แนวทางในการส่งเสริมหลักสูตรด้านคุณธรรมจริยธรรมเพื่อต่อต้านการทุจริตในสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา ควรมีการกําหนดหลักการ กระบวนการ และแนวปฏิบัติอย่างชัดเจน และควรมีแผนการเรียนรู้และสื่อการสอนที่สอดคล้องกับบริบทของผู้เรียนในสถานศึกษา
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอน 2) ออกแบบและสร้างคู่มือ 3) ประเมินคุณภาพคู่มือ และ 4) นิเทศติดตามผลการใช้คู่มือแนวทางการนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ สำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษา เป็นการวิจัยและพัฒนา
โดยวิธีการศึกษาแบบสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพและแนวทางในการส่งเสริมและหลักสูตรด้านคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษา การออกแบบคู่มือหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา และการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของคู่มือฯ จากการสำรวจความพึงพอใจด้วยแบบสอบถามในสถานศึกษาที่ได้ทดลองใช้คู่มือฯ ที่ได้รับการออกแบบในปีการศึกษา 2654 จํานวน 10 แห่งที่เข้าร่วมโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษาที่มีแนวปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดี โดยสำรวจผู้บริหารสถานศึกษา จํานวนแห่งละ 1 คน ครูจํานวนแห่งละ 4 คน และผู้ปกครองจํานวนแห่งละ 2 คน รวมจํานวนแห่งละ 7 คน รวมทั้งสิ้น จํานวน 70 คน
ผลการศึกษา พบว่า สภาพและแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอนด้านคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา ควรกําหนดหลักการส่งเสริมด้านคุณธรรมและจริยธรรมต้านทุจริตในสถานศึกษาระดับ กระบวนการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา แนวปฏิบัติในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมในสถานศึกษา และแผนการจัดการเรียนรู้และสื่อการสอนที่สอดคล้องกับบริบทของผู้เรียนในสถานศึกษา
หลังจากมีการออกแบบคู่มือหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาในสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษาและประเมินผลการใช้งาน พบว่า คุณภาพคู่มือฯ ด้านรูปเล่มอยู่ในระดับมาก ด้านเนื้อหาและด้านประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด และผลการนิเทศติดตามผลการใช้งานคู่มือฯ พบว่า ครูมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ขณะที่ผู้บริหาร ครู และผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อกระบวนการนิเทศติดตามการใช้งานคู่มือฯ อยู่ในระดับมาก
รูปแบบ APA
สันติ ทองแก้วเกิด. (2565). การพัฒนาคู่มือแนวทางการนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้สำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษา. วารสารวิจยวิชาการ, 6(4), 307–324.
- สันติ ทองแก้วเกิด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
หัวข้อ
โครงการวิจัยและประสานงานเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน
เพื่อออกแบบงานวิจัยสำหรับแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันบนฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงพัฒนาระบบและเครื่องมือใหม่ในการป้องกันและลดคอร์รัปชันในระดับพื้นที่
โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2
จัดทำข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยเน้นแนวทางการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันจากมุมมองของประชาชน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR) และกระบวนการ Design Thinking เต็มรูปแบบ
โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (Phase 2)
การศึกษาเพื่อสร้างตัวชี้วัดสำหรับการประเมินและติดตามการนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการบริหารจัดการขององค์กรในประเทศไทย พบว่า มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในระดับมาก และยังสามารถปรับปรุงดัชนีชี้วัดบางตัวเพื่อให้สอดคล้องการทำงานของแต่ละหน่วยงานได้