จะจัดการคอร์รัปชันให้ได้ผล ต้องลงทุนกับทรัพยากรอะไรบ้าง

การออกแบบวิธีการบริหารจัดการทรัพยากรภายในเครือข่ายของการต่อต้านคอร์รัปชัน ต้องอาศัยการศึกษาและทำความเข้าใจถึงทรัพยากรของแต่ละองค์กรเครือข่ายในแต่ละภาคส่วนที่มีความโดดเด่นหรือเป็นส่วนที่ยังขาดอยู่ ทั้งในด้านเครือข่าย ด้านการเงิน ด้านบุคคล ด้านนวัตกรรม และด้านองค์ความรู้และข้อมูล ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญที่นำไปสู่การสร้างความแข็งแกร่งให้แต่ละองค์กรในการทำงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน และทำให้เกิดความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนในเครือข่ายของการต่อต้านคอร์รัปชันในสังคมไทย

ในการทำงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชันของประเทศไทยที่ผ่านมา หลายองค์กรมักใช้วิธีการสรรหาทรัพยากรและความช่วยเหลือจากภายนอกเครือข่ายเข้ามาภายในองค์กร ซึ่งต้องใช้เวลาและทรัพยากรจำนวนมากในการประสานงาน เพื่อก้าวข้ามอุปสรรคต่าง ๆ ในการทำงานที่เกิดขึ้น ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว ทรัพยากรต่าง ๆ ที่จำเป็นในการทำงานเหล่านี้ ต่างก็มีอยู่ในองค์กรในเครือข่ายอยู่แล้ว เพียงแต่ยังขาดการประสานแบ่งปันกันระหว่างองค์กรเครือข่ายเท่านั้น

ดังนั้น การออกแบบการบริหารจัดการทรัพยากรภายในเครือข่ายอย่างมีกลยุทธ์ จึงจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจถึงทรัพยากรของแต่ละองค์กรเครือข่ายในแต่ละภาคส่วนที่มีความโดดเด่น หรือเป็นส่วนที่ยังขาดอยู่ เพื่อนำไปสู่การเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แต่ละองค์กร โดยสามารถแบ่งรายละเอียดของทรัพยากรที่จำเป็นต่อการทำงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชันออกเป็น 5 ประการ ได้แก่

  • ทรัพยากรด้านเครือข่าย ซึ่งเป็นทรัพยากรที่โดดเด่น โดยเฉพาะในองค์กรที่มีข้อจำกัดด้านทรัพยากรบุคคลและทรัพยากรเงิน เช่น องค์กรภาคประชาสังคม ซึ่งองค์กรเหล่านี้ จะสามารถจัดการทรัพยากรที่มีจำกัดนั้นได้ดีขึ้นจากการขยายเครือข่ายความร่วมมือ
  • ทรัพยากรทางการเงิน องค์กรที่มีจุดแข็งด้านการเงินยังมีจำนวนน้อยมาก ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นองค์กรของภาครัฐ หรือเป็นองค์กรที่ก่อตั้งและได้รับทุนสนับสนุนเป็นประจำจากองค์กรระหว่างประเทศ แต่ในภาคประชาสังคมและภาคเอกชน ส่วนใหญ่จะขาดแคลนเงินทุนสนับสนุน และทำให้งานที่ทำอยู่ไม่มีความต่อเนื่องมากพอที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงได้เท่าที่วางแผนไว้ รวมถึงต้องเสียทรัพยากรบุคคลและเวลาไปในการหาเงินมาสนับสนุนการทำงานทีละโครงการ
  • ทรัพยากรบุคคล ในบางองค์กรที่มีจุดเด่นด้าน “ความเชี่ยวชาญ” ของทรัพยากรบุคคล อาจมีจุดอ่อนที่ “จำนวน” ของบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน และในบางองค์กรก็อยู่ในสถานการณ์ที่สลับกัน ทำให้การทำงานต่อต้านคอร์รัปชันในด้านการป้องกัน ปราบปราม และตรวจสอบเกิดขึ้นได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ
  • ทรัพยากรด้านนวัตกรรม ปัจจุบันมีองค์กรที่มีจุดเด่นด้านนวัตกรรมเพียง 5 องค์กร ซึ่งเป็นองค์กรที่ใช้สื่อและเครื่องมือทางเทคโนโลยีในการทำงานเป็นพื้นฐาน โดยส่วนใหญ่เป็นองค์กรที่บริหารโดยคนรุ่นใหม่ หรือเป็นองค์กรเกิดใหม่ที่มีความคล่องตัว และมีองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีมาตั้งแต่เริ่มต้น
  • ทรัพยากรด้านองค์ความรู้และข้อมูล ยพบว่าองค์ความรู้และข้อมูล มักจะมาพร้อมกับทรัพยากรด้านเครือข่าย ทำให้องค์กรภาคประชาสังคมซึ่งมีเครือข่ายที่ดี จึงมีองค์ความรู้ และข้อมูลใหม่ ๆ ที่สะท้อนความต้องการของประชาชนจำนวนมาก และยังมีความโดดเด่นในองค์ความรู้เฉพาะด้าน ซึ่งเกิดจากกลไกการทำหน้าที่รวบรวมข้อมูล จัดทำสื่อ และงานวิจัย ซึ่งต้องอาศัยทักษะความสามารถ และข้อมูลจำนวนมากในการดำเนินงาน ในขณะที่องค์กรที่ขาดแคลนทรัพยากรด้านองค์ความรู้และข้อมูล มักจะเป็นองค์กรที่ไม่ได้ทำงานเชิงประเด็นแต่เป็นเชิงเทคนิคเป็นหลัก

