MAMPRAWOWIEDZIEC.PL เปิดข้อมูลประวัติการทำงานนักการเมือง

จะเลือกตั้งแต่ละที นักการเมืองคนนี้เก่งจริงหรือเปล่า เราจะรู้ได้ยังไง ? น่าจะดีถ้าเราสามารถย้อนดูได้ว่านักการเมืองแต่ละคนมีผลงานเป็นอย่างไร เพราะแค่นโยบายบนป้ายหาเสียงคงไม่พอ

MamPrawoWiedziec.pl เป็นแหล่งข้อมูลเปิดที่รวบรวมข้อมูลของนักการเมืองชาวโปแลนด์ เอาไว้อย่างครบครัน เพื่อให้ประชาชนสามารถสืบค้นข้อมูลได้ง่าย และสะดวกต่อการนำไปประกอบการตัดสินใจเลือกผู้แทนเข้ามาบริหารงานของประเทศและท้องถิ่นของตนเอง โดยจุดเด่นอยู่ที่การนำเสนอข้อมูลผลการปฎิบัติงานของหน่วยงานสาธารณะหรือบุคคล เช่น การนำเสนอข้อมูลความคิดเห็นในการปฏิบัติงานเพื่อรับมือกับสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 หรือความเห็นในการปฏิบัติงานด้านนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาสถานการณ์สภาพภูมิอากาศในปัจจุบันผ่านการตอบคำถามของผู้สมัครเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2020 เป็นต้น ทำให้ประชาชนมีข้อมูลการทำงาน ผลการทำงาน และวิสัยทัศน์ของนักการเมืองในการทำงานที่ผ่านมาด้วย

ผู้ใช้งานสามารถเข้าไปสืบค้นข้อมูลของนักการเมืองที่ปฏิบัติหน้าที่ในระดับท้องถิ่นและในระดับประเทศได้ง่าย ๆ ด้วยการคลิกเข้าสืบค้นตามหมวดหมู่ที่จัดเอาไว้ ดังนี้

  1.  รัฐสภา (Diet)
  2. วุฒิสภา (Senate)
  3. รัฐสภายุโรป (European parliament)
  4. ประธานาธิบดีแห่งโปแลนด์ (President of the Republic of Poland)
  5. นายกเทศมนตรีเมืองต่าง ๆ (Mayors of Cities)
  6. สภารัฐมนตรี (The Council of Ministers)
  7. มุมมองของนักการเมือง (Politician’s view)
  8. กลุ่มการเมือง (Political groups)

นอกจากนี้ผู้ใช้งานยังสามารถศึกษาความรู้และข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการเลือกผู้แทนทางการเมืองเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ได้เพิ่มเติมจาก “Reding Room” ที่รวบรวมเอาหัวข้อบทความเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมือง กฎหมายทั้งในประเทศโปแลนด์และในสหภาพยุโรปที่น่าสนใจเอาไว้ให้ได้เลือกอ่าน

🚩 MamPrawoWiedziec.pl
ประเทศ : โปแลนด์
ประเภทเครื่องมือ : Open Parliament
ผู้จัดทำเครื่องมือ : Fundusz Obywatelski ได้รับการสนับสนุนโดย Google, Wolters Kluwer and Open society Foundations

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2564
ผู้แต่ง
  • HAND SOCIAL ENTERPRISE
หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

แพลตฟอร์ม ACT Ai Politics Data ค้นหาและตรวจสอบข้อมูลความโปร่งใสของนักการเมือง และเจ้าหน้าที่รัฐ

เพราะการเปิดข้อมูลของภาครัฐยังมีช่องโหว่ จึงต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยด้วยปลายนิ้วของทุกคน

งบโปร่งใส ส.ส. ตรวจสอบได้ Statsregnskapet

ข้ามมาอีกทวีปหนึ่งกันบ้าง กับไอเดียใช้ข้อมูลจับตาโปร่งใสของภาครัฐ กับประเทศสแกนดิเนเวียที่ขึ้นชื่อว่าโปร่งใส ไร้คอร์รัปชันเป็นอันดับต้นๆ ของโลก เราจะขอยกตัวอย่างเทคโนโลยี Open data ที่ชาวนอร์เวย์ใช้กันในปัจจุบันเพื่อตรวจสอบความโปร่งใสของรัฐบาล อย่างเว็บไซต์ Statsregnskapet

MAMPRAWOWIEDZIEC.PL เปิดข้อมูลประวัติการทำงานนักการเมือง

จะเลือกตั้งแต่ละที นักการเมืองคนนี้เก่งจริงหรือเปล่า เราจะรู้ได้ยังไง ? น่าจะดีถ้าเราสามารถย้อนดูได้ว่านักการเมืองแต่ละคนมีผลงานเป็นอย่างไร เพราะแค่นโยบายบนป้ายหาเสียงคงไม่พอ

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | เบื้องหลังการทุจริตภาษีศุลกากร: เมื่อบริษัทปลอมกลายเป็นเครื่องมือเลี่ยงภาษี

บริษัทปลอม vs ศุลกากร : หนีภาษีเขาทำกันอย่างไร ? วิธีป้องกันบริษัทปลอม แหล่งหนีภาษาศุลกากรหลักหมื่นล้าน !! กระบวนการเหล่านี้จะเป็นอย่างไร ? แต่ละตัวละครทำหน้าที่อะไร สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “การศึกษากลุ่มอิทธิพลซึ่งนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบ: กรณีศึกษาการทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีศุลกากรในประเทศไทย” (2561)

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : เมื่อชีวิตมีแค่ทางเลือกที่แย่กับแย่น้อยกว่า: ปัญหามลพิษในประเทศไทยหนักแค่ไหน ?

รู้หรือไม่ว่าในชีวิตประจำวันของคนไทย การตัดสินใจง่ายๆ อย่างการเปิดหรือปิดหน้าต่างกลับสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของคุณภาพชีวิตและปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ผู้เขียนจึงอยากเชิญชวนให้ผู้อ่านทุกท่านทำความเข้าใจปัญหามลพิษในอากาศจากก๊าซเรดอนในอาคาร ปัญหาฝุ่นควัน PM2.5 และความสำคัญของการบริหารจัดการของภาครัฐ ผ่านพฤติกรรมง่ายๆ อย่างการเปิดหรือปิดหน้าต่าง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | แก้เกมฟอกเงิน แก้โกงงบประมาณ

ปัญหาฟอกเงินไทย อะไรคือจุดอ่อน ? ชวนสำรวจแนวทางการป้องกันฟอกเงินด้วยการแก้กฎหมายบางมาตรา และสร้างความร่วมมือเพื่อให้เกิดความโปร่งใส จากงานวิจัยเรื่อง การต่อต้านการคอร์รัปชัน: มาตรการการควบคุมการเคลื่อนไหวของเงิน (2558)