เพื่อสร้างตัวชี้วัดสำหรับการประเมินและติดตามการนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการบริหารจัดการขององค์กรในประเทศไทย พบว่า มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในระดับมาก และยังสามารถปรับปรุงดัชนีชี้วัดบางตัวเพื่อให้สอดคล้องการทำงานของแต่ละหน่วยงานได้
การประเมินและติดตามการนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการบริหารจัดการของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนในประเทศไทยอย่างมีมาตรฐานและต่อเนื่อง จำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาวิจัยเพื่อสร้างกรอบหลักเกณฑ์ และตัวชี้วัดที่ชัดเจนและเป็นกลาง ซึ่งสามารถนำใช้ประกอบการติดตามและประเมินผลการนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในองค์กรภาครัฐทุกระดับของประเทศไทย
จากสาเหตุดังกล่าวจึงนำมาสู่วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้ คือ
- ศึกษา Platform ตัวชี้วัดและเกณฑ์ของ Good Governance Mapping ในการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติขององค์กรภาครัฐ ภาคท้องถิ่น องค์กรภาคเอกชน (ธุรกิจ) และองค์กรไม่แสวงผลกำไร ในประเทศไทย
สร้างและจัดทำ Platform ตัวชี้วัดและเกณฑ์ของ Good Governance Mapping ที่เป็นมาตรฐานในการติดตามความก้าวหน้าขององค์กรภาครัฐ ภาคท้องถิ่น องค์กรภาคเอกชน (ธุรกิจ) และองค์กรไม่แสวงผลกาไร ตามหลักธรรมาภิบาลในประเทศไทยสำหรับรองรับการสร้างฐานข้อมูลด้านธรรมาภิบาลที่เป็นมาตรฐาน และสามารถเชื่อมโยงกับระบบฐานข้อมูล Good Governance Mapping ของสถาบันพระปกเกล้า
ผลการศึกษา พบว่า ตัวชี้วัดและเกณฑ์ของ Good Governance Mapping ที่เป็นมาตรฐานในการติดตามความก้าวหน้าของการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติขององค์กรในประเทศไทย มี 6 องค์ประกอบ คือ 1) หลักนิติธรรม 2) หลักคุณธรรม 3) หลักความโปร่งใส 4) หลักการมีส่วนร่วม 5) หลักสำนึกรับผิดชอบ และ 6) หลักความคุ้มค่า
ประเด็นสำคัญของงานวิจัย
การนำหลักธรรมาภิบาล ซึ่งเป็นหลักการบริหารจัดการที่สามารถทำให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน มาใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาการทุจริตในประเทศไทย จำเป็นต้องมีตัวชี้วัดที่เหมาะสมและเชื่อถือได้เพื่อให้เกิดความถูกต้องในการนำไปใช้
- การวิจัยนี้ ได้แบ่งระยะการวิจัยออกเป็น 4 ระยะ โดยระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเพื่อสร้างกรอบแนวคิดของการวิจัยจากการทบทวนแนวคิดงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถสรุปองค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาลได้ดังนี้ (1) หลักนิติธรรม (2)หลักคุณธรรม (3) หลักความโปร่งใส (4) หลักการมีส่วนร่วม (5) หลักสำนึกรับผิดชอบ (6) หลักความคุ้มค่า หลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (8) หลักองค์กรแห่งการเรียนรู้ (9) หลักการบริหารจัดการ และ (10) หลักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งแต่ละองค์ประกอบ จะมีตัวชี้วัดที่ใช้ตามแต่ละองค์ประกอบ
- ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาตัวชี้วัดและพิจารณาคุณภาพของตัวชี้วัด โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงคุณภาพในกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ และนักวิชาการ จำนวน 12 คน และแบบสอบถามเชิงปริมาณในกลุ่มผู้บริหารสูงสุดหรือตัวแทนขององค์กรที่ได้รับรางวัลธรรมาภิบาล จำนวน 40 คน พบว่า คุณภาพของตัวชี้วัดที่กำหนดทั้งในด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความสอดคล้อง และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก-มากที่สุด และจากการสำรวจเชิงปริมาณในกลุ่มบุคลากรขององค์กรได้รับรางวัลด้านธรรมาภิบาลเพื่อยืนยันความเหมาะสมของตัวชี้วัดฯ จำนวน 260 คน ในระยะที่ 3 ก็พบว่า ความเหมาะสมขององค์ประกอบทั้ง 10 องค์ประกอบอยู่ในระดับมาก
- และระยะที่ 4 เป็นการวิจัยเพื่อการสร้าง Platform ตัวชี้วัดมาตรฐานของ Good Governance Mapping จากผลการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันเพื่อความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบหลักธรรมาภิบาล พบว่า องค์ประกอบหลักธรรมาภิบาลที่มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างกันตั้งแต่ 0.90 ขึ้นไปมีจำนวน 4 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบหลักการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ องค์ประกอบหลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ องค์ประกอบหลักการบริหาร และองค์ประกอบหลักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ดังนั้น จึงควรรวมองค์ประกอบหลักการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้เข้าไว้ในองค์ประกอบหลักคุณธรรม ควรรวมองค์ประกอบหลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เข้าไว้ในองค์ประกอบหลักสำนึกรับผิดชอบ และควรรวมองค์ประกอบหลักการบริหารจัดการและองค์ประกอบหลักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้าไว้ในองค์ประกอบหลักความคุ้มค่าเพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนในการวัดผล จากผลการวิเคราะห์นี้ สรุปว่าองค์ประกอบที่ใช้ใน Platform ตัวชี้วัดมาตรฐานของ Good Governance Mapping ในการติดตามและประเมินผลองค์กรของไทย มีทั้งสิ้น 6 องค์ประกอบ
คณะผู้วิจัย ได้จัดทำข้อเสนอแนะ ดังนี้
- การจัดทำตัวชี้วัดธรรมาภิบาลการบริหารจัดการครั้งนี้ ประกอบด้วยตัวชี้วัดทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ ซึ่งเป็นการประเมินจากผู้บริหาร หัวหน้ากลุ่มงาน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น หากมีการพัฒนาตัวชี้วัดฯ ในอนาคต ควรพิจารณามุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มอื่นเพิ่มเติม
- ความยืดหยุ่นของเกณฑ์การให้ค่าคะแนนของตัวชี้วัด โดยผู้นำไปใช้งานสามารถปรับเปลี่ยน เกณฑ์การให้ค่าคะแนนของตัวชี้วัด เกณฑ์การแปลผลค่า คะแนนการประเมิน เช่น อาจทำให้อยู่ในรูปของแบบมาตราส่วนประมาณค่า ทั้งนี้ การใช้รูปแบบของเกณฑ์ดังกล่าวควรมีลักษณะ/รูปแบบเดียวกันทั้งหมด เพื่อความ สะดวกในการเก็บรวบรวมข้อมูลและการเปรียบเทียบผลการประเมิน
- การปรับปรุงดัชนีชี้วัดในอนาคต โดยภาพรวมแล้วดัชนีชี้วัดที่จัดทำขึ้นในงานวิจัยครั้งนี้ สามารถใช้ได้กับองค์กรทั้งในระดับหน่วยงาน กลุ่มงาน และระดับภาพรวม อย่างไรก็ตาม ผู้ที่นำดัชนีชี้วัดไปใช้สามารถปรับปรุงดัชนีบางตัวเพื่อให้สอดคล้องกับพันธกิจหลักของแต่ละองค์กร
ปิยากร หวังมหาพร และคณะ. (2563). โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (Phase 2). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ปิยากร หวังมหาพร และคณะ
หัวข้อ
โครงการศึกษาพรมแดนและช่องว่างความรู้เรื่องคอร์รัปชันและธรรมาภิบาล เพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2566-2570
ศึกษาพัฒนาการของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลในประเทศไทย เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะต่อแนวทางการสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยในประเด็นคอร์รัปชัน และธรรมาภิบาลในอนาคต
โครงการวิจัยและประสานงานเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน
เพื่อออกแบบงานวิจัยสำหรับแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันบนฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงพัฒนาระบบและเครื่องมือใหม่ในการป้องกันและลดคอร์รัปชันในระดับพื้นที่
โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2
จัดทำข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยเน้นแนวทางการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันจากมุมมองของประชาชน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR) และกระบวนการ Design Thinking เต็มรูปแบบ