Red Flags ประชาชนร่วมตรวจจับทุจริตได้ง่าย ๆ ด้วยเกณฑ์ประเมินความเสี่ยงที่มีมาตรฐาน

ถ้าปัญหาคอร์รัปชัน เป็นเรื่องของทุกคน แล้วคนธรรมดาจะเข้าไปแก้ยังไงล่ะ…..วันนี้มีคำตอบ

Red Flags มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างสาธารณะ โดยมุ่งเน้นการป้องกันและตรวจจับการทุจริตในระบบการจัดซื้อจัดจ้างผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลจากตัวชี้วัดความเสี่ยงจำนวน 32 หัวข้อ ซึ่งพัฒนาขึ้นจากเกณฑ์การประเมินตามาตรฐานของสหภาพยุโรป (EU Standard) และกรอบกฎหมายการจัดซื้อจัดจ้างภายในประเทศ

โดยแต่ละโครงการจะถูกนำมาวิเคราะห์ความเสี่ยงจากตัวชี้วัดต่าง ๆ เช่น ผู้มีอำนาจในการทำสัญญาเคยมีคดีความหรือมีชื่อเสียงที่ไม่ดี มีผู้ยื่นข้อเสนอน้อยกว่า 3 คน ระยะเวลาของสัญญายาวเกินไป ไม่มีการระบุเกณฑ์ขั้นต่ำทางการเงินหรือเทางเทคนิคและทางวิชาชีพ เป็นต้น

พร้อมการแจ้งเตือนกรณีที่น่าสงสัยเพื่อให้ประชาชนสามารถติดตามและตรวจสอบได้ผ่านการแจ้งเตือนด้วยสัญลักษณ์ “ธงสีแดง” หรือ “ธงสีชมพู”

โดยโครงการที่พบข้อสงสัยจะปรากฏจำนวนธงตั้งแต่ 1 ธงขึ้นไป ขึ้นอยู่กับจำนวนประเด็นข้อสงสัยที่ระบบตรวจพบ จุดเด่นของเครื่องมือนี้อยู่ที่การตรวจสอบเอกสารการจัดซื้อจัดจ้างผ่านอัลกอริทึมที่ออกแบบไว้เพื่อส่งมอบข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างที่ผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยง ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน นักข่าว หรือเจ้าหน้าที่รัฐในการตรวจจับความเสี่ยงในขั้นตอนของกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างได้ง่ายขึ้น ปัจจุบันมีโครงการที่ได้รับการแจ้งเตือนในระบบ จำนวน 54,002 โครงการ

RedFlags ประกอบด้วย 4 ฟีเจอร์หลักด้วยกัน โดยแต่ละฟีเจอร์มีการนำเสนอข้อมูลและรูปแบบการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

  1. Filter: ฟีเจอร์ที่ให้ผู้ใช้งานสืบค้นข้อมูลโครงการจัดซื้อจัดจ้างสาธารณะต่าง ๆ ที่มีอยู่ในฐานข้อมูลด้วยการเลือก filter ที่แพลตฟอร์มกำหนดไว้เพื่อช่วยให้คุณสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับโครงการจัดซื้อจัดจ้างที่สนใจและตรวจสอบว่ามีความเสี่ยงต่อการทุจริตหรือไม่
  2. Subscribe: ผู้ใช้งานสามารถเลือกสมัครเป็นผู้ติดตาม RedFlags เพื่อใช้งาน saved filter ในการสืบค้นข้อมูล โดยทีมงานจะส่งอีเมลตอบกลับพร้อมแนบเอกสารข้อมูลที่ตรงกันกับ saved filter ที่แจ้งไว้
  3. Update: ฐานข้อมูลโครงการจัดซื้อจัดจ้างของ RedFlags มีการอัปเดตข้อมูลเป็นปัจจุบันทุกวัน
  4. Red Flags API: เปิดให้ผู้ใช้งานที่ต้องการข้อมูลการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงของ Redflags ไปใช้ต่อได้ลงทะเบียนชื่อและอีเมลเพื่อรับ API Key ในการเข้าถึงข้อมูลรูปแบบ JSON Format

