การบูรณาการการใช้จ่ายงบประมาณร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ: กรณีศึกษางบประมาณเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม

ศึกษาการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อการพัฒนาประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐ และแนวทางบูรณาการการใช้จ่ายงบประมาณระหว่างหน่วยงาน เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการใช้จ่ายงบประมาณ อันจะนำไปสู่การพัฒนาประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง

ที่ผ่านมาหน่วยงานภาครัฐได้ตั้งงบประมาณ เพื่อดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประชาธิปไตย ที่มุ่งเน้นให้พลเมืองเข้ามามีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์ทางการเมืองอย่างยั่งยืน โดยมีตัวอย่างของหน่วยงานรัฐที่มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาประชาธิปไตย ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผู้ตรวจการแผ่นดิน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) สถาบันพระปกเกล้า สภาพัฒนาการเมือง กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รวมทั้งมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เป็นต้น ทั้งนี้ หากรวมตัวเลขงบประมาณเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตยของหน่วยงานต่าง ๆ เข้าด้วยกัน จะพบว่าเป็นตัวเลขที่สูงมาก ดังนั้น การศึกษาถึงความเป็นไปได้ และแนวทางในการบูรณาการการใช้จ่ายงบประมาณร่วมกัน ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้เกิดการใช้งบประมาณที่คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น

ด้วยเหตุนี้ จึงนำมาสู่การศึกษางบประมาณเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ที่มุ่งศึกษาถึงงบประมาณของหน่วยงานต่าง ๆ ที่ถูกจัดสรร เพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย และปัจจัยที่ส่งผลต่อความสําเร็จในการบูรณาการการใช้จ่ายงบประมาณร่วมกัน รวมทั้งเพื่อนําเสนอแนวทางบูรณาการการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อการพัฒนาประชาธิปไตยร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้งบประมาณได้ถูกใช้จ่ายอย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริง

โดยคณะผู้วิจัย ได้ดำเนินการศึกษาเอกสารงบประมาณของหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีการตั้งงบประมาณเพื่อจัดกิจกรรม หรือโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประชาธิปไตย กฎหมาย และระเบียบต่าง ๆ  รวมทั้งแนวคิดทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบูรณาการงบประมาณรายจ่าย และการพัฒนาประชาธิปไตย รวมถึงการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลักจากหน่วยงานภาครัฐที่มีการจัดทำโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประชาธิปไตย และชุมชนที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 15 คน

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • ผลจากการศึกษา พบว่างบประมาณเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม มีอยู่ในหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ จำนวนมาก ทั้งที่มาจากหน่วยงานที่มีภารกิจโดยตรง และหน่วยงานอื่นที่ต้องอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติภารกิจ อย่างไรก็ตาม การบูรณาการงบประมาณร่วมกันยังเป็นไปได้น้อย เนื่องจากข้อจำกัดของระเบียบปฏิบัติของทางราชการ ทัศนคติของหน่วยปฏิบัติ และความเข้าใจที่ต่างกันต่อประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม รวมถึงระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการที่ทำให้หน่วยงานมุ่งแต่การปฏิบัติภารกิจ เพื่อตอบสนองต่อตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการเป็นหลัก

  • ผลจากการศึกษาแนวทางส่งเสริมการบูรณาการงบประมาณการใช้จ่ายร่วมกัน ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เพื่อการพัฒนาประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม มีความเป็นไปได้สองทาง กล่าวคือ การดำเนินงานในส่วนกลาง และในระดับพื้นที่ โดยในระดับส่วนกลาง ควรพิจารณาจัดตั้งคณะทำงานยุทธศาสตร์บูรณาการในประเด็นการพัฒนาประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม เพื่อให้งบประมาณที่กระจัดกระจายอยู่ในหน่วยงานภาครัฐได้ถูกนำมาวิเคราะห์ และจัดสรรอย่างเป็นระบบ เพื่อตอบสนองการพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง และไม่ควรจำกัดที่การบูรณาการแผนงานเท่านั้น แต่ควรบูรณาการไปยังกิจกรรม หรือกลุ่มเป้าหมายร่วมกันด้วย ในระดับพื้นที่ จังหวัดจะต้องเป็นกลไกหลัก เพื่อเชื่อมประสานหน่วยงานในพื้นที่ ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม รวมทั้งต้องวิเคราะห์แผนงาน กิจกรรม โครงการที่ลงไปปฏิบัติการในพื้นที่ ไม่ให้มีความซับซ้อนกัน เช่น จัดทำปฏิทิน หรือแผนที่การส่งเสริมประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่ เพื่อให้ส่วนราชการ รวมทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ได้รับทราบ และสามารถเชื่อมประสานการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

