KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | แก้เกมฟอกเงิน แก้โกงงบประมาณ

“การฟอกเงิน” คืออะไร

“การฟอกเงิน” คือกระบวนการที่ผู้กระทำผิดพยายามเปลี่ยนเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการทำผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจสีเทา อาชญากรรม หรือการคอร์รัปชัน ให้กลายเป็นทรัพย์สินที่ดูเหมือนถูกกฎหมาย

 

ซึ่งการกระทำนี้ไม่เพียงแต่ทำให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ แต่ยังเป็นการสร้างเครือข่ายการคอร์รัปชันและการทุจริตเชิงระบบที่รุนแรงยิ่งขึ้นในสังคม เป็นปัญหาระดับชาติที่ส่งผลกระทบทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ

 

จากปัญหาข้างต้นเป็นที่มาของงานวิจัยเรื่อง “การต่อต้านการคอร์รัปชัน: มาตรการการควบคุมการเคลื่อนไหวของเงิน ” ที่จัดทำโดย “สังศิต พิริยะรังสรรค์ และคณะ (2558) โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษารูปแบบการคอร์รัปชันและการฟอกเงิน เพื่อเสนอมาตรการในการจํากัดหรือควบคุมการฟอกเงิน โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน ด้วยการค้นคว้าเอกสาร และการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่ง KRAC ได้สรุปผลการศึกษามาให้ทุกท่านได้อ่านกัน 

สถานการณ์การฟอกเงินในประเทศไทย

จากการศึกษาวิจัย พบว่า การคอร์รัปชันในประเทศไทยไม่ได้จำกัดเพียงแค่ภาครัฐ แต่ได้แพร่กระจายไปสู่ภาคธุรกิจและการเมืองมากขึ้น ในปัจจุบันการคอร์รัปชันมีหลากหลายรูปแบบ เช่น “การคอร์รัปชันทางเศรษฐกิจ”การคอร์รัปชันทางการเมือง” และ “การคอร์รัปชันในการบริหารราชการ” ที่สามารถเห็นได้ทั่วไปตั้งแต่ท้องถิ่นจนถึงระดับชาติ โดยส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง 

 

ส่วนในกรณีของการฟอกเงิน งานวิจัย พบว่า ผู้ที่กระทำผิดยังคงใช้วิธีการฟอกเงินแบบดั้งเดิมอยู่ แม้ว่าจะมีการพัฒนามาตรการทางกฎหมายและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้นเพื่อควบคุมการฟอกเงิน ตัวอย่างเช่น การเก็บเงินสดไว้ในบ้านหรือสถานที่ปลอดภัย และการแปลงเงินเป็นทรัพย์สินมีค่า เช่น พระเครื่อง วัตถุโบราณ หรือทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูง 

สำรวจมาตรการของไทยที่มีอยู่

รัฐบาลไทยในปัจจุบันก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ มีการดำเนินหลายมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำมาตรการสากลมาใช้ ตัวอย่างเช่น

 

  • การกำหนดให้สถาบันการเงินต้องรายงานธุรกรรมที่มีมูลค่าสูง และธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย
  • การบังคับใช้ระบบ “Know Your Customer” (KYC) ซึ่งกำหนดให้ธนาคารและสถาบันการเงินต้องยืนยันตัวตนลูกค้าก่อนทำธุรกรรม

 

มาตรการเหล่านี้ เป็นมาตรฐานที่ใช้ในหลายประเทศทั่วโลกเพื่อควบคุมการฟอกเงิน แต่ในช่วงเวลาที่งานวิจัยได้ทำการศึกษา พบว่า ประสิทธิภาพในการบังคับใช้มาตรการเหล่านี้ยังมีข้อจำกัดในบางประการ เช่น การรายงานธุรกรรมที่ไม่ครอบคลุมทุกประเภทของการฟอกเงิน และการขาดการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้กระบวนการป้องกันการฟอกเงินในบางกรณียังคงมีช่องโหว่อยู่

ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาการฟอกเงิน

จากปัญหาการฟอกเงิน งานวิจัยเสนอแนะว่าการจะแก้ไขปัญหาการฟอกเงินได้ จำเป็นต้องมีการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ซึ่งควรแก้ไขให้สอดคล้องกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงของผู้กระทำความผิดในยุคปัจจุบัน

 

เช่น การขยายความครอบคลุมไปยังการฟอกเงินจากกิจกรรมผิดกฎหมายประเภทใหม่ ๆ เช่น การหลีกเลี่ยงภาษีและการค้ามนุษย์ นอกจากนี้ยังเสนอให้มีการย้ายหน่วยงานที่ดูแลเรื่องการเงินและการวิเคราะห์ข้อมูลการเงินไปอยู่ภายใต้กระทรวงการคลังเพื่อเพิ่มความโปร่งใสในการดำเนินงาน

 

โดยคณะผู้วิจัยคิดว่าถ้านำมาตรการที่เสนอมาใช้จริง จะส่งผลดีหลายด้าน ทั้งเศรษฐกิจ การเมือง และความเชื่อมั่นของประชาชน การควบคุมเงินสดจากธุรกรรมผิดกฎหมายอย่างเข้มงวดขึ้น จะช่วยลดการนำเงินจากการฟอกเงินไปใช้ในกิจกรรมที่เป็นปัญหาต่อสังคม

 

เช่น การโกงหรือสนับสนุนอาชญากรรมระหว่างประเทศ การปรับปรุงกฎหมายและมาตรการใหม่จะทำให้ระบบการเงินโปร่งใสขึ้น และลดเงินจากกิจกรรมผิดกฎหมาย ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนและธุรกิจต่างประเทศ

ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนสำคัญที่สุด

ปัญหาการฟอกเงินเป็นปัญหาที่ซับซ้อนและมีผลกระทบหลายด้าน การแก้ไขปัญหานี้จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ตั้งแต่ภาครัฐ ภาคธุรกิจ ไปจนถึงภาคประชาชน ซึ่งถ้าเดินไปตามมาตรการที่ถูกต้องก็จะเป็นก้าวสำคัญในการแก้ไขปัญหาการฟอกเงินในประเทศไทย ลดการคอร์รัปชัน และสร้างสังคมที่มีความโปร่งใสมากขึ้น

 

งานวิจัยเรื่อง  “การต่อต้านการคอร์รัปชัน: มาตรการการควบคุมการเคลื่อนไหวของเงิน” โดย สังศิต พิริยะรังสรรค์ และคณะ (2558) ยังมีรายละเอียดอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เช่น แนวคิดเรื่องการฟอกเงิน หรือมาตรการการป้องกันการฟอกเงินในต่างประเทศ โดยสามารถอ่านสรุปประเด็นสำคัญของงานวิจัยได้ที่ลิงก์ด้านล่าง

คอลัมน์ “KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย” เป็นบทความเล่างานวิจัยไทยด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน ที่หยิบยกหนึ่งในประเด็นของงานวิจัยในมุมมองของผู้ปฏิบัติการ เพื่อปูพื้นฐานความรู้และความเข้าใจเรื่องการคอร์รัปชัน และการต่อต้านคอร์รัปชันในมิติต่าง ๆ ภายใต้บริบทของประเทศไทย

ที่มา

สังศิต พิริยะรังสรรค์, ศรัณย์ ธิติลักษณ์ และนิดาวรรณ เพราะสุนทร. (2558). การต่อต้านการคอร์รัปชัน: มาตรการการควบคุมการเคลื่อนไหวของเงิน. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา: กรุงเทพฯ.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2568
ผู้แต่ง

ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค

หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | แก้เกมฟอกเงิน แก้โกงงบประมาณ

ปัญหาฟอกเงินไทย อะไรคือจุดอ่อน ? ชวนสำรวจแนวทางการป้องกันฟอกเงินด้วยการแก้กฎหมายบางมาตรา และสร้างความร่วมมือเพื่อให้เกิดความโปร่งใส จากงานวิจัยเรื่อง การต่อต้านการคอร์รัปชัน: มาตรการการควบคุมการเคลื่อนไหวของเงิน (2558)

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | เบื้องหลังการทุจริตภาษีศุลกากร: เมื่อบริษัทปลอมกลายเป็นเครื่องมือเลี่ยงภาษี

บริษัทปลอม vs ศุลกากร : หนีภาษีเขาทำกันอย่างไร ? วิธีป้องกันบริษัทปลอม แหล่งหนีภาษาศุลกากรหลักหมื่นล้าน !! กระบวนการเหล่านี้จะเป็นอย่างไร ? แต่ละตัวละครทำหน้าที่อะไร สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “การศึกษากลุ่มอิทธิพลซึ่งนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบ: กรณีศึกษาการทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีศุลกากรในประเทศไทย” (2561)

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I ประเทศแรกในเอเชียแปซิฟิกที่ทำตาม “40 ข้อแนะนำ” ขององค์กรป้องกันปราบปรามการฟอกเงินได้สำเร็จ

เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา Nyambaatar รัฐมนตรีของประเทศมองโกเลียได้ประกาศถึงความสำเร็จของการเป็นประเทศแรกในเอเชียแปซิฟิก และเป็น 1 ใน 5 ประเทศของโลกที่ประสบความสำเร็จในการทำตาม “40 ข้อแนะนำ” ของ Financial Action Task Force (FATF) …

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | “รังนก” ก็โกงได้ : ตรวจสอบช่องโหว่กลไกการให้สัมปทานรังนกไทย

ส่องกลไกสัมปทาน เมื่อการทุจริตรังนกอาจทำให้งบรั่วไหล หากไม่มีกลไกการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ แล้วเราจะป้องกันปัญหานี้ได้อย่างไร ? โดย KRAC สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “กระบวนการและการตรวจสอบการให้สัมปทานรังนกในภาคใต้ของประเทศไทย” (2562)

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | คอร์รัปชันในอุตสาหกรรมประมงไทย : ปัญหาที่กระทบเศรษฐกิจ สิทธิมนุษยชน และภาพลักษณ์ประเทศ

จะแก้อย่างไรถ้าอุตสาหกรรมประมงไทยคอร์รัปชัน ? ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมประมงระดับโลกของไทยอีกด้วย โดย KRAC สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์การทุจริตคอร์รัปชันขบวนการเครือข่ายนายหน้าแรงงานข้ามชาติเมียนมาในอุตสาหกรรมประมงต่อเนื่องของประเทศไทย” (2562)

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | เบื้องหลังการทุจริตภาษีศุลกากร: เมื่อบริษัทปลอมกลายเป็นเครื่องมือเลี่ยงภาษี

บริษัทปลอม vs ศุลกากร : หนีภาษีเขาทำกันอย่างไร ? วิธีป้องกันบริษัทปลอม แหล่งหนีภาษาศุลกากรหลักหมื่นล้าน !! กระบวนการเหล่านี้จะเป็นอย่างไร ? แต่ละตัวละครทำหน้าที่อะไร สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “การศึกษากลุ่มอิทธิพลซึ่งนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบ: กรณีศึกษาการทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีศุลกากรในประเทศไทย” (2561)