บทความวิจัย | ความย้อนแย้งของสหกรณ์ออมทรัพย์ดีเด่นในประเทศไทยกับปัญหาคอร์รัปชัน

จากการศึกษาพบว่า แม้สหกรณ์ออมทรัพย์ที่เคยได้รับรางวัลดีเด่นก็มีโอกาสเกิดปัญหาคอร์รัปชัน ดังนั้น เพื่อจัดการกับปัญหา จึงควรนำหลักธรรมาภิบาลและบรรษัทภิบาลมาปรับใช้ในการดำเนินงานของสหกรณ์
 

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเฉพาะกรณีมีวัตถุประสงค์การวิจัย 5 ประการคือ (1) แนวทางการนําหลักธรรมาภิบาลและบรรษัทภิบาลมาใช้ในการบริหารงานของสหกรณ์ออมทรัพย์เพื่อแก้ไขและป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน (2) สภาพการบริหารและลักษณะการคอร์รัปชันของสหกรณ์ออมทรัพย์ (3) และค้นหาเหตุปัจจัยของการทุจริตคอร์รัปชันในสหกรณ์ออมทรัพย์ (4) การใช้หลักธรรมาภิบาลและบรรษัทภิบาลในสหกรณ์ออมทรัพย์ (5) ความย้อนแย้งของสหกรณ์ออมทรัพย์ดีเด่นในประเทศไทยกับปัญหาคอร์รัปชัน

 

การศึกษานี้ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากสหกรณ์ออมทรัพย์ที่ได้รับรางวัลดีเด่น จํานวน 2 แห่ง เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง สัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์  จํานวน 32 คน ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

 

ผลการวิจัย พบว่า ยังคงมีปัญหาคอร์รัปชันในสหกรณ์ออมทรัพย์ที่เคยได้รับรางวัลดีเด่น เนื่องจากแนวคิดเกี่ยวกับการปกครองตนเองและการขาดการตรวจสอบจากภาครัฐ โดย พบว่า กรรมการมีอำนาจมากและมีความสัมพันธ์ในระบบอุปถัมภ์ ทำให้ขาดอิสระในการดำเนินงาน ส่งผลให้การตรวจสอบจากภาครัฐเป็นไปได้ยาก นอกจากนี้ ยังพบว่าการบริหารงานของสหกรณ์นั้นต้องพิจารณาปัจจัยภายใน เช่น ระบบงาน ค่านิยม และจริยธรรม รวมถึงปัจจัยภายนอกที่เกี่ยวกับการตรวจสอบด้านเศรษฐกิจและกฎหมาย ดังนั้น การนำหลักธรรมาภิบาลเข้ามาใช้ เช่น หลักนิติธรรม ความโปร่งใส และความรับผิดชอบจึงมีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงการบริหารงาน 

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

รุจิพัชร์  กิตติวิวัฒนพงศ์ และกนกรัตน์  ยศไกร. (2559). ความย้อนแย้งของสหกรณ์ออมทรัพย์ดีเด่นในประเทศไทยกับปัญหาคอร์รัปชัน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 6(1), 235248.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2559
ผู้แต่ง
  • รุจิพัชร์  กิตติวิวัฒนพงศ์  
  • กนกรัตน์  ยศไกร 
วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาพรมแดนและช่องว่างความรู้เรื่องคอร์รัปชันและธรรมาภิบาล เพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2566-2570

ศึกษาพัฒนาการของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลในประเทศไทย เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะต่อแนวทางการสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยในประเด็นคอร์รัปชัน และธรรมาภิบาลในอนาคต

โครงการศึกษาความเหมาะสมและความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาขององค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ค.ศ.1997 ว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศในการทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศ

ศึกษาความพร้อมของไทยในการเข้าเป็นภาคีตามอนุสัญญาองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ค.ศ.1997 ว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่รัฐต่างประเทศในการทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศ

โครงการวิจัยการสังเคราะห์รูปแบบ กลไกและแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ศึกษาพัฒนาการของรูปแบบ กลไก และแนวทางการปลูกฝังเจตคติ และวัฒนธรรมสุจริตที่มีผลต่อการป้องกันการทุจริตของไทย และศึกษากรณีของต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อไป

You might also like...

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : พัฒนาทักษะการสื่อสารด้านการต่อต้านคอร์รัปชันผ่านการกระทำเชิงสัญลักษณ์

สัญลักษณ์ มักถูกใช้ในการเรียกสิ่งหนึ่งแทนการเรียกตรงๆ โดยอาจจะเกิดจากการเปรียบเทียบหรือการตีความออกมาเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ได้ ซึ่งนับเป็นการสื่อสารรูปแบบหนึ่งที่มนุษย์ใช้กันนอกเหนือจากการเขียนข้อความ ในสังคมของเรามีการใช้สัญลักษณ์ในการสื่อสารให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | การสร้างชุมชนที่โปร่งใสต้องเริ่มต้นที่ตรงไหน จึงจะสำเร็จ ?

“พลังของชุมชน” สามารถเป็นด่านแรกในการป้องกันการทุจริตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อชุมชนมีระบบภายในที่เข้มแข็งและประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ทำไมครูและสื่อมวลชนถึงมีความสำคัญในการป้องกันการคอร์รัปชัน

คุณอาจจะคุ้นเคยกับกฎหมายต่อต้านคอร์รัปชันที่มุ่งเป้าไปที่การลงโทษนักการเมืองหรือข้าราชการที่ทุจริต แต่เคยได้ยินไหมว่ามีกฎหมายต่อต้านคอร์รัปชันที่ครอบคลุมไปถึง “ครู” และ “สื่อมวลชน” ด้วย ?