บทความวิจัย | การทุจริตเชิงโครงสร้างในระบบเลือกตั้ง

การพิจารณาปัญหาการทุจริตการเลือกตั้งในการเลือกตั้งแต่ละระบบ และปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการทุจริตการเลือกตั้ง เพื่อเป็นข้อมูลและฐานในการถกเถียงเกี่ยวกับระบบการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต

 

ระบบเลือกตั้งเป็นประเด็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่จะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงไปทุกครั้งที่มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ประกาศบังคับใช้ แสดงให้เห็นถึงการขาดระบบการเลือกตั้งซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง โดยการแก้ไขระบบการเลือกตั้งในปัจจุบัน มักมีการพิจารณาประเด็นการทุจริตการเลือกตั้งอันจะนำมาซึ่งผลการเลือกตั้งที่ไม่เป็นไปตามหลักพื้นฐานของระบบการเลือกตั้ง

บทความนี้ จึงต้องการนำเสนอแนวคิดในการพิจารณาระบบการเลือกตั้ง ข้อมูลระบบการเลือกตั้งและการทุจริตที่ได้มีการศึกษาขึ้นในต่างประเทศ เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของระบบเลือกตั้งกับการทุจริตและรวมถึงปัจจัยสำคัญต่างๆ ที่มีผลต่อการทุจริตการเลือกตั้ง เพื่อเป็นข้อมูลและฐานในการถกเถียงเกี่ยวกับระบบการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต

ผลการศึกษาพบว่า การเลือกตั้งระบบเขตเดียวเบอร์เดียวล้วนกับระบบผสมมีการทำผิดเลือกตั้งในระดับที่สูงกว่าระบบสัดส่วนล้วนอย่างมีนัยสำคัญ โดยระดับของการทำผิดเลือกตั้งของแต่ละระบบเรียงตามลำดับคือ ระบบเขตเดียวเบอร์เดียว ระบบผสม และตามด้วยระบบสัดส่วน เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยที่แปรผันตามที่ตั้งของแต่ละกลุ่มประเทศ พบว่า กลุ่มประเทศอดีตสหภาพโซเวียตและอดีตยูโกสลาเวียล้วนมีการทำผิดเลือกตั้งในระดับที่สูงกว่ากลุ่มประเทศในยุโรปกลาง อย่างไรก็ตามเมื่อนำปัจจัยเรื่องระบบการเลือกตั้งและปัจจัยอื่น ๆ เข้ามาใช้พิจารณาร่วมด้วย

ผลการวิเคราะห์ชี้ว่า ประเทศที่ตั้งอยู่ในกลุ่มอดีตสหภาพโซเวียตไม่ได้สัมพันธ์กับระดับของการทำผิดในระดับที่สูงขึ้น แต่ในประเทศที่ตั้งอยู่ในอดีตยูโกสลาเวีย มีโอกาสที่การเลือกตั้งจะอยู่ในระดับที่คุณภาพต่ำกว่า ซึ่งอาจเป็นผลมาจากที่ประเทศต่าง ๆ เหล่านี้ มีประสบการณ์ความขัดแย้งอย่างรุนแรงเป็นผลทำให้กลุ่มชนชั้นนำในสังคมมีความเชื่อมั่นลดลงในกระบวนการเลือกตั้ง

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

preechasinlapakun, somchai. (2020). การทุจริตเชิงโครงสร้างในระบบเลือกตั้ง. King Prajadhipok’sInstitute Journal, 7(1). 

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2563
ผู้แต่ง

รศ. สมชาย ปรีชาศิลปกุล

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการเฝ้าระวังและป้องกันการทุจริตจากนโยบายและโครงการของรัฐ

งานวิจัยนี้ จะพาไปทำความเข้าใจรูปแบบ คุณลักษณะ และวิธีการดำเนินนโยบาย มาตรการ หรือโครงการของรัฐเพื่อหาวิธีการเฝ้าระวังและป้องกันการทุจริตที่เกิดขึ้น

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก

เพื่อประมาณการต้นทุน รายรับ การขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคมของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก และประมาณการผลตอบแทนส่วนเกินที่ตกแก่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์การแสวงหาค่าเช่า และศึกษาการทุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | “รังนก” ก็โกงได้ : ตรวจสอบช่องโหว่กลไกการให้สัมปทานรังนกไทย

ส่องกลไกสัมปทาน เมื่อการทุจริตรังนกอาจทำให้งบรั่วไหล หากไม่มีกลไกการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ แล้วเราจะป้องกันปัญหานี้ได้อย่างไร ? โดย KRAC สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “กระบวนการและการตรวจสอบการให้สัมปทานรังนกในภาคใต้ของประเทศไทย” (2562)

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | คอร์รัปชันในอุตสาหกรรมประมงไทย : ปัญหาที่กระทบเศรษฐกิจ สิทธิมนุษยชน และภาพลักษณ์ประเทศ

จะแก้อย่างไรถ้าอุตสาหกรรมประมงไทยคอร์รัปชัน ? ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมประมงระดับโลกของไทยอีกด้วย โดย KRAC สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์การทุจริตคอร์รัปชันขบวนการเครือข่ายนายหน้าแรงงานข้ามชาติเมียนมาในอุตสาหกรรมประมงต่อเนื่องของประเทศไทย” (2562)

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | เบื้องหลังการทุจริตภาษีศุลกากร: เมื่อบริษัทปลอมกลายเป็นเครื่องมือเลี่ยงภาษี

บริษัทปลอม vs ศุลกากร : หนีภาษีเขาทำกันอย่างไร ? วิธีป้องกันบริษัทปลอม แหล่งหนีภาษาศุลกากรหลักหมื่นล้าน !! กระบวนการเหล่านี้จะเป็นอย่างไร ? แต่ละตัวละครทำหน้าที่อะไร สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “การศึกษากลุ่มอิทธิพลซึ่งนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบ: กรณีศึกษาการทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีศุลกากรในประเทศไทย” (2561)