ศึกษาธรรมาภิบาลที่เน้นด้านกระบวนการ (Process) ของรัฐวิสาหกิจไทย จำนวน 7 แห่ง เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะในการยกระดับธรรมาภิบาลองค์กรต่อไป
งานวิจัยเรื่องนี้ มุ่งศึกษาความสำคัญของธรรมาภิบาลที่มีต่อองค์กรรัฐวิสาหกิจไทย โดยให้ความสำคัญกับมิติด้านธรรมาภิบาลที่เน้นด้านกระบวนการ (Process) หรือวิธีการทำงานมากกว่าด้านผลลัพธ์ หรือผลการดำเนินงาน โดยเลือกกรณีศึกษารัฐวิสาหกิจ จำนวน 7 แห่ง ได้เเก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อการยกระดับธรรมาภิบาลองค์กรรัฐวิสาหกิจไทยต่อไป
สรุปประเด็นจากงานวิจัย
ผลการศึกษากลไกภายนอกที่สำคัญของรัฐวิสาหกิจ ทั้ง 7 แห่ง พบว่าการมีกฎกติกาที่ทำให้คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจมีข้อจำกัดในการทำงานที่ไม่เอื้อให้เกิดแรงจูงใจให้คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากการที่รัฐวิสาหกิจได้สิทธิประโยชน์หลายอย่างในเอกชน ทำให้การแข่งขันมีความไม่เท่าเทียมกัน ในขณะเดียวกัน มีการแทรกแซงการดำเนินงานของฝ่ายการเมืองที่เข้ามาแสวงหาประโยชน์โดยประชาชนไม่สามารถควบคุม หรือตรวจสอบได้
ผลการศึกษากลไกภายในที่สำคัญของรัฐวิสาหกิจ ทั้ง 7 แห่ง พบปัญหาร่วมกันในเรื่องการเปิดเผยข้อมูลกระบวนการได้มาของคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ และคุณสมบัติ ซึ่งมีลักษณะของการตอบแทนทางการเมืองสูงมาก โดยในการศึกษา พบว่ากรรมการส่วนใหญ่ ขาดความรู้ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ขององค์กร ทำให้ภาพรวมของคณะกรรมการเป็นภาระต้นทุน มากกว่าเป็นประโยชน์ หรือเป็นสินทรัพย์ต่อองค์กร
ผลการศึกษาการปฏิบัติแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของรัฐวิสาหกิจ ทั้ง 7 แห่ง พบว่าได้รับความไม่เป็นธรรมจากนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งตอบสนองนโยบายของฝ่ายการเมืองและสังคม นอกจากนี้ การกำหนดค่าตอบแทนและคุณสมบัติของคณะกรรมการ ก็มีปัญหาทับซ้อนของผลประโยชน์ค่อนข้างมาก ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมการส่วนใหญ่ จึงขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ (Accountability) จากการทำงาน หรือการตัดสินใจที่ผิดพลาด
ผู้วิจัย นำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาเพื่อให้ได้มาซึ่งการมีธรรมาภิบาลขององค์กรรัฐวิสาหกิจ ว่าจำเป็นต้องขจัดอิทธิพลของฝ่ายการเมืองที่เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ ด้วยการแก้ไข กฎ กติกาที่ล้าหลัง และไม่จำเป็น รวมถึงต้องแยกฝ่ายกำกับดูแล และฝ่ายปฏิบัติการในกิจการรัฐวิสาหกิจออกจากกันให้ชัดเจน เพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถประเมินผล เเละตรวจสอบกันได้ รวมถึงต้องขจัดนโยบายที่ทำให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมระหว่างเอกชนกับรัฐ สร้างความโปร่งใส และมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการได้มาซึ่งคุณสมบัติของคณะกรรมการที่เหมาะกับองค์กร เพื่อขจัดปัญหาของการมีผลประโยชน์ทับซ้อนทุกรูปแบบ
ไพโรจน์ วงศ์วิภานนท์ และคณะ. (2552). โครงการธรรมาภิบาลในองค์กรของรัฐ: กรณีศึกษารัฐวิสาหกิจไทย. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).
- ไพโรจน์ วงศ์วิภานนท์
โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย
ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต
โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาต โดยใช้อำนาจรัฐ
ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ
โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก
เพื่อประมาณการต้นทุน รายรับ การขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคมของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก และประมาณการผลตอบแทนส่วนเกินที่ตกแก่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์การแสวงหาค่าเช่า และศึกษาการทุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง
โครงการศึกษาพรมแดนและช่องว่างความรู้เรื่องคอร์รัปชันและธรรมาภิบาล เพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2566-2570
ศึกษาพัฒนาการของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลในประเทศไทย เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะต่อแนวทางการสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยในประเด็นคอร์รัปชัน และธรรมาภิบาลในอนาคต