OpenSpending สร้างความโปร่งใสด้วย Visualized data

อยากติดตามการใช้จ่ายภาครัฐบ้าง แต่ก็เข้าใจยากเหลือเกิน เมื่อการมีส่วนร่วมกับภาครัฐนั้นเข้าถึงลำบาก เข้ามาได้แล้วก็ไม่เข้าใจอีกอยู่ดี จะดีแค่ไหนถ้ารัฐเข้าใจหัวอกประชาชนและออกแบบให้ติดตามง่าย และเปิดข้อมูลให้เกิดการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายอย่างแท้จริง

OpenSpending เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์แสดงข้อมูลรูปภาพ (visualized data) เกี่ยวกับการใช้จ่ายสาธารณะของสหราชอาณาจักรและประเทศต่าง ๆ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน หรือนักข่าวในการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนความโปร่งใสและการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ

โดยมีจุดเด่นอยู่ที่การจัดทำมาตรฐานข้อมูลการเงินสำหรับการเผยแพร่สาธารณะ หรือ Open Fiscal Data Package (OFDP) ที่สะดวกในการนำไปใช้งาน ทั้งฝั่งผู้เผยแพร่ข้อมูล (หน่วยงานรัฐ) และผู้รับข้อมูล (ประชาชน) หรือผู้นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อ เช่น นักวิจัย นักวิชาการ เป็นต้น

นอกจากนี้ แพลตฟอร์มยังมีฐานข้อมูลการเงินของประเทศอื่น ๆ มากถึง 3,551 ชุดข้อมูล จาก 86 ประเทศที่ผู้ใช้งานสามารถเลือกค้นหาและดาวน์โหลดข้อมูลการเงินไปใช้ประโยชน์ต่อได้โดยสะดวก

📌 ผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้ฟีเจอร์ในแพลตฟอร์มได้ ดังนี้

  1. ค้นหาจาก Search Bar: ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลทางการเงินของประเทศต่าง ๆ ด้วยการพิมพ์ key words เช่น ชื่อประเทศ เป็นต้น โดยเว็บไซต์มีฐานข้อมูลการเงินมากถึง 3,551 ชุดข้อมูล จาก 86 ประเทศ
  2. Packager : สำหรับผู้ใช้งานที่ต้องการทำข้อมูลทางการเงินพื่อนำไปเผยแพร่สามารถใช้งานฟีเจอร์ interactive packager ที่จะช่วยให้การนำเสนอข้อมูลมีรูปแบบที่เข้าใจง่ายด้วยตัวเลือกการผสานข้อมูลและการแสดงผลข้อมูลขั้นสูง
  3. Docs, Chat with us, Start hacking: community ฟีเจอร์สำหรับให้ความช่วยเหลือและให้คำแนะนำในการออกแบบการจัดทำข้อมูลเปิดทางการเงิน

ถ้าอยากรู้ข้อมูลการใช้จ่ายภาษีของไทย แนะนำที่ #ภาษีไปไหน https://govspending.data.go.th/

หรือติดตามการจัดซื้อจัดจ้างของไทยแบบรายโครงการแบบละเอียด ได้ที่ https://actai.co

🚩 OpenSpending
ประเทศ : สหราชอาณาจักร
ประเภทเครื่องมือ : Monitoring Budget
ผู้จัดทำเครื่องมือ : Open Knowledge Foundation

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2564
ผู้แต่ง
  • HAND SOCIAL ENTERPRISE
หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

เชื่อมต่อทุกไอเดียจากความต้องการของประชาชนไปกับเเพลตฟอร์ม JOIN

ไต้หวันเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างในเอเชียที่มีการเปิดเผยการทำงานของรัฐบาลอย่างเป็นรูปธรรม ตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์ม JOIN หรือ https://join.gov.tw มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการสื่อสารและความเข้าใจกันระหว่างภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคส่วนอื่น ๆ ในสังคม

ผ่างบเมือง ให้งบประมาณเมือง…เป็นเรื่องตรวจสอบได้

งบ อบจ. สำคัญกับชีวิตเราอย่างไร? และประชาชนอย่างเรา สามารถมีส่วนร่วมในการติดตาม ตรวจสอบ การใช้จ่ายงบประมาณของแต่ละจังหวัดได้ไหม?

จับโกงงบโควิด ด้วย ACT Ai เปิดข้อมูลการใช้จ่ายเพื่อกู้วิกฤตโควิด-19

เมื่อโควิดหลากหลายสายพันธุ์กำลังบุกเข้าไทย รัฐบาลไทยต้องใช้เงินกู้สู้โควิด-19 หลายแสนล้านบาท พวกเราได้อะไรจากงบก้อนนี้บ้าง ต้องคอยจับตาดูให้ดี

You might also like...

บทความวิจัย : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี

เมื่อการกระจายอำนาจกลับกลายเป็นการกระจายการทุจริตสู่ท้องถิ่น เพื่อยับยั้งปัญหาคอร์รัปชันในท้องถิ่น จึงต้องส่งเสริมการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล (กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี)

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I UNODC จับมือไนจีเรียจัดทำรายงานการทุจริตในไนจีเรีย ชี้ “การติดสินบนได้รับการยอมรับน้อยลง”

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า “การทุจริตในไนจีเรีย: รูปแบบและทิศทาง (Corruption in Nigeria: Patterns and Trends)” เป็นการสำรวจเกี่ยวกับการรับรู้การทุจริตของประชาชนในประเทศไนจีเรียจากประสบการณ์ของประชาชน นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์แนวโน้มการทุจริต ประสิทธิภาพของกลยุทธ์ และแนวทางการต่อต้านการทุจริตอีกด้วย

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : โกง (เรื่อง) กิน ฉ่ำๆ หม่ำๆ แบดกาย แบดกายหม่ำๆ

เมื่อวันแม่ที่ผ่านมาหลายๆ ท่านคงพาคุณแม่ไปทานข้าว หรืออาจกลับบ้านไปทานข้าวกับคุณแม่และครอบครัว เพราะสำหรับคนไทยแล้ว “อาหารเป็นเรื่องสำคัญ” ดังนั้นในวันสำคัญการนัดรวมตัวกันกินข้าวจึงเป็นเรื่องจำเป็น