บทความวิจัย | การประยุกต์ใช้หลักศีล 5 เพื่อพัฒนาพฤติกรรมของผู้นําหมู่บ้านในเขตอําเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี

การศึกษาพฤติกรรมของผู้นำหมู่บ้านอำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี พบว่ามีการละเมิดศีลธรรม ดังนั้น เพื่อพัฒนาพฤติกรรมของผู้นำหมู่บ้าน จึงควรนำหลักศีลห้ามาปรับใช้ ควบคู่กับหลัก 3วม คือ ร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมรับผิดชอบ 

 

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) หลักศีลห้า 2) สภาพปัญหาพฤติกรรมของผู้นําหมู่บ้านและ 3)การประยุกต์ใช้หลักศีลห้า เพื่อพัฒนาพฤติกรรมของผู้นําหมู่บ้านในเขตอำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี  

 

ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัญหาพฤติกรรมของผู้นําหมู่บ้านมีการละเมิดศีลข้อที่ 1 เพราะการทะเลาะวิวาทส่วนการฆ่าสัตว์มุ่งเพื่อเป็นอาหาร การละเมิดศีลข้อที่ 2 เพราะปัจจัยอื่น เช่น ปัญหาครอบครัวและค่านิยมที่ผิด การละเมิดศีลข้อที่ 3 เพราะความฟุ้งเฟ้อในด้านวัตถุนิยม การละเมิดศีลข้อที่ 4 ส่วนมากจะเป็นการกล่าวคำเท็จเล็ก น้อย เพื่อความสบายใจของครอบครัว ส่วนการละเมิดศีลข้อที่ 5 พบว่ามีการติดสุราและยาเสพติดด้วย

 

สำหรับการประยุกต์ใช้หลักศีลห้าเพื่อพัฒนาพฤติกรรมของผู้นําหมู่บ้านต้องดำเนินการโดยการร่วมมือกันภายในชุมชนทั้งผู้นำชุมชนพระสงฆ์ประชาชนและโรงเรียน มี 3 ขั้นตอนคือ 1) การมีส่วนร่วมในขั้นเตรียมการ (ร่วมคิด) 2) การมีส่วนร่วมในขั้นดําเนินการ (ร่วมทํา) และ 3) การมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผลและเผยแพร่ผลการดําเนินงาน (ร่วมรับผิดชอบ) 

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

พระมหาธนพล ขนฺติธมฺโม และคณะ. (2564). การประยุกต์ใช้หลักศีล 5 เพื่อพัฒนาพฤติกรรมของผู้นําหมู่บ้านในเขตอําเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี. Journal of Modern Learning Development, 6(4), 227-240.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2564
ผู้แต่ง
  • พระมหาธนพล ขนฺติธมฺโม 
  • พระมหาประทีป อภิวฑฺฒโน  
  • สมเดช นามเกตุ 
วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการวิจัยและประสานงานเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน

เพื่อออกแบบงานวิจัยสำหรับแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันบนฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงพัฒนาระบบและเครื่องมือใหม่ในการป้องกันและลดคอร์รัปชันในระดับพื้นที่

โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2

จัดทำข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยเน้นแนวทางการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันจากมุมมองของประชาชน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR) และกระบวนการ Design Thinking เต็มรูปแบบ

โครงการวิจัยการสังเคราะห์รูปแบบ กลไกและแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ศึกษาพัฒนาการของรูปแบบ กลไก และแนวทางการปลูกฝังเจตคติ และวัฒนธรรมสุจริตที่มีผลต่อการป้องกันการทุจริตของไทย และศึกษากรณีของต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อไป

You might also like...

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : พัฒนาทักษะการสื่อสารด้านการต่อต้านคอร์รัปชันผ่านการกระทำเชิงสัญลักษณ์

สัญลักษณ์ มักถูกใช้ในการเรียกสิ่งหนึ่งแทนการเรียกตรงๆ โดยอาจจะเกิดจากการเปรียบเทียบหรือการตีความออกมาเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ได้ ซึ่งนับเป็นการสื่อสารรูปแบบหนึ่งที่มนุษย์ใช้กันนอกเหนือจากการเขียนข้อความ ในสังคมของเรามีการใช้สัญลักษณ์ในการสื่อสารให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | การสร้างชุมชนที่โปร่งใสต้องเริ่มต้นที่ตรงไหน จึงจะสำเร็จ ?

“พลังของชุมชน” สามารถเป็นด่านแรกในการป้องกันการทุจริตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อชุมชนมีระบบภายในที่เข้มแข็งและประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ทำไมครูและสื่อมวลชนถึงมีความสำคัญในการป้องกันการคอร์รัปชัน

คุณอาจจะคุ้นเคยกับกฎหมายต่อต้านคอร์รัปชันที่มุ่งเป้าไปที่การลงโทษนักการเมืองหรือข้าราชการที่ทุจริต แต่เคยได้ยินไหมว่ามีกฎหมายต่อต้านคอร์รัปชันที่ครอบคลุมไปถึง “ครู” และ “สื่อมวลชน” ด้วย ?