🚩 The Red Flags in Public Procurement project
ประเทศ : ฮังการี
ประเภทเครื่องมือ : Detect Corruption
ผู้จัดทำเครื่องมือ : องค์กรภาคประชาสังคมเฝ้าระวังและต่อต้านคอร์รัปชัน K-Monitor ร่วมกับ PetaByte และ Transparency International Hungary

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2564
ผู้แต่ง
  • HAND SOCIAL ENTERPRISE
หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

จับโกงงบโควิด ด้วย ACT Ai เปิดข้อมูลการใช้จ่ายเพื่อกู้วิกฤตโควิด-19

เมื่อโควิดหลากหลายสายพันธุ์กำลังบุกเข้าไทย รัฐบาลไทยต้องใช้เงินกู้สู้โควิด-19 หลายแสนล้านบาท พวกเราได้อะไรจากงบก้อนนี้บ้าง ต้องคอยจับตาดูให้ดี

Todos Los Contratos ต้นแบบเครื่องมือต้านโกงสำหรับประชาชน ที่เปิดเผยข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

ถ้าประชาชนไม่สามารถติดตามตรวจสอบการทำงานของภาครัฐ ไม่เคยรู้ว่าภาษีของเราถูกนำไปใช้ทำอะไรบ้าง ก็ไม่สามารถสร้างความโปร่งในการบริหารงบประมาณ และนำไปสู่ปัญหาการคอร์รัปชันได้

Red Flags ประชาชนร่วมตรวจจับทุจริตได้ง่าย ๆ ด้วยเกณฑ์ประเมินความเสี่ยงที่มีมาตรฐาน

แบบนี้ทุจริตไหมนะ หรือใคร ๆ เขาก็ทำกันมานานแล้ว ไม่น่าผิดหรอก หลายครั้งที่เราไม่มั่นใจว่าอะไรคือการคอร์รัปชัน เพราะเห็นมาจนชินตา หรือบางครั้งก็ตัดสินจากดุลยพินิจของแต่ละคน ถ้ามีเกณฑ์ให้วัดเรื่องคอร์รัปชันชัด ๆ ไปเลยก็คงดี

You might also like...

บทความวิจัย : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี

เมื่อการกระจายอำนาจกลับกลายเป็นการกระจายการทุจริตสู่ท้องถิ่น เพื่อยับยั้งปัญหาคอร์รัปชันในท้องถิ่น จึงต้องส่งเสริมการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล (กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี)

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I UNODC จับมือไนจีเรียจัดทำรายงานการทุจริตในไนจีเรีย ชี้ “การติดสินบนได้รับการยอมรับน้อยลง”

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า “การทุจริตในไนจีเรีย: รูปแบบและทิศทาง (Corruption in Nigeria: Patterns and Trends)” เป็นการสำรวจเกี่ยวกับการรับรู้การทุจริตของประชาชนในประเทศไนจีเรียจากประสบการณ์ของประชาชน นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์แนวโน้มการทุจริต ประสิทธิภาพของกลยุทธ์ และแนวทางการต่อต้านการทุจริตอีกด้วย

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : โกง (เรื่อง) กิน ฉ่ำๆ หม่ำๆ แบดกาย แบดกายหม่ำๆ

เมื่อวันแม่ที่ผ่านมาหลายๆ ท่านคงพาคุณแม่ไปทานข้าว หรืออาจกลับบ้านไปทานข้าวกับคุณแม่และครอบครัว เพราะสำหรับคนไทยแล้ว “อาหารเป็นเรื่องสำคัญ” ดังนั้นในวันสำคัญการนัดรวมตัวกันกินข้าวจึงเป็นเรื่องจำเป็น