Publish What You Pay (PWYP) เปิดเผยข้อมูลกระบวนการทำสัญญาและการประกวดราคาสู่สาธารณะ

เพิ่มความโปร่งใสในอุตสาหกรรมพลังงานและเชื้อเพลิงได้ด้วยเครื่องมือนี้ ! 700 องค์กรทั่วโลกให้การยอมรับและเข้าร่วม

การคอร์รัปชันสามารถอยู่ได้ทุกอุตสาหกรรมไม่เว้นกระทั่งอุตสาหกรรมด้านพลังงานที่มีมูลค่าตลาดสูงไม่น้อย และเป็นรายได้ที่สำคัญของรัฐบาลอังกฤษที่นำไปพัฒนาบริการสาธารณะให้ประชาชนได้ หากเกิดความไม่โปร่งใสในการบริหารจัดการก็จะส่งผลกระทบกลับมาที่ประชาชน เมื่อเกิดปัญหาแบบนี้ขึ้นจึงได้เกิดเป็นเป็นองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศ Publish What You Pay (PWYP) ซึ่งจะช่วยเปิดเผยข้อมูลกระบวนการทำสัญญาและการประกวดราคา (Contract Transparency) ผู้ถือครองสิทธิขุดเจาะน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติในประเทศต่าง ๆ สู่สาธารณะ

การเปิดเผยข้อมูลสัญญาจะช่วยให้ประชาชนมีส่วนร่วมตรวจสอบต้นทุนและผลประโยชน์ของโครงการ ด้วยการเข้าถึงข้อมูลสำคัญของโครงการ ทำให้การตัดสินใจมีคุณภาพมากขึ้น และส่งเสริมสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโครงการที่จะส่งผลกระทบต่อชีวิตของประชาชนในวงกว้าง ที่สำคัญยังช่วยลดการทุจริตในกระบวนการเจรจาสัญญา และการชำระภาษีจากโครงการเหล่านี้ด้วย เนื่องจากมูลค่าของภาษีที่ได้จากโครงการเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของรัฐบาลที่สามารถนำไปใช้พัฒนาและให้บริการทางสังคมขั้นพื้นฐานได้ โดยกำหนดให้มีการรายงานการชำระภาษีให้กับสถาบันตรวจสอบเพื่อให้เกิดความโปร่งใส

นอกจากนี้ในแพลตฟอร์มเผยแพร่ข้อมูลสัญญา และกรณีศึกษาในการตรวจสอบโครงการ รวมถึงมีเครื่องมือในการติดตามโครงการ และแคมเปญในการขับเคลื่อนความโปร่งใสของกระบวนการ Contract Transparency โดยปัจจุบัน มีจำนวนสมาชิกเข้าร่วมเปิดเผยข้อมูลสัญญามากกว่า 700 องค์กรทั่วโลก และในปี 2021 Publish What You Pay ได้ปล่อยแคมเปญ #DiscloseTheDeal เพื่อชักชวนให้ประเทศต่าง ๆ หันมาสนใจการเปิดเผยข้อมูลการทำสัญญาในอุตสาหกรรมน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และทรัพยากรธรรมชาติให้มากขึ้น

เริ่มต้นจากการรณรงค์ให้ 55 ประเทศเครือข่ายองค์กรเพื่อความโปร่งใสในอุตสาหกรรมสกัดทรัพยากรธรรมชาติ (Extractive Industries Transparency Initiative: EITI) ต้องเริ่มทำการเปิดเผยข้อมูลสัญญาตั้งแต่เดือนมกราคม 2021 เป็นต้นไป และเปิดให้ประเทศต่าง ๆ ที่สนใจกระบวนการทำสัญญาและการประกวดราคาที่โปร่งใส (Contract Transparency) ลงทะเบียนเป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดให้กลุ่มบริษัทอุตสาหกรรมน้ำมัน พลังงาน และทรัพยากรธรรมชาติเปิดเผยข้อมูลการทำสัญญาระหว่างรัฐบาลในการเข้าใช้ทรัพยากรในประเทศนั้น ๆ เพื่อให้ประชาชนสามารถติดตามการดำเนินการตามสัญญาของโครงการได้โดยสะดวก

🚩 Publish What You Pay
🇬🇧 สหราชอาณาจักร
ประเภทเครื่องมือ : Monitoring Budget
ผู้จัดทำเครื่องมือ : กลุ่มองค์กรระหว่างประเทศ 6 องค์กร ได้แก่ Global Witness, CAFOD, Open Society Institute, Oxfam GB, Save the Children UK และ Transparency International UK

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2564
ผู้แต่ง
  • HAND SOCIAL ENTERPRISE
หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

เปิดข้อมูลเพื่อความสร้างสรรค์ไปกับ data.gov.sg

เคยนึกสงสัยกันไหมว่าถ้าประเทศไทยมีการเปิดเผยข้อมูลจากภาครัฐ ข้อมูลเหล่านั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ และต่อต้านการคอร์รัปชันได้อย่างไรบ้าง?

เชื่อมต่อทุกไอเดียจากความต้องการของประชาชนไปกับเเพลตฟอร์ม JOIN

ไต้หวันเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างในเอเชียที่มีการเปิดเผยการทำงานของรัฐบาลอย่างเป็นรูปธรรม ตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์ม JOIN หรือ https://join.gov.tw มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการสื่อสารและความเข้าใจกันระหว่างภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคส่วนอื่น ๆ ในสังคม

จับโกงงบโควิด ด้วย ACT Ai เปิดข้อมูลการใช้จ่ายเพื่อกู้วิกฤตโควิด-19

เมื่อโควิดหลากหลายสายพันธุ์กำลังบุกเข้าไทย รัฐบาลไทยต้องใช้เงินกู้สู้โควิด-19 หลายแสนล้านบาท พวกเราได้อะไรจากงบก้อนนี้บ้าง ต้องคอยจับตาดูให้ดี

You might also like...

KRAC Hot News I อุบัติเหตุการก่อสร้างตามแนวถนนพระราม 2: ภาพสะท้อนปัญหาธรรมาภิบาลโครงการก่อสร้างภาครัฐไทย

อุบัติเหตุซ้ำซากบนถนนพระราม 2 ถึงเวลาปฏิรูป! ระบบจัดซื้อจัดจ้างต้องโปร่งใส ประชาชนต้องเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย และต้องมีมาตรการป้องกันและลงโทษที่จริงจังกันเสียที

KRAC Hot News I ผู้หญิงไม่เพียงแต่ถูกเรียกสินบน… แต่ยังถูกขอเรื่องเซ็กส์ด้วย

งานวิจัยจาก Transparency International เผยว่า “เพศ” ส่งผลต่อรูปแบบการเผชิญกับคอร์รัปชัน! เพราะผู้หญิงอาจถูกบังคับให้จ่ายสินบนทางเพศ หรือถูกละเมิดโดยเจ้าหน้าที่ที่ใช้อำนาจในทางมิชอบ

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ปิดช่องโหว่ดุลพินิจ ปิดช่องทางทุจริตในไทย

“ดุลพินิจ” อำนาจรัฐ หรือช่องว่างที่ทำให้เกิดการทุจริต ? KRAC ชวนถอดบทเรียนการแก้ปัญหาโกงจากการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐจากกงานวิจัยเรื่อง การแสวงหาผลประโยชน์ จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ (2560)