KRAC Insight | Data Standard: การสร้างมาตรฐานข้อมูล ที่ต่อยอดสู่การต่อต้านคอร์รัปชัน

Data Standard : การสร้างมาตรฐานข้อมูล ที่ต่อยอดสู่การต่อต้านคอร์รัปชัน

จากครั้งที่แล้วที่เราได้พูดเล่าถึงความสำคัญของการเปิดข้อมูล (Open data) เพื่อการต่อต้านคอร์รัปชัน รวมถึงนิยามต่าง ๆ ของบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมืองหรือ Politically Exposed Persons (PEPs) ซึ่งสามารถย้อนกลับไปอ่านได้ที่ 👉 KRAC Insight | PEPs: จาก Open Data สู่การพัฒนาการต่อต้านคอร์รัปชันระดับภูมิภาค

ครั้งนี้เราจะมาเล่าการจัดการข้อมูลให้เป็นมาตรฐาน (Data Standard) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและสามารถต่อยอดไปสู่การเชื่อมโยงข้อมูลของบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง (PEPs)

 

ซึ่งเป็นผลการศึกษาของเครือข่ายความร่วมมือระหว่างองค์กรภาคประชาสังคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อต่อต้านคอร์รัปชัน (SEA-ACN) บรรยายโดย วิถี ภูษิตาศัย ผู้ร่วมก่อตั้ง และหัวหน้าฝ่ายเทคนิค จากบริษัท WeVis ที่จะมาเล่าถึง

1. ความสำคัญของ Data standard เชื่อมโยงกับ PEPs
2. การสร้าง Data Standard
3. ความท้าทายในการสร้าง Data Standard


ซึ่งทั้ง 3 หัวข้อนี้จะทำให้คุณรู้จักกับมาตรฐานข้อมูลมากขึ้น !

การมีมาตรฐานข้อมูล (Data Standard) จะช่วยแก้ปัญหาคอร์รัปชันอย่างไร ?

ในยุคที่ข้อมูลมีบทบาทสำคัญในการสร้างความโปร่งใสและการป้องกันการทุจริต “การกำหนดมาตรฐานข้อมูล (Data Standard)” กลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญ โดยเฉพาะเมื่อต้องจัดการกับข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง (Politically Exposed Persons : PEPs ) ซึ่งอาจมีความเสี่ยงในการพัวพันกับการฟอกเงินหรือการคอร์รัปชัน

โดยคุณวิถี ภูษิตาศัย ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า การมีมาตรฐานข้อมูล (Data Standard) จะมีส่วนในการแก้ปัญหาคอร์รัปชันดังนี้

  1. เราสามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากหลายแหล่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยกตัวอย่างเช่น การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างประเทศไทยและมาเลเซีย หากทั้งสองประเทศใช้มาตรฐานข้อมูลแบบเดียวกัน จะสามารถระบุความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลสำคัญในแต่ละประเทศได้ง่ายขึ้น
  2. การมีมาตรฐานข้อมูลที่ชัดเจนทำให้เครื่องมือและโคด (code) ที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลสามารถใช้งานร่วมกันได้ โดยไม่ต้องพัฒนาใหม่ทั้งหมด ช่วยลดความซับซ้อนในการวิเคราะห์ข้อมูล และเพิ่มความรวดเร็วในการตรวจสอบกรณีทุจริต
  3. ส่งผลให้การดำเนินงานขององค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการคอร์รัปชันมีความคล่องตัวมากขึ้น

ถ้าอยากสร้าง Data Standard ต้องเริ่มต้นอย่างไร ?

การสร้างมาตรฐานข้อมูลเริ่มต้นจากการศึกษาและปรับใช้มาตรฐานที่มีอยู่แล้วในระดับสากล หนึ่งในมาตรฐานที่ WeVis นำมาใช้เพื่อพัฒนา คือ Popolo ซึ่งเป็นมาตรฐานข้อมูลที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ อีกทั้ง องค์กรต่างประเทศต่าง ๆ เช่น g0v จากไต้หวัน หรือ MySociety จากสหราชอาณาจักรก็ใช้งานมาตรฐานนี้เช่นกัน

ทีม Wevis ได้ยกตัวอย่างการใช้มาตรฐานข้อมูลที่ใช้บนแพลตฟอร์ม wevis.info/parliamentwatch ที่ช่วยให้ประชาชนสามารถติดตามการทำงานของรัฐสภาไทย โดยใช้มาตรฐานโดยแบ่งมาตรฐานข้อมูลออกเป็น 5 ตารางเพื่อจัดระเบียบข้อมูลโดยแต่ละคอลัมน์จะมีคำจำกัดความที่ชัดเจน

 

  • Person: แสดงรายละเอียดของบุคคล เช่น ชื่อ ตำแหน่ง
  • Organization: ระบุองค์กรที่บุคคลเกี่ยวข้อง เช่น รัฐสภา พรรคการเมือง
  • Post: กำหนดตำแหน่งในองค์กร เช่น สมาชิกสภา ผู้นำพรรค
  • Membership: เชื่อมโยงบุคคลกับตำแหน่งในองค์กร
  • Relationship: ระบุความสัมพันธ์อื่น ๆ เช่น ครอบครัว หรือหุ้นส่วนธุรกิจ

 

การสร้างมาตรฐานที่ดีต้องเน้นความง่ายต่อการใช้งาน ความชัดเจน และการปรับใช้ได้หลากหลาย รวมถึงการรองรับหลายภาษาเพื่อให้ข้อมูลสามารถเชื่อมโยงกันได้ทั้งในระดับท้องถิ่นและนานาชาติ

ความท้าทายของการสร้าง Data Standards คืออะไร ?

แม้มาตรฐานข้อมูลจะมีประโยชน์มากมาย แต่กระบวนการพัฒนาก็ยังมีความท้าทายอีกหลายประเด็น ซึ่งคุณวิถี ภูษิตาศัย จาก WeVis ได้กล่าวไว้ ได้แก่

  1. การเข้าถึงข้อมูล: ฐานข้อมูลที่เป็นศูนย์กลาง (Centralized database) ยังมีอยู่อย่างจำกัด ข้อมูลส่วนใหญ่มักต้องรวบรวมด้วยตนเองจากแหล่งต่าง ๆ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้เวลามาก

  2. ภาษาสากล : การจัดทำข้อมูลที่รองรับได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะการแปลชื่อคนหรือองค์กรที่ไม่มีมาตรฐานการสะกดที่ตายตัว เช่น ชื่อในพาสปอร์ตอาจไม่ตรงกับชื่อที่ปรากฏในเอกสารอื่น ๆ

  3. การดูแลและปรับปรุงข้อมูล: การจัดการข้อมูลให้ทันสมัยและถูกต้องอยู่เสมอ เป็นอีกหนึ่งการจัดการที่ใช้ทรัพยากรสูง โดยเฉพาะเมื่อข้อมูลส่วนใหญ่มาจากแหล่งที่ต้องการการอัปเดตอย่างต่อเนื่อง

การแก้ไขปัญหาเหล่านี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย เช่น การสร้างฐานข้อมูลร่วมกันในระดับภูมิภาค การพัฒนาระบบที่สามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลได้อัตโนมัติ และการสนับสนุนจากภาครัฐในการจัดหาและเปิดเผยข้อมูลอย่างเป็นระบบ

แต่ไม่ว่าจะมีความท้าทายมากแค่ไหน การสร้างมาตรฐานข้อมูล (Data Standards) ก็นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่า เมื่อเทียบกับผลประโยชน์ที่จะได้ในอนาคต เช่น การตรวจสอบข้อมูลการทุจริตที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ รวมถึงขอบเขตที่จะเชื่อมโยงข้อมูลไปได้ไกลระดับนานาชาติ

มาตรฐานข้อมูลจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันและสร้างสังคมที่โปร่งใส

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
5 กุมภาพันธ์ 2568
ผู้แต่ง

ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค

หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC Insight | เเค่เปิดเผยข้อมูลอาจไม่พอ (?) เพราะต้องมีการวางให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน !

พัฒนามาตรฐานของชุดข้อมูลอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ? วันนี้เรามีคำตอบมาให้จากงาน “The Southeast Asian Anti-Corruption Network (SEA-ACN) Roundtable Discussion”

KRAC Insight | รู้จัก PEPs เครื่องมือช่วยประชาชนสืบค้นข้อมูลการโกง เชื่อมโยงเครือข่ายคอร์รัปชัน

รู้จัก PEPs เครื่องมือช่วยประชาชนสืบค้นข้อมูลการโกง เชื่อมโยงเครือข่ายคอร์รัปชัน จากทีม Open Data ของเครือข่าย “SEA-ACN”

KRAC Insight | PEPs: จาก Open Data สู่การพัฒนาการต่อต้านคอร์รัปชันระดับภูมิภาค

KRAC ชวนดูผลการศึกษาจากทีม Open Data ของเครือข่าย SEA-AC เพื่อพัฒนา Politically Exposed Persons (PEPs) ในการติดตามและเปิดโปงเครือข่ายคอร์รัปชันในระดับภูมิภาค

You might also like...

KRAC Hot News I อุบัติเหตุการก่อสร้างตามแนวถนนพระราม 2: ภาพสะท้อนปัญหาธรรมาภิบาลโครงการก่อสร้างภาครัฐไทย

อุบัติเหตุซ้ำซากบนถนนพระราม 2 ถึงเวลาปฏิรูป! ระบบจัดซื้อจัดจ้างต้องโปร่งใส ประชาชนต้องเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย และต้องมีมาตรการป้องกันและลงโทษที่จริงจังกันเสียที

KRAC Hot News I ผู้หญิงไม่เพียงแต่ถูกเรียกสินบน… แต่ยังถูกขอเรื่องเซ็กส์ด้วย

งานวิจัยจาก Transparency International เผยว่า “เพศ” ส่งผลต่อรูปแบบการเผชิญกับคอร์รัปชัน! เพราะผู้หญิงอาจถูกบังคับให้จ่ายสินบนทางเพศ หรือถูกละเมิดโดยเจ้าหน้าที่ที่ใช้อำนาจในทางมิชอบ

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ปิดช่องโหว่ดุลพินิจ ปิดช่องทางทุจริตในไทย

“ดุลพินิจ” อำนาจรัฐ หรือช่องว่างที่ทำให้เกิดการทุจริต ? KRAC ชวนถอดบทเรียนการแก้ปัญหาโกงจากการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐจากกงานวิจัยเรื่อง การแสวงหาผลประโยชน์ จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ (2560)