คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : ‘อาหรับสปริง’ จุดเริ่มต้นจาก 1 ประชาชน สู่การปฏิวัติกว่า 15 ประเทศ

ไม่ว่าใครก็อยากเห็นประเทศของตัวเองดีขึ้น…

ไม่ว่าใครก็อยากเห็นประเทศตัวเองมีความยุติธรรม…

ไม่ว่าใครก็อยากเห็นประเทศตัวเองไม่มีการคอร์รัปชัน…

ผู้เขียนเชื่ออย่างนั้น

แต่หลายคนมองว่าเราเป็นเพียงประชาชนตัวเล็กๆ คนหนึ่งไม่สามารถเปลี่ยนอะไรได้ การเปลี่ยนแปลงสังคมเป็นเรื่องไกลตัวที่ไม่มีทางที่คนหนึ่งคนจะทำได้จริง แต่เชื่อหรือไม่ว่าในประเทศตูนิเซียมีชายขายผักที่ออกมาเรียกร้องความยุติธรรมจนกลายเป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์การลุกฮือปฏิวัติในประเทศอาหรับมากกว่า 15 ประเทศ

ย้อนกลับไปในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2010 ที่ประเทศตูนิเซีย ในช่วงเวลานั้นประเทศตูนิเซียมีประธานาธิบดีที่ชื่อ Zine El Abidine Ben Ali หรือ Ben Ali ซึ่งได้รับการแต่งตั้งในปี 1987 แม้ในช่วงแรกเขาจะได้รับความนิยม แต่ต่อมาประชาชนพบว่าภายใต้รัฐบาลของ Ben Ali มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วยการกำจัดคนที่เห็นต่างทางการเมือง ปล่อยให้มีปัญหาทางเศรษฐกิจ โดยในปี 2010 ชาวตูนิเซียที่จบการศึกษาระดับปริญญากว่า 23% ไม่สามารถหางานทำได้ สภาพเศรษฐกิจของต่างจังหวัดกับเมืองหลวงมีความแตกต่างกันมากถึง 4 เท่า นอกจากนี้ รัฐบาลของ Ben Ali ยังมีการคอร์รัปชันอย่างหนัก โดยเฉพาะในเครือญาติของเขา เช่น กรณีที่ Sakher el-Materi น้องเขยของ Ben Ali ได้ใช้อิทธิพลของ Ben Ali เข้าซื้อบริษัทจำหน่ายรถยนต์ Ennakl ในราคาที่ถูกกว่าปกติ ก่อน Ben Ali จะปรับเปลี่ยนกฎหมายให้บริษัทนี้สามารถนำเข้ารถยนต์ได้มากกว่าปกติถึง 4 เท่า ทำให้รายได้ของบริษัทเติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก หรือกรณีของ Orange บริษัทโทรคมนาคมในฝรั่งเศสที่ได้เข้ามาเปิดกิจการในตูนิเซียโดยมีสมาชิกครอบครัวของ Ben Ali ถือหุ้นอยู่ 51% ซึ่งบริษัทนี้ได้รับใบอนุญาตมาอย่างไม่โปร่งใสและผูกขาดกิจการจากอิทธิพลของ Ben Ali และยังมีการคอร์รัปชันอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่ง Global Financial Integrity องค์กรป้องกันและจัดการกับการไหลออกของเงินทุนที่ผิดกฎหมายสหรัฐฯ ได้มีการประเมินไว้ว่าในปี 2004 ถึง 2008 ตูนิเซียถูกรัฐบาลของนาย Ben Ali คอร์รัปชันเป็นเงินมูลค่ากว่า 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

จุดเริ่มต้นของการลุกฮือ

Mohamed Bouazizi เกิดมาในยุคของอดีตประธานาธิบดี Ben Ali พอดี เขาเกิดในเมือง Sidi Bouzid ในปี 1984 แต่พออายุได้แค่ 3 ขวบพ่อของเขาที่มีอาชีพก่อสร้างก็ต้องเสียชีวิตจากโรคหัวใจ ทำให้ Mohamed ต้องเริ่มทำงานตั้งแต่ตอน 10 ขวบ และไม่ได้เรียนต่อระดับมหาวิทยาลัย พออายุ 19 ปี เขาเริ่มออกมาทำงานขายผักในตลาด แต่ต้องเจอกับการรีดไถของตำรวจเพราะเขาไม่มีใบอนุญาต ในขณะที่การทำใบอนุญาตนั้นเป็นเรื่องยากเพราะยังมีการเรียกรับสินบน Mohamed จึงถูกยึดรถเข็นและตาชั่งที่เขาใช้ขายผัก เขาจึงแสดงความไม่พอใจและไปเรียกร้องความยุติธรรมหน้าสำนักงานเทศบาล ก่อนจะจุดไฟเผาตัวเองและเสียชีวิตในเวลาต่อมา

