บทความวิจัย | ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อมาตรการป้องกันปัญหาคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานภาครัฐในกรุงเทพมหานคร

ส่งเสริมแนวทางการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ด้วยหลักธรรมาภิบาลและจิตพอเพียงต้านทุจริต

 

ปัญหาคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐเป็นปัญหาที่มีมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว  รัฐบาลจึงได้มีการวางแนวทางตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-market) และการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ของการต่อต้านคอร์รัปชันด้วยแนวทางประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ยังคงมีปัญหาอยู่ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องศึกษาถึงปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการป้องกันปัญหาคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อส่งเสริมการป้องกันปัญหาคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

บทความนี้ เป็นการวิจัยผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 400 ราย คือ ผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้างที่มีประสบการณ์ประมูลงานจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ในกรุงเทพมหานคร และมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญอีก 15 ราย ได้แก่ บุคลากรของหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการจัดซื้อจัดจ้าง สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยหน่วยงานเอกชน และผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้างที่เป็นคู่ค้ากับภาครัฐ ศึกษาโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือและวิเคราะห์ข้อมูลโดยสมการโครงสร้าง อีกทั้งใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

จากการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการป้องกันปัญหาคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ตัวแปรปัจจัยที่ส่งผลต่อการป้องกันปัญหาคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ คือ หลักธรรมาภิบาลและจิตพอเพียงต้านทุจริต โดยสามารถส่งเสริมแนวทางป้องกันปัญหาคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ เสริมสร้างความโปร่งใสโดยใช้หลักการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐและการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล เสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการติดตามตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารตามหลักคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ และเพิ่มบทลงโทษผู้กระทำผิดกฎหมายจัดซื้อจัดจ้าง

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

  • นันทิตา เลิศสงครามชัย., นันทิชา โชติพิทยานนท์. (2565). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อมาตรการป้องกันปัญหาคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้าง ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานภาครัฐในกรุงเทพมหานคร. Dhammathas Academic Journal, 22(2), 125–134.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2565
ผู้แต่ง
  • นันทิตา เลิศสงครามชัย
  • นันทิชา โชติพิทยานนท์
วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก

เพื่อประมาณการต้นทุน รายรับ การขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคมของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก และประมาณการผลตอบแทนส่วนเกินที่ตกแก่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์การแสวงหาค่าเช่า และศึกษาการทุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง

You might also like...

KRAC Insight | เกมแห่งแรงจูงใจ: ถอดบทเรียนกฎหมายผ่อนผันโทษผ่านมุมมองทฤษฎีเกม

KRAC INSIGHT ชวนเจาะลึกว่าทำไมกฎหมายผ่อนผันโทษจึงซับซ้อน และทำงานเหมือน Prisoner’s Dilemma ที่จูงใจผู้ร่วมขบวนการให้หักหลังกันเอง !

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : พัฒนาทักษะการสื่อสารด้านการต่อต้านคอร์รัปชันผ่านการกระทำเชิงสัญลักษณ์

สัญลักษณ์ มักถูกใช้ในการเรียกสิ่งหนึ่งแทนการเรียกตรงๆ โดยอาจจะเกิดจากการเปรียบเทียบหรือการตีความออกมาเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ได้ ซึ่งนับเป็นการสื่อสารรูปแบบหนึ่งที่มนุษย์ใช้กันนอกเหนือจากการเขียนข้อความ ในสังคมของเรามีการใช้สัญลักษณ์ในการสื่อสารให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | การสร้างชุมชนที่โปร่งใสต้องเริ่มต้นที่ตรงไหน จึงจะสำเร็จ ?

“พลังของชุมชน” สามารถเป็นด่านแรกในการป้องกันการทุจริตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อชุมชนมีระบบภายในที่เข้มแข็งและประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง