คอร์รัปชันในกรุงโซลและกรุงเทพฯ : บทสำรวจองค์ความรู้ในการต่อต้านคอร์รัปชันของกรุงโซล เกาหลีใต้ และแนวทางต่อต้านคอร์รัปชันของกรุงเทพมหานคร

เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์การคอร์รัปชันและนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันในประเทศเกาหลีใต้ โดยมุ่งเน้นไปที่การต่อต้านคอร์รัปชันของกรุงโซล เพื่่อนำมาเป็นบทเรียนแก่กรุงเทพมหานคร

เกาหลีใต้เป็นหนึ่งในประเทศที่ถูกยกให้เป็นตัวอย่างของประเทศที่มีนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันที่ชัดเจน มีการบริหารประเทศแบบประชาธิปไตยที่มีการตรวจสอบถ่วงดุล และมีการลงโทษผู้ทุจริตอย่างจริงจัง ส่งผลให้เกาหลีใต้มีระดับความโปร่งใสในระดับดี อีกทั้ง ในระดับท้องถิ่น อย่างเช่น กรุงโซล มีระบบเปิดเผยข้อมูลเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วม ติดตาม ตรวจสอบการบริหารเมืองได้ ทำให้การบริหารจัดการเมืองมีประสิทธิภาพ และโปร่งใสตรวจสอบได้  ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งที่จะเป็นตัวอย่างที่ดีแก่กรุงเทพมหานครต่อไป

ด้วยเหตุนี้ คณะผู้วิจัย จึงมุ่งศึกษาประวัติศาสตร์การคอร์รัปชัน และนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันในประเทศเกาหลีใต้ โดยมุ่งเน้นไปที่การต่อต้านคอร์รัปชันของกรุงโซล เพื่อนำมาเป็นบทเรียนในการดำเนินงานแก่กรุงเทพมหานครต่อไป

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • ผลการสำรวจงานวิจัยที่ศึกษาการคอร์รัปชันในงานชิ้นนี้ สามารถแบ่งช่วงประวัติศาสตร์การคอร์รัปชันระดับชาติของเกาหลีใต้ได้เป็นสามยุค สรุปได้ ดังนี้ ยุคเเรกเป็นการคอร์รัปชันแบบเบ็ดเสร็จในช่วงปี 2522 เกิดขึ้นเฉพาะกลุ่มผู้มีอำนาจของรัฐที่กุมอำนาจในการบริหารประเทศอย่างเบ็ดเสร็จ และมีการรับเงินสินบนจากแชโบล ผ่านการบริจาคเข้ากองทุนตามที่รัฐบาลกำหนด เพื่อแลกเปลี่ยนกับการที่แชโบลจะได้รับสิทธิ์พิเศษต่าง ๆ ที่เกื้อหนุนการทำธุรกิจ ยุคที่สองเป็นการคอร์รัปชันในพวกพ้องและครอบครัวในช่วงปี 2523 – 2536 สมัยรัฐบาลช็อน ดู-ฮวัน ถึงรัฐบาล โนแท-อู (2523 – 2536) ได้มีการสร้างสัมพันธ์กับเครือข่ายธุรกิจต่าง ๆ และมีการตั้งกองทุนเพื่อเป็นต้นทางการรับเงินจากแชโบลเช่นเดียวกับยุคแรก และยุคที่สามการคอร์รัปชันโดยใช้นอมินีในช่วงปี 2526 จนถึงปัจจุบัน เมื่อการเมืองเกาหลีใต้เข้าสู่ยุคประชาธิปไตย และรัฐบาลมีนโยบายปราบปรามคอร์รัปชันอย่างจริงจัง ในยุคนี้ประธานาธิบดี ไม่ได้มีพฤติกรรมทุจริตอย่างเด่นชัด แต่ข่าวอื้อฉาวเรื่องทุจริตส่วนใหญ่ยังคงเกิดขึ้นกับสมาชิกในครอบครัว หรือผู้ใกล้ชิด
  • ผลจากการศึกษาพัฒนาการของฝ่ายต่อต้านการคอร์รัปชัน พบว่าเกาหลีใต้มีองค์กรภาคประชาสังคมที่เข้มแข็ง และได้รับความเชื่อมั่นจากประชาชน มากกว่าภาคธุรกิจ และภาครัฐ การต่อต้านคอร์รัปชันในสังคมเกาหลีใต้ จึงไม่ได้พึ่งพาแต่เพียงกลไกของรัฐบาล แต่รวมถึงกลไกภาคประชาสังคมด้วย ยกตัวอย่าง กรณีการต่อต้านคอร์รัปชันของกรุงโซล เริ่มขึ้นอย่างจริงจังและชัดเจนในสมัยที่นายโกะ คุน เป็นนายกเทศมนตรีในปี 2541 โดยมีนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันที่สำคัญ เช่น มาตรการป้องกัน ได้แก่ การทบทวนความเหมาะสมของกฎระเบียบ และการจำกัดอำนาจของเจ้าหน้าที่ระดับท้องถิ่นในการอนุญาตทางราชการ มาตรการปราบปรามการทุจริต เปิดให้ประชาชนส่งเบาะแสการทุจริตผ่านบัตรสนเท่ห์พร้อมทั้งมีรางวัลให้กับผู้แจ้งเบาะแส ตลอดจนมีการลงโทษเจ้าหน้าที่กระทำการทุจริตอย่างจริงจัง มาตรการยกระดับความโปร่งใสในการบริหารเมือง เปิดให้ประชาชนติดต่อราชการ และติดตามความคืบหน้าในการขออนุญาตทางราชการผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งช่วยลดโอกาสที่ผู้ใช้บริการต้องเจอกับเจ้าหน้าที่ อันจะนำไปสู่การเรียกรับสินบนได้ อีกทั้ง ได้มีการสร้างความร่วมมือ ระหว่างภาครัฐ และเอกชนในการต่อต้านทุจริต ด้วยการจัดตั้งคณะผู้ตรวจการที่มีตัวแทนจากภาคประชาสังคมเรียกว่า Citizen Ombudsmen เพื่อร่วมตรวจสอบโครงการจัดซื้อจัดจ้างของกรุงโซล 
  • คณะผู้วิจัย จัดทำข้อเสนอแนะต่อแนวทางการต่อต้านคอร์รัปชันสำหรับกรุงเทพมหานครที่ได้จากการศึกษาบทเรียนของกรุงโซล สรุปได้ ดังนี้
    1. กรุงเทพมหานคร ยังไม่มีระบบการประเมินประสิทธิภาพ และคุณภาพการบริการสาธารณะที่เป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร  ในขณะที่กรุงเทพมหานคร สามารถปฏิเสธไม่เข้าร่วมการประเมินของหน่วยงานส่วนกลาง เช่น การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐได้
    2. กรุงเทพมหานคร ต้องริเริ่มปฏิรูปกฎระเบียบว่าด้วยการขออนุญาตทางราชการที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก เพื่อทบทวนกฎระเบียบ หรือกระบวนการขออนุญาตในเรื่องที่ไม่จำเป็น หรือไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
    3. กรุงเทพมหานคร ควรขยายบริการติดต่อขออนุญาตทางราชการ และติดตามความคืบหน้าของเรื่องผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

ขนิษฐา ฮงประยูร, เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ เเละธิปไตร เเสละวงศ์. (2560). คอร์รัปชันในกรุงโซลและกรุงเทพฯ : บทสำรวจองค์ความรู้ในการต่อต้านคอร์รัปชันของกรุงโซล เกาหลีใต้ และแนวทางต่อต้านคอร์รัปชันของกรุงเทพมหานคร. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ).

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2560
ผู้แต่ง
  • ขนิษฐา ฮงประยูร
  • เดือนเด่น นิคมบริรักษ์
  • ธิปไตร เเสละวงศ์
หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการวิจัยและประสานงานเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน

เพื่อออกแบบงานวิจัยสำหรับแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันบนฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงพัฒนาระบบและเครื่องมือใหม่ในการป้องกันและลดคอร์รัปชันในระดับพื้นที่

โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2

จัดทำข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยเน้นแนวทางการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันจากมุมมองของประชาชน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR) และกระบวนการ Design Thinking เต็มรูปแบบ

โครงการวิจัยการสังเคราะห์รูปแบบ กลไกและแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ศึกษาพัฒนาการของรูปแบบ กลไก และแนวทางการปลูกฝังเจตคติ และวัฒนธรรมสุจริตที่มีผลต่อการป้องกันการทุจริตของไทย และศึกษากรณีของต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อไป

You might also like...

KRAC Hot News I ไฟฟ้าไทยแพง เพราะภาคพลังงานยังโปร่งใสไม่พอ

เพราะไฟฟ้าได้กลายเป็นปัจจัยที่ 5 ไปแล้ว แต่ที่น่ากังวล คือไฟฟ้ายังคงเป็นปัจจัยเดียวที่ราคาไม่ได้เป็นไปตามกลไกตลาด ที่สำคัญยังเหมือนจะแพงขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย…ทำไมค่าไฟฟ้าของไทยยังแพง และมีบทเรียนจากต่างประเทศอะไรบ้าง

บทความวิจัย : ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประจำจังหวัด ในการรวบรวมพยานหลักฐานในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ในองค์การบริหารส่วนตำบล

ความล่าช้าในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด มีปัญหาหลักมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย และการดำเนินการ

บทความวิจัย : รูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนววิถีพุทธในงานต่อต้านการทุจริต และการสร้างเครือข่ายต่อต้านการทุจริตอย่างยั่งยืน

การพัฒนากิจกรรมสำหรับต่อต้านการทุจริตควรมีการประยุกต์หลักพุทธธรรมและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