วิเคราะห์ลักษณะการทุจริตในการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวกับการตรากฎหมาย (พระราชกําหนด) การออกกฎ ข้อบังคับ หรือมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นไปเพื่อเอื้อประโยชนให้กลุ่มทุนธุรกิจหรือพวกพ้องของรัฐมนตรี
งานวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารราชการแผนดินของคณะรัฐมนตรี ด้วยการตรากฎหมาย (พระราชกําหนด) การออกกฎ ข้อบังคับ หรือมติคณะรัฐมนตรี ที่มีลักษณะไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมือง กลุ่มทุนธุรกิจ และข้าราชการ กับการตรากฎหมาย (พระราชกําหนด) การออกกฎ ข้อบังคับ หรือมติคณะรัฐมนตรีของคณะรัฐมนตรี ที่มีลักษณะเอื้อประโยชน์ใหแก่กลุมทุนธุรกิจ เครือญาติ และพวกพ้องของผู้ดํารงตําแหน่งรัฐมนตรี
โดยวิธีการศึกษา เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร ได้เเก่ เอกสารทางราชการ เอกสารทางวิชาการ คําสั่ง คําพิพากษา คําวินิจฉัยของศาล และประกาศของคณะกรรมการ ป.ป.ช. รวมทั้งข้อมูลทางเว็บไซต์ในอินเทอร์เน็ต โดยมีหน่วยในการศึกษาวิเคราะห์ (Unit of Analysis) คือ ผู้ดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรี โดยทําการศึกษาจากกรณีตัวอย่าง 3 กรณี ได้เเก่ โครงการจัดการน้ำเสีย เขตควบคุมมลพิษจังหวัดสมุทรปราการ (คลองด่าน) การแปลงค่าสัมปทานกิจการโทรคมนาคมเป็นภาษีสรรพสามิต และการออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัว และ 2 ตัว
สรุปประเด็นจากงานวิจัย
- จากการศึกษา พบว่าลักษณะการทุจริตต่อหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรี เกิดขึ้นได้ทั้งสองสถานะ ได้เเก่ สถานะของฝ่ายปกครองหรือเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และสถานะของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองในฝ่ายบริหาร โดยการใช้อํานาจดังกล่าว มีเจตนาพิเศษเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่ไม่ควรได้โดยชอบสําหรับตนเองหรือผู้อื่น ย่อมจะมีผลทําให้การดําเนินโครงการของรัฐบาล มีลักษณะเอื้อประโยชน์ ให้แก่กลุ่มทุนธุรกิจ เครือญาติ และพวกพ้อง ซึ่งลักษณะดังกล่าวเป็นการทุจริตรูปแบบใหม่ที่เรียกวาการทุจริตเชิงนโยบาย (Policy Corruption)
- จากการศึกษา พบว่าการทุจริตเชิงนโยบาย (Policy Corruption) หมายถึง ผู้ดำรงตําแหน่งทางการเมืองในฝ่ายบริหาร ใช้อํานาจรัฐตามหลักรัฐธรรมนูญและกฎหมาย กําหนดนโยบายสาธารณะ อาทิ การตรากฎหมาย (พระราชกําหนด) การออกกฎ ข้อบังคับ หรือมติคณะรัฐมนตรี ให้ความเห็นชอบ อนุญาต หรืออนุมัติการดําเนินโครงการลงทุนของรัฐขนาดใหญ่ (Mega Project) หรือโครงการของรัฐบาลที่ต้องใช้จ่ายเงินงบประมาณแผนดินจํานวนมาก ซึ่งการดําเนินโครงการของรัฐบาลดังกล่าว มีลักษณะเอื้อประโยชน์ให้แก่กลุ่มทุนธุรกิจ เครือญาติและพวกพ้องของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองในฝ่ายบริหาร และผลของการดําเนินโครงการดังกล่าว ทําให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และความมั่นคงของประเทศอย่างร้ายแรง
- จากการศึกษา ระบุข้อเสนอแนะต่อแนวทางและมาตรการป้องกันการทุจริตต่อหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินของผู้ดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีที่สําคัญ สรุปได้ ดังนี้
- แนวทางป้องกันผู้ดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรี ไม่ให้ทุจริตต่อหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน ควรกําหนดแนวทางป้องกัน ตั้งแต่ก่อนที่นักการเมืองจะเข้าสู่ตําแหน่งทางการเมือง ประกอบด้วย (1) มาตรการป้องกันและควบคุมกลุ่มทุนธุรกิจ ข้าราชการ ไม่ให้ร่วมมือกับนักการเมืองทุจริตการเลือกตั้ง (2) มาตรการป้องกันนักการเมืองที่ดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ไม่ให้ปฏิบัติหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินขัดกับหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (3) มาตรการป้องกันนักการเมืองที่ดํารงตำเเหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ไม่ให้ตรากฎหมาย (พระราชกําหนด) ออกกฎ ข้อบังคับ หรือมติคณะรัฐมนตรีที่ไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม
- แนวทางการบังคับใช้มาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง มีข้อเสนอ ดังนี้ (1) ผู้ตรวจการแผนดิน ควรตรวจสอบระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2551 ว่ามีสาระสําคัญเป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 279 หรือไม่ และให้คําแนะนําในการจัดทํา หรือปรับปรุงประมวลจริยธรรม ให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ (2) ควรให้องค์กรตามรัฐธรรมนูญที่มีบทบาทหน้าที่เกี่ยวกับการเสนอแนะ กํากับดูแล ส่งเสริมและพัฒนาจริยธรรมของผู้ดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ร่วมกันบูรณาการพันธกิจ ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญอยางจริงจัง และเป็นรูปธรรม
- แนวทางเสริมสร้างการมีสวนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง มีข้อเสนอให้สํานักงาน ป.ป.ช. จัดให้มีศูนย์ข้อมูลนักการเมือง เพื่อเป็นแหล่งรวมข้อมูลสารสนเทศของผู้ดำรงตําแหน่งทางการเมืองฝ่ายบริหาร (นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี) และเชื่อมโยงข้อมูล กับ องค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งองค์กรตรวจสอบภาคประชาชน โดยทําการเก็บและบันทึกข้อมูลการปฏิบัติหน้าที่ในการบริหารราชการแผนดินของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองในฝ่ายบริหาร (นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี) เพื่อเป็นฐานข้อมูลสําคัญขององค์กรตรวจสอบทางการเมืองในการนําไปใช้ประโยชน์ เพื่อติดตามและตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐในการบริหารงานของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี เพื่อเป็นการป้องปรามไม่ใหเกิดการทุจริตต่อหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีในโอกาสต่อไป
สมพงษ์ ตะโกพ่วง และทนงศักดิ์ ม่วงมณี. (2554). การทุจริตต่อหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรี : กรณีศึกษา. สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.
- สมพงษ์ ตะโกพ่วง
- ทนงศักดิ์ ม่วงมณี
หัวข้อ
โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาต โดยใช้อำนาจรัฐ
ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ
โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก
เพื่อประมาณการต้นทุน รายรับ การขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคมของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก และประมาณการผลตอบแทนส่วนเกินที่ตกแก่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์การแสวงหาค่าเช่า และศึกษาการทุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง
โครงการพัฒนากฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริต
เพื่อศึกษาเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 244 มาตรา 245 ประกอบมาตรา 221 เกี่ยวกับการวางระบบการร่วมมือกันทำงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เพื่อกำหนดมาตรการ และวิธีการทำงานร่วมมือกันของ
องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเชิงนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพ
ประสิทธิผล
โครงการประเมินองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญว่าด้วยการต่อต้านคอร์รัปชัน
ประเมินผลการทำงานขององค์กรอิสระที่มีหน้าที่ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ทั้งสำนักงาน ป.ป.ช. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ตรวจการแผ่นดิน ว่าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่