บทความวิจัย | การพัฒนารูปแบบและวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน

การตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นเครื่องมือสำคัญในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ได้กำหนดให้มีระบบการแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สินไว้  

 

อย่างไรก็ดี พบว่ายังมีบุคคลที่จงใจไม่ยื่นหรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินเป็นเท็จหรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ รวมทั้งระบบการตรวจสอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติปรากฏบัญชีค้างตรวจอยู่จำนวนมาก ส่งผลให้กระบวนการตรวจสอบขาดประสิทธิภาพและไม่บรรลุเจตนารมณ์ของกฎหมาย  

 

ผลการศึกษาพบว่า เพื่อให้การตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินมีประสิทธิภาพ ควรกำหนดให้เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกประเภทมีหน้าที่ในการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินและใช้ระบบการตรวจสอบเมื่อมีข้อสงสัยและในกรณีตำแหน่งที่มีความเสี่ยงสูง โดยใช้ระบบฐานข้อมูลสารสนเทศมาช่วยในกระบวนการยื่นและกระบวนการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน และมีการเชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน การเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองทุกระดับและเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับสูงเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าตรวจสอบได้เพื่อนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ 

 

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

พัชรวรรณ นุชประยูร และอมรรัตน์ กุลสุจริต. (2561). การพัฒนารูปแบบและวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 47(3), 647682.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2561
ผู้แต่ง
  • พัชรวรรณ นุชประยูร 
  • อมรรัตน์ กุลสุจริต 
วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2

จัดทำข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยเน้นแนวทางการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันจากมุมมองของประชาชน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR) และกระบวนการ Design Thinking เต็มรูปแบบ

อิทธิพลของเสรีภาพสื่อมวลชนต่อการคอร์รัปชันในสังคมไทย

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเสรีภาพสื่อมวลชนไทยกับการคอร์รัปชันในสังคมไทย ด้วยวิธีการวิเคราะห์ทางสถิติและการสัมภาษณ์นักวิชาการและนักวิชาชีพสื่อมวลชน

ปัญหาการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง: สำนักตรวจสอบทรัพย์สินภาคการเมือง

การตรวจสอบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินมีปัญหาหลายด้าน ทั้งปัญหาที่เกิดจากผู้ยื่นบัญชีทรัพย์สิน ปัญหาที่เกิดจากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบทรัพย์สิน ปัญหาที่เกิดจากกระบวนการตรวจสอบ และปัญหาด้านกำลังคน จึงต้องเร่งหาแนวทางแก้ไขอุปสรรคในการตรวจชอบบัญชีทรัพย์สินฯ

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | เบื้องหลังการทุจริตภาษีศุลกากร: เมื่อบริษัทปลอมกลายเป็นเครื่องมือเลี่ยงภาษี

บริษัทปลอม vs ศุลกากร : หนีภาษีเขาทำกันอย่างไร ? วิธีป้องกันบริษัทปลอม แหล่งหนีภาษาศุลกากรหลักหมื่นล้าน !! กระบวนการเหล่านี้จะเป็นอย่างไร ? แต่ละตัวละครทำหน้าที่อะไร สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “การศึกษากลุ่มอิทธิพลซึ่งนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบ: กรณีศึกษาการทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีศุลกากรในประเทศไทย” (2561)

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : เมื่อชีวิตมีแค่ทางเลือกที่แย่กับแย่น้อยกว่า: ปัญหามลพิษในประเทศไทยหนักแค่ไหน ?

รู้หรือไม่ว่าในชีวิตประจำวันของคนไทย การตัดสินใจง่ายๆ อย่างการเปิดหรือปิดหน้าต่างกลับสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของคุณภาพชีวิตและปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ผู้เขียนจึงอยากเชิญชวนให้ผู้อ่านทุกท่านทำความเข้าใจปัญหามลพิษในอากาศจากก๊าซเรดอนในอาคาร ปัญหาฝุ่นควัน PM2.5 และความสำคัญของการบริหารจัดการของภาครัฐ ผ่านพฤติกรรมง่ายๆ อย่างการเปิดหรือปิดหน้าต่าง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | แก้เกมฟอกเงิน แก้โกงงบประมาณ

ปัญหาฟอกเงินไทย อะไรคือจุดอ่อน ? ชวนสำรวจแนวทางการป้องกันฟอกเงินด้วยการแก้กฎหมายบางมาตรา และสร้างความร่วมมือเพื่อให้เกิดความโปร่งใส จากงานวิจัยเรื่อง การต่อต้านการคอร์รัปชัน: มาตรการการควบคุมการเคลื่อนไหวของเงิน (2558)