บทความวิจัย | การพัฒนารูปแบบการป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

จากการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลทำให้เกิดการป้องกันการทุจริต ขณะที่ภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาศักยภาพชุมชนส่งผลให้เกิดการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล 

 

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ประกอบด้านการป้องกันการทุจริต และเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน (mixed-method research) ดำเนินการโดยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้มีประสบการณ์จำนวน 7 คน และวิธีวิจัยเชิงปริมาณโดยการใช้แบบสอบถามเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดขอนแก่น เทศบาลตำบลท่าพระ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกง และเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จำนวน 250 ชุด และประชาชนในพื้นที่ จำนวน 250 ชุด 

 

ผลการศึกษา พบว่า องค์ประกอบด้านการป้องกันการทุจริต คือการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาศักยภาพชุมชน โดยการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลมีอิทธิพลทางตรงต่อการป้องกันการทุจริตการทุจริต ในขณะที่ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาศักยภาพชุมชนมีอิทธิพลทางตรงต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

ธิดารักษ์ ลือชา. (2563). การพัฒนารูปแบบการป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(1), 128142.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2563
ผู้แต่ง

ธิดารักษ์ ลือชา

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก

เพื่อประมาณการต้นทุน รายรับ การขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคมของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก และประมาณการผลตอบแทนส่วนเกินที่ตกแก่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์การแสวงหาค่าเช่า และศึกษาการทุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง

You might also like...

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : พัฒนาทักษะการสื่อสารด้านการต่อต้านคอร์รัปชันผ่านการกระทำเชิงสัญลักษณ์

สัญลักษณ์ มักถูกใช้ในการเรียกสิ่งหนึ่งแทนการเรียกตรงๆ โดยอาจจะเกิดจากการเปรียบเทียบหรือการตีความออกมาเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ได้ ซึ่งนับเป็นการสื่อสารรูปแบบหนึ่งที่มนุษย์ใช้กันนอกเหนือจากการเขียนข้อความ ในสังคมของเรามีการใช้สัญลักษณ์ในการสื่อสารให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | การสร้างชุมชนที่โปร่งใสต้องเริ่มต้นที่ตรงไหน จึงจะสำเร็จ ?

“พลังของชุมชน” สามารถเป็นด่านแรกในการป้องกันการทุจริตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อชุมชนมีระบบภายในที่เข้มแข็งและประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ทำไมครูและสื่อมวลชนถึงมีความสำคัญในการป้องกันการคอร์รัปชัน

คุณอาจจะคุ้นเคยกับกฎหมายต่อต้านคอร์รัปชันที่มุ่งเป้าไปที่การลงโทษนักการเมืองหรือข้าราชการที่ทุจริต แต่เคยได้ยินไหมว่ามีกฎหมายต่อต้านคอร์รัปชันที่ครอบคลุมไปถึง “ครู” และ “สื่อมวลชน” ด้วย ?