ปัจจัยที่กำหนดการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล

เมื่อการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นสัมพันธ์กับการเมืองระดับชาติ เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและพรรคการเมืองอยู่ในรูปแบบความสัมพันธ์แบบเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ปัญหาการทุจริตจึงฝังรากลึกอยู่ในการเลือกตั้งทุกระดับ 

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถือเป็นฐานเสียงของพรรคการเมืองและเกื้อกูลกับการเมืองระดับชาติในลักษณะที่พึ่งพาซึ่งกันและกัน กล่าวคือ นักการเมืองท้องถิ่นเป็นหัวคะแนนให้กับพรรคการเมืองและพรรคการเมืองก็ให้การสนับสนุนและตอบแทนอย่างเต็มที่ในทุกรูปแบบ ผู้สมัครที่คาดหวังจะได้รับเลือกตั้งจึงจเป็นต้องต่อสู้และพยายามทุกวิถีทางที่จะได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง ปัญหาการทุจริตเลือกตั้งโดยเฉพาะการซื้อสิทธิ์ขายเสียงจึงมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นในทุกสมัยที่มีการเลือกตั้ง อีกทั้ง ยังกลายเป็นวัฒนธรรมหรือค่านิยมทางการเมืองในการเลือกตั้งทุกระดับ 

จากสาเหตุดังกล่าว จึงนำมาสู่วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้ คือ

  1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของกลุ่มอิทธิพลทางการเมือง ผลประโยชน์ร่วม การอุปถัมภ์ พวกพ้อง และการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล 
  2. เพื่อศึกษาอิทธิพลของกลุ่มอิทธิพลทางการเมือง ผลประโยชน์ร่วม การอุปถัมภ์ และพวกพ้องที่มีผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล 

ผลการศึกษา พบว่า สภาพปัจจุบันของกลุ่มอิทธิพลทางการเมือง ผลประโยชน์ร่วม การอุปถัมภ์ พวกพ้องและการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ประชาชนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญเรื่องของการยอมรับนับถือ การเป็นหัวคะแนน การให้บริการ การทำงานร่วมกัน และการยึดที่ตัวบุคคล เป็นสำคัญ    

สรุปประเด็นสำคัญของงานวิจัย

  • จากการศึกษาพบว่า การอุปถัมภ์มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลมากที่สุด ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะระบบอุปถัมภ์เป็นลักษณะของโครงสร้างความสัมพันธ์แบบแนวดิ่งที่ยึดถือการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้อุปถัมภ์กับผู้รับการอุปถัมภ์ โดยผู้อุปถัมภ์จะให้ความหวังแก่ผู้รับการอุปถัมภ์ว่าจะให้ผลประโยชน์ตอบแทนในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งผู้รับการอุปถัมภ์ก็มักจะตอบแทนความต้องการผู้อุปถัมภ์ด้วยการให้ความช่วยเหลือคืนในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งก็เป็นการตอบแทนอีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถทำได้ 
  • จากการวิจัยยังพบว่า วัย ค่านิยม และฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ส่งผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกองค์การบริหารส่วนตบลด้วย 

สรุปข้อเสนอแนะจากงานวิจัย

  • ข้อเสนอแนะระดับท้องถิ่น: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ( ป.ป.ช. ) ควรต้องพัฒนาและปรับปรุงให้ ป.ป.ช. จังหวัดมีการทำงานที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถติดตามและตรวจสอบการทุจริตในระดับท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง เนื่องจากในปัจจุบันยังมีช่องว่างระหว่างประชาชนกับ ป.ป.ช. ค่อนข้างมาก ประชาชนมีความรู้สึกว่า ป.ป.ช. ห่างไกลและเข้าถึงยาก และควรให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับการเลือกตั้งทั้งรูปแบบ ขั้นตอนกฎหมาย สร้างกิจกรรมเชิงรุก มีการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการทุจริตเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นและกฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตเลือกตั้ง รวมถึงควรสร้างเครือข่าย ป.ป.ช. เพื่อติดตาม สอดส่องและตรวจสอบการทุจริตในท้องถิ่น 
  • ข้อเสนอแนะระดับนโยบาย:  สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จำเป็นต้องทำงานในลักษณะป้องกันก่อนเกิดการทุจริตมากกว่าเป็นการตั้งรับในภายหลัง เช่น ควรมีเครื่องมือสื่อสารที่สามารถนำข้อมูลของพื้นที่ส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างรวดเร็ว เช่น สายด่วน ป.ป.ช. หรือ ป.ป.ช. อาสา เป็นต้น 
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

ประภัสสร ปรีเอี่ยม, สุวรรณี จริยะพร, ไมตรี จันทร์ดาประดิษฐ์ และสมเกียรติ คูหาเกษมสิน. (2556). ปัจจัยที่กหนดการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. 

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2556
ผู้แต่ง
  • ประภัสสร ปรีเอี่ยม 
  • สุวรรณี จริยะพร  
  • ไมตรี จันทร์ดาประดิษฐ์ 
  • สมเกียรติ คูหาเกษมสิน 
หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

โครงการเฝ้าระวังและป้องกันการทุจริตจากนโยบายและโครงการของรัฐ

งานวิจัยนี้ จะพาไปทำความเข้าใจรูปแบบ คุณลักษณะ และวิธีการดำเนินนโยบาย มาตรการ หรือโครงการของรัฐเพื่อหาวิธีการเฝ้าระวังและป้องกันการทุจริตที่เกิดขึ้น

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก

เพื่อประมาณการต้นทุน รายรับ การขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคมของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก และประมาณการผลตอบแทนส่วนเกินที่ตกแก่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์การแสวงหาค่าเช่า และศึกษาการทุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง

You might also like...

ยุุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามการทุจริตในโครงการพัฒนาของรัฐระดับชุมชน

จากการวิเคราะห์ TOWS Matrix 4 ของโครงการต่าง ๆ ของรัฐ สามารถพัฒนาเป็นโมเดลยุทธศาสตร์ เพื่อช่วยลดปัญหาคอร์รัปชันในโครงการพัฒนาของรัฐระดับชุมชนได้

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : เมื่อ ‘งบก่อสร้าง’ ไม่ได้สร้างแค่ถนน แต่สร้างรายได้พิเศษให้บางคนด้วย

จากที่ผมได้รับเกียรติให้เข้าร่วมเป็นกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 ในนามนักวิชาการอิสระที่ไม่สังกัดพรรคการเมืองใด ผมถือว่าหน้าที่นี้คือโอกาสสำคัญที่จะได้ตรวจสอบการใช้งบประมาณแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ และทรัพยากรของประเทศมีอยู่อย่างจำกัด

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | การต่อต้านการทุจริต อาจต้องเริ่มที่ความเข้าใจของประชาชน

ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสิทธิการรับรู้ข่าวสารของสำนักงาน ป.ป.ช. จำนวน 1,041 คน ในปี 2562 ชี้คนไทยครึ่งประเทศไม่รู้ว่า ตัวเองมีสิทธิเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของสำนักงาน ป.ป.ช.