การศึกษาลักษณะ รูปแบบ และความเสี่ยงต่อการทุจริตในองค์กรเอกชนกึ่งสาธารณะ

มุ่งหาแนวทางบริหารจัดการ กำกับดูแล ตรวจสอบการดำเนินงาน และใช้จ่ายงบประมาณขององค์กรเอกชนกึ่งสาธารณะ เพื่อพัฒนากลไกและบุคลากรของสำนักงาน ป.ป.ช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สามารถป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชันในองค์กรต่อไป

การวิจัยเรื่องนี้ มุ่งศึกษาวิจัยเพื่อแสวงหาแนวทางการบริหารจัดการ การกำกับดูแล และการตรวจสอบการดำเนินงาน และการใช้จ่ายงบประมาณขององค์กรเอกชนกึ่งสาธารณะ เพื่อเป็นแนวทางพัฒนากลไกและบุคลากรของสำนักงาน ป.ป.ช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้มีสมรรถภาพเพิ่มขึ้นในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันในองค์กรเอกชนกึ่งสาธารณะต่อไป

โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิจัยเอกสารการสัมภาษณ์ ร่วมกับการวิจัยแบบมีส่วนร่วม เพื่อนำไปสู่การศึกษาลักษณะรูปแบบ และการทุจริตในองค์กรเอกชนกึ่งสาธารณะ ซึ่งในการศึกษานี้ เลือกศึกษา  5 องค์กร ได้แก่ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา มูลนิธิพลังชุมชนไทย กองทุนผู้สูงอายุ และกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • จากการศึกษา พบว่าลักษณะรูปแบบ และความเสี่ยงต่อการทุจริต ที่พบเหมือนกันทุกองค์กร มี 2 ประเด็นสำคัญ ได้เเก่การใช้ดุลพินิจ ซึ่งกฎหมายเปิดช่องให้คณะกรรมการบริหารกองทุน หรือผู้บริหาร หรือผู้จัดการกองทุนนำเงินกองทุนไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ และ การที่องค์ประกอบของคณะกรรมการบริหารส่วนใหญ่มาจากภาครัฐ ส่งผลให้ขาดผู้แทนจากฝั่งผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือภาคประชาชนในสัดส่วนที่เหมาะสม ทำให้ขาดระบบการตรวจสอบและถ่วงดุลตามหลักธรรมาภิบาล แต่องค์กรเอกชนกึ่งสาธารณะในรูปแบบของกองทุน อยู่ภายใต้กฎระเบียบของทางราชการที่รัดกุม มากกว่าองค์กรพัฒนาเอกชนภาครัฐ (มูลนิธิหรือสมาคม) ซึ่งยังไม่มีกฎระเบียบในการดำเนินการที่ชัดเจน โดยอาจพิจารณาระดับความเข้มข้นของการกำกับดูแลและตรวจสอบ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการทุจริต

  • จากการศึกษา พบว่าความเสี่ยงต่อการทุจริตที่เกิดขึ้นในแต่ละกรณีศึกษานั้น ส่วนใหญ่มีสาเหตุจากระดับของการใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการ หรือผู้บริหาร ซึ่งมีความสอดคล้องกับลักษณะรูปแบบและความเสี่ยงต่อการทุจริต เช่น กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา มีการกระจายอำนาจให้ผู้บริหารสถานศึกษา มีอำนาจในการใช้ดุลยพินิจมาก แต่ระบบการตรวจสอบการใช้อำนาจยังค่อนข้างน้อย ทำให้มีความเสี่ยงต่อการทุจริตค่อนข้างสูง หรือกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน มีเงินหมุนเวียนจำนวนมาก ภายใต้การบริหารจัดการของส่วนราชการ แต่กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียค่อนข้างน้อยมาก ทำให้มีโอกาสที่จะมีการนำเงินกองทุนไปใช้เพื่อประโยชน์อื่นนอกเหนือจากการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของกองทุน

  • คณะผู้วิจัย ได้จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ดังนี้ (1) องค์กรเอกชนกึ่งสาธารณะควรมีหลักเกณฑ์ และวิธีการที่โปร่งใส และตรวจสอบได้ในการบริหารจัดการกองทุน (2) คณะกรรมการกลั่นกรองการจัดตั้งกองทุนหมุนเวียน ควรมีผู้แทนจากองค์กรภาคเอกชน ภาคประชาชน และองค์กรที่มีหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการทุจริตร่วมเป็นกรรมการอยู่ด้วย (3) ควรกำหนดกรอบการใช้ดุลพินิจในระดับต่าง ๆ ให้ชัดเจน พร้อมกำหนดกลไกการตรวจสอบให้มีประสิทธิภาพ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการทุจริต (4) ควรมีมาตรการป้องกันการกระทำที่มีลักษณะเป็นผลประโยชน์ทับซ้อน และเพิ่มเติมประมวลจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ครอบคลุมทุกองค์กรเอกชนกึ่งสาธารณะ และ (5) ควรส่งเสริมให้มีการสร้างเครือข่ายของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลาย ทั้งในระดับชุมชนท้องถิ่นและระดับประเทศ

เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

พรรณราย ขันธกิจ. (2555). การศึกษาลักษณะ รูปแบบ และความเสี่ยงต่อการทุจริตในองค์กรเอกชนกึ่งสาธารณะ. ศูนย์วิจัยเพื่อต่อต้านการทุจริต ป๋วย อึ๊งภากรณ์. 

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2555
ผู้แต่ง

พรรณราย ขันธกิจ

หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาพรมแดนและช่องว่างความรู้เรื่องคอร์รัปชันและธรรมาภิบาล เพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2566-2570

ศึกษาพัฒนาการของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลในประเทศไทย เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะต่อแนวทางการสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยในประเด็นคอร์รัปชัน และธรรมาภิบาลในอนาคต

โครงการวิจัยการสังเคราะห์รูปแบบ กลไกและแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ศึกษาพัฒนาการของรูปแบบ กลไก และแนวทางการปลูกฝังเจตคติ และวัฒนธรรมสุจริตที่มีผลต่อการป้องกันการทุจริตของไทย และศึกษากรณีของต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อไป

โครงการวิจัยการศึกษาแนวทางความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

นำเสนอแนวคิดและกิจกรรมที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพการดำเนินงานของ ป.ป.ช. ในการแก้ไขปัญหาการทุจริต และเสนอแนวทางการพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลร่วมกันผ่านกระบวนการประสานข้อมูลระหว่างหน่วยงานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

โครงการประสิทธิภาพและธรรมาภิบาลของนโยบายสาธารณะไทย การวิจัยเพื่อเสริมสร้างนักนโยบายสาธารณะที่ดี

เพื่อทำการวิเคราะห์ผลทางนโยบายสาธารณะในด้านต่าง ๆ จากมุมมองของประชาชน โดยใช้หลักธรรมาภิบาลด้านประสิทธิภาพ การมีส่วนร่วม และการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน

You might also like...

KRAC Hot News I ไฟฟ้าไทยแพง เพราะภาคพลังงานยังโปร่งใสไม่พอ

เพราะไฟฟ้าได้กลายเป็นปัจจัยที่ 5 ไปแล้ว แต่ที่น่ากังวล คือไฟฟ้ายังคงเป็นปัจจัยเดียวที่ราคาไม่ได้เป็นไปตามกลไกตลาด ที่สำคัญยังเหมือนจะแพงขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย…ทำไมค่าไฟฟ้าของไทยยังแพง และมีบทเรียนจากต่างประเทศอะไรบ้าง

บทความวิจัย : ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประจำจังหวัด ในการรวบรวมพยานหลักฐานในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ในองค์การบริหารส่วนตำบล

ความล่าช้าในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด มีปัญหาหลักมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย และการดำเนินการ

บทความวิจัย : รูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนววิถีพุทธในงานต่อต้านการทุจริต และการสร้างเครือข่ายต่อต้านการทุจริตอย่างยั่งยืน

การพัฒนากิจกรรมสำหรับต่อต้านการทุจริตควรมีการประยุกต์หลักพุทธธรรมและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