ทั้งนี้ จากการศึกษารายละเอียดของทรัพยากรที่จำเป็นต่อการทำงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน ยังพบว่า องค์กรส่วนใหญ่ในทุกภาคส่วนยังไม่เคยมีการวิเคราะห์ทรัพยากร เพื่อแสวงหาความร่วมมือและเเบ่งปันกันอย่างเป็นระบบ ดังนั้น การสร้างความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนในเครือข่าย รวมถึงการแบ่งปันทรัพยากรระหว่างองค์กรในเครือข่าย จึงเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพให้กับทุกองค์กรในเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง และสามารถยกระดับการทำงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชันให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น โดยอาศัยการลงทุนและบริหารจัดการทรัพยากรต่าง ๆ ที่จำเป็นอย่างเป็นระบบและมีกลยุทธ์

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
มีนาคม 2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค

หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
หัวข้อ
Related Content

แล้วอะไรคือสิ่งที่ทำให้การร่วมมือต่อต้านคอร์รัปชันในไทยไม่ได้ผล

ปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้การสร้างความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชันของประเทศไทยยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ไม่ว่าจะเป็นทั้งในด้านกลยุทธ์ ด้านโครงสร้าง ด้านแรงจูงใจ ด้านกลไกระหว่างองค์กร และด้านบุคคล …

แล้วที่ผ่านมาเราต่อต้านคอร์รัปชันกันยังไง

“คอร์รัปชัน” และ “การต่อต้านคอร์รัปชัน” ได้ถูกศึกษาและอธิบายถึงลักษณะและความหมายในแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ทั้งในด้านประเด็นและมุมมองที่มีต่อปัญหาผ่านแนวคิดที่หลากหลาย …

ออกแบบเครื่องมือต่อต้านคอร์รัปชันให้เท่าทันการโกง

ในการพัฒนาและออกแบบเครื่องมือต่อต้านการคอร์รัปชันให้มีประสิทธิภาพ จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงหลักการสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ หลักการมีส่วนร่วม หลักความโปร่งใส และหลักความรับผิดชอบ …

You might also like...

บทความวิจัย : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี

เมื่อการกระจายอำนาจกลับกลายเป็นการกระจายการทุจริตสู่ท้องถิ่น เพื่อยับยั้งปัญหาคอร์รัปชันในท้องถิ่น จึงต้องส่งเสริมการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล (กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี)

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I UNODC จับมือไนจีเรียจัดทำรายงานการทุจริตในไนจีเรีย ชี้ “การติดสินบนได้รับการยอมรับน้อยลง”

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า “การทุจริตในไนจีเรีย: รูปแบบและทิศทาง (Corruption in Nigeria: Patterns and Trends)” เป็นการสำรวจเกี่ยวกับการรับรู้การทุจริตของประชาชนในประเทศไนจีเรียจากประสบการณ์ของประชาชน นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์แนวโน้มการทุจริต ประสิทธิภาพของกลยุทธ์ และแนวทางการต่อต้านการทุจริตอีกด้วย

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : โกง (เรื่อง) กิน ฉ่ำๆ หม่ำๆ แบดกาย แบดกายหม่ำๆ

เมื่อวันแม่ที่ผ่านมาหลายๆ ท่านคงพาคุณแม่ไปทานข้าว หรืออาจกลับบ้านไปทานข้าวกับคุณแม่และครอบครัว เพราะสำหรับคนไทยแล้ว “อาหารเป็นเรื่องสำคัญ” ดังนั้นในวันสำคัญการนัดรวมตัวกันกินข้าวจึงเป็นเรื่องจำเป็น