริ่มจากความสัมพันธ์ในระบบอุปถัมภ์ แล้วพัฒนาเป็นความสัมพันธ์ในลักษณะองค์กรที่มีเครือข่ายการการทำงานร่วมกัน มีการเเเลกเปลี่ยนข้อมูลและผลประโยชน์ ซึ่งอาจเรียกว่า “องค์กรอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ” โดยใช้ช่องว่างของกฎหมาย หรือใช้อิทธิพลแฝงแทรกแซงการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐเอื้อประโยชน์ให้แก่กลุ่มอิทธิพลดังกล่าว เพื่อผลประโยชน์ทางภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีศุลกากร
  • ผลจากการศึกษา พบว่า รูปแบบของกลุ่มอิทธิพลซึ่งนำไปสู่การทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีศุลกากร จำแนกตามลักษณะการกระทำความผิดเป็น 3 ลักษณะ ได้เเก่  (1) เจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้ดำเนินการเองท้ังขบวนการ (2) ผู้ประกอบการเป็นผู้ดำเนินการอย่างเป็นระบบด้วยตนเอง และ (3) เจ้าหน้าที่ของรัฐ (รวมถึงผู้มีตำแหน่งทางการเมืองที่มีอำนาจแทรกแซงทางการบริหาร และนิติบัญญัติ) กับผู้ประกอบการ ร่วมมือทำกันอย่างเป็นระบบ
  • ผลจากการศึกษา พบว่าลักษณะการทำงาน การเเลกเปลี่ยนข้อมูล และผลประโยชน์ระหว่างกลุ่มอิทธิพล มีลักษณะสำคัญ เช่น  นักการเมืองอาจจะกำหนดนโยบายและออกกฎหมายเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการ มีการจัดอบรมเพื่อชี้แนะให้ผู้ประกอบการสามารถหลบเลี่ยงภาษี และบางกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐยังเป็นที่ปรึกษาให้อีกด้วย รวมไปถึงการใช้ตำแหน่งหน้าที่เพื่อเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มผู้ทุจริตภาษีอากร โดยไม่ฎีกาคดีภาษีอากรต่อศาลฎีกา กรณีที่หน่วยงานจัดเก็บภาษีอากรแพ้คดี เป็นต้น 
  • ผลจากการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโอกาส หรือช่องทางการทุจริตภาษีอากรโดยกลุ่มอิทธิพล เช่น โครงสร้างอำนาจการแทรกแซง และช่องว่างของกฎหมายที่เปิดโอกาสให้มีการใช้ดุลพินิจโดยไม่มีการตรวจสอบ ระบบการตรวจสอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่เอื้อต่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และความล่าช้าของการดำเนินคดี  ซึ่งมีผลต่ออายุความและการรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อเชื่อมโยงถึงผู้กระทำผิด

สรุปข้อเสนอเเนะจากงานวิจัย

ตัวอย่างข้อเสนอแนะต่อการพัฒนากลไกการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันที่ได้จากการศึกษา เช่น

  • กำหนดนโยบายให้กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ และสำนักงาน ป.ป.ช. รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการฐานข้อมูลระหว่างกัน โดยนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาช่วยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความเหมาะสมของผลประกอบการ และการเสียภาษี ตลอดจนเส้นทางการเงินของบุคคล/นิติบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อความรวดเร็วและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษี และการสืบสวนสอบสวนคดีทุจริตภาษีอากร
  • เพิ่มกลไกการตรวจสอบทั้งภายในและภายนอกของหน่วยงานจัดเก็บภาษีอากรให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ กรมสรรพากร และกรมศุลกากร ควรให้ความสำคัญต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบ และดำเนินคดีทุจริตภาษีอากร ซึ่งเป็นคดีอาญา โดยต้องรายงานความน่าสงสัย และส่งเรื่องให้ สำนักงาน ป.ป.ช. กรมสอบสวนคดีพิเศษ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องโดยเร็ว
  1.  
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

วัชรา ไชยสาร, วรวุฒิ รักษาวงศ์, ทศพนธ์ นรทัศน์, อดิเรก คิดธรรมรักษา, นัทพล เพชรากูล และณฐพร ถนอมทรัพย์. (2561). การศึกษากลุ่มอิทธิพลซึ่งนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบ (Organized Corruption) จำแนกตามภาคเศรษฐกิจ: กรณีศึกษาการทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีศุลกากรในประเทศไทย. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2561
ผู้แต่ง
  • วัชรา ไชยสาร
  • วรวุฒิ รักษาวงศ์
  • ทศพนธ์ นรทัศน์
  • อดิเรก คิดธรรมรักษา
  • นัทพล เพชรากูล
  • ณฐพร ถนอมทรัพย์
หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาความเหมาะสมและความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาขององค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ค.ศ.1997 ว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศในการทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศ

ศึกษาความพร้อมของไทยในการเข้าเป็นภาคีตามอนุสัญญาองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ค.ศ.1997 ว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่รัฐต่างประเทศในการทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศ

แนวโน้มการฟอกเงินในประเทศไทย: ศึกษาเฉพาะกรณีการฟอกเงินผ่านนิติบุคคล และธุรกิจบังหน้า ทนายความและนักบัญชี บริษัทนำเที่ยว ทรัสต์ต่างประเทศที่ดำเนินการในประเทศไทย การเล่นแชร์ที่มีการฉ้อโกงและการฟอกเงินผ่านองค์กรไม่แสวงหากำไร 

เมื่อการฟอกเงินเป็นปัญหาร้ายแรงที่ยังคงแพร่หลายในสังคมไทย การแก้ไขปัญหาจึงต้องลองศึกษาแนวทางที่ประสบความสำเร็จจากต่างประเทศ เพื่อนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทประเทศไทยในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

แนวทางป้องกันและแก้ปัญหาการทุจริต : ศึกษากรณีรถบรรทุกน้ำหนักเกินพิกัดที่กฎหมายกำหนด

วิเคราะห์โอกาสและความเสี่ยงต่อการทุจริตของกระบวนการควบคุมน้ำหนักของหน่วยงานรัฐ เเละเสนอมาตรการควบคุมน้ำหนักรถบรรทุกที่มีประสิทธิภาพ พร้อมแนวปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | “รังนก” ก็โกงได้ : ตรวจสอบช่องโหว่กลไกการให้สัมปทานรังนกไทย

ส่องกลไกสัมปทาน เมื่อการทุจริตรังนกอาจทำให้งบรั่วไหล หากไม่มีกลไกการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ แล้วเราจะป้องกันปัญหานี้ได้อย่างไร ? โดย KRAC สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “กระบวนการและการตรวจสอบการให้สัมปทานรังนกในภาคใต้ของประเทศไทย” (2562)

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | คอร์รัปชันในอุตสาหกรรมประมงไทย : ปัญหาที่กระทบเศรษฐกิจ สิทธิมนุษยชน และภาพลักษณ์ประเทศ

จะแก้อย่างไรถ้าอุตสาหกรรมประมงไทยคอร์รัปชัน ? ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมประมงระดับโลกของไทยอีกด้วย โดย KRAC สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์การทุจริตคอร์รัปชันขบวนการเครือข่ายนายหน้าแรงงานข้ามชาติเมียนมาในอุตสาหกรรมประมงต่อเนื่องของประเทศไทย” (2562)

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | เบื้องหลังการทุจริตภาษีศุลกากร: เมื่อบริษัทปลอมกลายเป็นเครื่องมือเลี่ยงภาษี

บริษัทปลอม vs ศุลกากร : หนีภาษีเขาทำกันอย่างไร ? วิธีป้องกันบริษัทปลอม แหล่งหนีภาษาศุลกากรหลักหมื่นล้าน !! กระบวนการเหล่านี้จะเป็นอย่างไร ? แต่ละตัวละครทำหน้าที่อะไร สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “การศึกษากลุ่มอิทธิพลซึ่งนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบ: กรณีศึกษาการทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีศุลกากรในประเทศไทย” (2561)