การพัฒนารูปแบบและวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน

เพื่อให้เกิดการวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดระบบการตรวจสอบทรัพย์สิน และหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับสูง ในรูปแบบที่มีประสิทธิภาพ นำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพของระบบดังกล่าวต่อไป

การตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นเครื่องมือสำคัญในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตพ.ศ. 2542ได้กำหนดให้มีระบบการแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สินไว้ อย่างไรก็ดี ปัจจุบัน พบว่ายังมีบุคคลที่จงใจไม่ยื่น หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ รวมทั้งระบบการตรวจสอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ปรากฏบัญชีค้างตรวจอยู่จำนวนมาก ส่งผลให้กระบวนการตรวจสอบขาดประสิทธิภาพและไม่บรรลุเจตนารมณ์ของกฎหมาย 

ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นที่มาของการศึกษาในครั้งนี้ เพื่อมุ่งทบทวนกระบวนการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดํารงตำเเหน่งทางการเมือง และเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับสูง ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในทางปฏิบัติของประเทศไทยและต่างประเทศ ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ และการจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นกับผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน เพื่อให้เกิดการวิเคราะห์ และสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดระบบการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับสูงในรูปแบบที่มีประสิทธิภาพต่อไป

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • จากการศึกษาเปรียบเทียบการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของต่างประเทศ สามารถสรุปรูปแบบในการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เช่น มีการจัดกลุ่มผู้ดํารงตําแหน่งที่กฎหมายกําหนดให้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามความสําคัญ หรือตามลําดับความเสี่ยง โดยกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง อาทิ คณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผูแทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ประธานศาลต่าง ๆ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ต้องมีการตรวจสอบความมีอยู่จริงของทรัพย์สินและหนี้สิน รวมถึงมีการตรวจสอบเชิงลึกในกรณีบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของกลุ่มบุคคลผู้ดํารงตําแหน่งที่เข้าข่ายความเสี่ยงสูง หรือมีการร้องเรียนเป็นรายบุคคล โดยต้องตรวจสอบความถูกต้องและความมีอยู่จริง ตลอดจนความเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ
  • ผลการศึกษา นำเสนอตัวอยางความสําเร็จของกระบวนการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับสูงในประเทศจอร์เจีย ที่นําเอาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในกระบวนการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินอย่างครบวงจร ตั้งแต่การยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน การตรวจสอบ และการเปิดเผยต่อสาธารณะ ทําให้กระบวนการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว แม่นยํา ไม่ล่าช้าอย่างในอดีต อีกทั้ง ยังสร้างแรงจูงใจและความกระตือรือร้นแก่ภาคประชาสังคม และภาคประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการตรวจสอบมากขึ้น เพราะได้รับความสะดวกจากระบบดังกล่าว
  • คณะผู้วิจัย ได้สรุปผลการพัฒนารูปแบบ เเละวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของระบบตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของสำนักงาน ป.ป.ช. ใน 3 ประเด็น ดังนี้
    1. การยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน เช่น กําหนดให้เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกประเภท มีหน้าที่ในการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน และใช้ระบบการตรวจสอบเมื่อมีข้อสงสัย โดยใช้ระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ มาช่วยในกระบวนการยื่น และกระบวนการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน และมีการเชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองทุกระดับและเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับสูงต่อสาธารณะ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าตรวจสอบได้
    2. ระบบการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน เช่น ปรับเปลี่ยนแนวทาง หรือรูปแบบการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินใหม่ โดยใช้วิธีจัดลําดับความเสี่ยงของผู้ดํารงตําแหน่งที่กฎหมายกําหนดให้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินออกเป็นกลุ่ม ๆ ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง จำเป็นต้องตรวจสอบความถูกต้องและความมีอยู่จริงของทรัพย์สินและหนี้สินที่ยื่นมาทั้งหมด และตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ เพื่อดูความเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติ ได้แก่ คณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ประธานศาลต่าง ๆ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการในคณะกรรมการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ สําหรับกลุ่มตําแหนงอื่น ๆ ให้ใช้วิธีสุ่มตรวจตามลําดับความเสี่ยง หรือตรวจสอบเมื่อมีผู้ร้องเรียน หรือยื่นคําขอให้มีการตรวจสอบเป็นรายบุคคล 
    3. การนําระบบสารสนเทศมาใช้ในกระบวนการตรวจสอบทรัพย์สินและระบบสารสนเทศเพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล (Asset Collecting and Analysis System – ACAS) จะช่วยแก้ไขปัญหาความไม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่สำนักงาน ป.ป.ช. ประสบปัญหาอยู่ในปัจจุบันได้ โดยระบบดังกล่าว จะเชื่อมโยงข้อมูลภายในสํานักงาน ป.ป.ช. กับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบทรัพย์สินได้ เช่น สถาบันการเงิน ตลาดหลักทรัพย์ กรมขนสง กรมสรรพากร กรมที่ดิน สำนักงาน ป.ป.ง. และประชาชนที่จะให้ข้อมูลเบาะแสเกี่ยวกับการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน ซึ่งจะทําให้การตรวจสอบมีความรวดเร็วและแม่นยํามากขึ้น
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