  • ผลจากการศึกษา ระบุว่าควรมีการพัฒนาระบบงบประมาณอิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพ ในการค้นหาข้อมูลงบประมาณของส่วนราชการ องค์กรอิสระ และองค์กรมหาชนต่าง ๆ เพื่อให้หน่วยงานแต่ละแห่ง สามารถรับรู้ถึงรายละเอียดงบประมาณของหน่วยงานอื่น ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความร่วมมือ และการบูรณาการการทำงานร่วมกัน รวมถึงต้องทำให้เกิดการจัดทำงบประมาณแบบมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง เพื่อให้งบประมาณที่ถูกเสนอขอและจัดสรร เป็นไปตามบริบทความต้องการของแต่ละพื้นที่ เช่น การปฏิรูปกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งปัจจุบันยังเป็นอุปสรรคในการบูรณาการการใช้จ่ายงบประมาณร่วมกันระหว่างหน่วยงาน

เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

รัฐศิรินทร์ วังกานนท์ และศิริรัตน์ ชุณหคล้าย. (2558). การบูรณาการการใช้จ่ายงบประมาณร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ: กรณีศึกษางบประมาณเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม. สถาบันพระปกเกล้า.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2558
ผู้แต่ง
  • รัฐศิรินทร์ วังกานนท์
  • ศิริรัตน์ ชุณหคล้าย
หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

ระบบการตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบต่าง ๆ ของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน

ศึกษาระบบการตรวจสอบการเงิน การคลัง บัญชี ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบต่าง ๆ โดยมีกรณีศึกษา คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง ลําพูน เชียงใหม่ และเเม่ฮ่องสอน

การปฏิรูประบบงบประมาณเพื่อเพิ่มความโปร่งใสให้กับการดำเนินนโยบายกึ่งการคลัง

ศึกษาถึงวิธีการจัดทำงบประมาณ และระบบรายงานข้อมูลทางการเงินการคลังของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อหาแนวทางปรับปรุงวิธีการจัดทำงบประมาณของปไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

การบูรณาการการใช้จ่ายงบประมาณร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ: กรณีศึกษางบประมาณเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม

ศึกษาการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐ และแนวทางบูรณาการการใช้จ่ายงบประมาณระหว่างหน่วยงาน เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการใช้จ่ายงบประมาณ

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ท้องถิ่นอาจช้ำ เมื่อความเหลื่อมล้ำถูกซ้ำด้วยการจัดสรรงบประมาณที่ไม่มีประสิทธิภาพ

รู้หรือไม่ ? การจัดสรรเงินอุดหนุนจากรัฐบาลกลางที่ไม่เป็นธรรม ไม่โปร่งใส และขาดเป้าหมายชัดเจน อาจกลายเป็นการเพิ่มปัญหาความเหลื่อมล้ำในท้องถิ่น แทนที่จะช่วยลดช่องว่างทางเศรษฐกิจ แล้วเราจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร ?

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | โควิด-19 ส่งผลอย่างไรต่อสถานการณ์คอร์รัปชันและธรรมาภิบาล ?

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ไม่ได้ส่งผลกระทบแค่สุขภาพและเศรษฐกิจ แต่ยังทำให้การต่อต้านคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลเผชิญความท้าทายใหม่ ๆ เช่น การใช้อำนาจพิเศษของรัฐ ความไม่เท่าเทียมที่เพิ่มขึ้น และการจัดซื้อจัดจ้างแบบฉุกเฉินที่เสี่ยงต่อการทุจริต แล้วเราจะฟื้นฟูผลกระทบเหล่านี้ได้อย่างไร ?

KRAC The Experience | EP 8: Networks is in every way, Offline and Online Against Corruption

“การทำงานเป็นเครือข่ายจะช่วยเสริมสร้างการทำงานต่อต้านคอร์รัปชันอย่างไร ?” เรามีคำตอบมาให้จากแนวทางการขับเคลื่อนการต่อต้านคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นในระดับโลก🌏 ร่วมไขข้อสงสัยได้ที่ KRAC The Experience ตอน Networks is in every way, Offline and Online Against Corruption