การเสียชีวิตของ Mohamed Bouazizi จากการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ถึงความอยุติธรรมที่เขาได้รับ ได้ก่อให้เกิดความไม่พอใจของประชาชนที่มองว่ารัฐบาลไม่ยอมแก้ปัญหาการคอร์รัปชัน เกิดเป็นการประท้วงครั้งใหญ่ในปี 2010 โดยเริ่มต้นจากเมือง Sidi Bouzid และขยายไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นการประท้วงระดับประเทศที่มีผู้ร่วมชุมนุมมากกว่าแสนคน การประท้วงมีการปะทะกันอย่างรุนแรงระหว่างเจ้าหน้าที่กับประชาชนทำให้มีคนบาดเจ็บและล้มตายหลายร้อยคน จากเหตุการณ์การประท้วงใหญ่ครั้งนี้ Ben Ali ไม่สามารถต้านกระแสความไม่พอใจของมวลชนได้ จึงต้องหนีออกจากประเทศในเดือนมกราคม ปี 2011 ดังนั้น การประท้วงในครั้งนี้ได้กลายเป็นชัยชนะของประชาชนตูนิเซียในที่สุด ซึ่งต่อมาเหตุการณ์ครั้งนี้ ถูกเรียกว่าการปฏิวัติดอกมะลิ (Jasmine Revolution)

เหตุการณ์ยังไม่จบเพียงเท่านี้ เมื่อตูนิเซียสามารถล้มผู้นำเผด็จการที่อยู่มานานกว่า 24 ปีได้ ประเทศอาหรับรอบข้างที่มีผู้นำเผด็จการที่คอร์รัปชันไม่ต่างกันเริ่มมองสิ่งที่ชาวตูนิเซียทำว่าเป็นความกล้าหาญ และเกิดเป็นแรงบันดาลใจให้กับประชาชนกว่า 15 ประเทศ เช่น ลิเบีย อียิปต์เยเมน ซีเรีย บาห์เรน โมร็อกโก อิรัก จอร์แดน ฯลฯ ลุกขึ้นมาประท้วงต่อต้านเผด็จการในประเทศตัวเองในช่วงปี 2010 ถึง 2012 ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้ถูกเรียกว่าอาหรับสปริง (Arab spring)

แม้ไม่ใช่ทุกการต่อสู้จะสำเร็จ แต่ละประเทศมีผลลัพธ์ที่ต่างกันออกไป บางประเทศประชาชนเป็นฝ่ายแพ้ บางประเทศประชาชนสามารถเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนผู้นำได้สำเร็จ ในขณะที่บางประเทศยังคงมีสงครามกลางเมืองอยู่ แต่สิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ คือ การลุกฮือของประชาชนที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวมีจุดเริ่มต้นมาจาก Mohamed Bouazizi ชายขายผักที่กล้าออกมาต่อต้านรัฐบาลคอร์รัปชัน

ผู้เขียนอาจจะขอออกตัวว่า การยกเรื่อง Mohamed Bouazizi มา ผู้เขียนไม่ได้อยากให้ใครไปทำตามหรือสนับสนุนความรุนแรง ผู้เขียนยังมองว่าการต่อสู้กับความอยุติธรรมต้องเป็นไปตามหลักกฎหมายและไม่ใช่การสละชีวิตใคร แต่อยากจะชวนทุกคนมองในมุมที่ว่า Mohamedคือ คนที่กล้าออกมาเปิดหน้าสู้กับรัฐ กล้าที่จะวิจารณ์และเรียกร้องความยุติธรรม ซึ่งผลสุดท้ายทำให้ทุกคนตระหนัก ตื่นรู้และนำไปสู่การแก้ไขปัญหา

โดยย้อนกลับมามองประเทศไทย ปัญหาคอร์รัปชันที่ยังไม่หมดไป แม้บางคนจะมองว่าในบางส่วนรัฐไม่โปร่งใสและคอร์รัปชันเสียเอง จนทำให้เกิดความท้อใจและไม่อยากมีส่วนร่วม แต่หากเราปล่อยไว้ในท้ายที่สุดก็คงไม่เกิดการแก้ไขและรัฐอาจคอร์รัปชันต่อไป นี่จึงเป็นหน้าที่ของประชาชนอย่างเราที่เริ่มมีส่วนร่วม กล้าเผชิญหน้าออก และตรวจสอบคอร์รัปชัน เพื่อนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงเหมือนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกอาหรับ

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง

สุรวัฒน์ เดวา

หน่วยงานสนับสนุน

หัวข้อ
Related Content

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : โอกาสและความสำคัญของการกลับคืนเป็นภาคี TI Thailand

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา กรุงเทพมหานครได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับภูมิภาคของ Transparency International (TI) การเลือกประเทศไทยเป็นสถานที่จัดงานครั้งนี้มีนัยสำคัญ แม้ปัจจุบันไทยจะไม่มีภาคีประจำประเทศอย่างเป็นทางการ …

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : อัปเดตประชุมวิชาการโลกเรื่องคอร์รัปชัน

เมื่อช่วงต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา ผศ. ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค Co-Founder บริษัท HAND Social Enterprise ได้รับเชิญไปบรรยายในงานประชุมทางวิชาการ Cambridge Economic Crime ที่จัดขึ้นเป็นปีที่ 40 แล้ว ซึ่งงานนี้ถือได้ว่าเป็นงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติที่เกี่ยวข้องกับเรื่องคอร์รัปชันที่ใหญ่ที่สุดงานหนึ่ง โดยผศ. ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค ได้เข้าร่วมบรรยายเกี่ยวกับผลงานวิจัยเรื่องประสิทธิภาพที่แท้จริงของความโปร่งใสในการต่อต้านคอร์รัปชัน ผ่านการศึกษาผลกระทบจากโครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ (Infrastructure Transparency: CoST)

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : อยากแก้ปัญหาปากท้องก่อน แต่ถ้าไม่ปฏิรูปตำรวจ ก็แก้ยาก !

ซับซ้อน ซ่อนเงื่อน มืดเทา อาจเป็นคำนิยามวงการตำรวจไทยในปัจจุบัน ? หากเราพูดถึงวงการตำรวจ หลาย ๆ คนคงจะนึกถึงเรื่องที่ตำรวจดันไปเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมกับการทุจริต ไม่ว่าจะเป็นกรณีหมูเถื่อน กำนันนก ทุนจีนสีเทา หรือข่าวอาชญากรรมต่าง ๆ แทนที่จะมองว่า ตำรวจคือผู้ที่รักษาความสงบให้บ้านเมือง และคุ้มครองประชาชนให้รู้สึกปลอดภัย

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ท้องถิ่นอาจช้ำ เมื่อความเหลื่อมล้ำถูกซ้ำด้วยการจัดสรรงบประมาณที่ไม่มีประสิทธิภาพ

รู้หรือไม่ ? การจัดสรรเงินอุดหนุนจากรัฐบาลกลางที่ไม่เป็นธรรม ไม่โปร่งใส และขาดเป้าหมายชัดเจน อาจกลายเป็นการเพิ่มปัญหาความเหลื่อมล้ำในท้องถิ่น แทนที่จะช่วยลดช่องว่างทางเศรษฐกิจ แล้วเราจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร ?

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | โควิด-19 ส่งผลอย่างไรต่อสถานการณ์คอร์รัปชันและธรรมาภิบาล ?

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ไม่ได้ส่งผลกระทบแค่สุขภาพและเศรษฐกิจ แต่ยังทำให้การต่อต้านคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลเผชิญความท้าทายใหม่ ๆ เช่น การใช้อำนาจพิเศษของรัฐ ความไม่เท่าเทียมที่เพิ่มขึ้น และการจัดซื้อจัดจ้างแบบฉุกเฉินที่เสี่ยงต่อการทุจริต แล้วเราจะฟื้นฟูผลกระทบเหล่านี้ได้อย่างไร ?

KRAC The Experience | EP 8: Networks is in every way, Offline and Online Against Corruption

“การทำงานเป็นเครือข่ายจะช่วยเสริมสร้างการทำงานต่อต้านคอร์รัปชันอย่างไร ?” เรามีคำตอบมาให้จากแนวทางการขับเคลื่อนการต่อต้านคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นในระดับโลก🌏 ร่วมไขข้อสงสัยได้ที่ KRAC The Experience ตอน Networks is in every way, Offline and Online Against Corruption