พัชรวรรณ นุชประยูร, อมรรัตน์ กุลสุจริต, กวินา กิจกําแหง, บรรเจิด สิงคะเนติ, กันธร สมุทวณิช และอรศิริ รังรักษศิริวร. (2560). การพัฒนารูปแบบและวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2560
ผู้แต่ง
  • พัชรวรรณ นุชประยูร
  • อมรรัตน์ กุลสุจริต
  • กวินา กิจกําแหง
  • บรรเจิด สิงคะเนติ
  • กันธร สมุทวณิช
  • อรศิริ รังรักษศิริวร
หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาต โดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก

เพื่อประมาณการต้นทุน รายรับ การขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคมของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก และประมาณการผลตอบแทนส่วนเกินที่ตกแก่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์การแสวงหาค่าเช่า และศึกษาการทุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง

โครงการพัฒนากฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริต

เพื่อศึกษาเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 244 มาตรา 245 ประกอบมาตรา 221 เกี่ยวกับการวางระบบการร่วมมือกันทำงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เพื่อกำหนดมาตรการ และวิธีการทำงานร่วมมือกันของ
องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเชิงนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพ
ประสิทธิผล

โครงการประเมินองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญว่าด้วยการต่อต้านคอร์รัปชัน

ประเมินผลการทำงานขององค์กรอิสระที่มีหน้าที่ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ทั้งสำนักงาน ป.ป.ช. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ตรวจการแผ่นดิน ว่าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่

You might also like...

KRAC Hot News I ไฟฟ้าไทยแพง เพราะภาคพลังงานยังโปร่งใสไม่พอ

เพราะไฟฟ้าได้กลายเป็นปัจจัยที่ 5 ไปแล้ว แต่ที่น่ากังวล คือไฟฟ้ายังคงเป็นปัจจัยเดียวที่ราคาไม่ได้เป็นไปตามกลไกตลาด ที่สำคัญยังเหมือนจะแพงขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย…ทำไมค่าไฟฟ้าของไทยยังแพง และมีบทเรียนจากต่างประเทศอะไรบ้าง

บทความวิจัย : ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประจำจังหวัด ในการรวบรวมพยานหลักฐานในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ในองค์การบริหารส่วนตำบล

ความล่าช้าในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด มีปัญหาหลักมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย และการดำเนินการ

บทความวิจัย : รูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนววิถีพุทธในงานต่อต้านการทุจริต และการสร้างเครือข่ายต่อต้านการทุจริตอย่างยั่งยืน

การพัฒนากิจกรรมสำหรับต่อต้านการทุจริตควรมีการประยุกต์หลักพุทธธรรมและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