บทความวิจัย | ทางออกการป้องกันและการปราบปรามทุจริตในสังคมไทย

การแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชันในสังคมไทยต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคม รวมทั้งภาคประชาชนในการติดตามและตรวจสอบการทุจริตในภาครัฐ

 

เมื่อกล่าวถึง “การทุจริต” “การคอร์รัปชััน” หรือ “การฉ้อราษฎร์บังหลวง” มักเข้าใจกันง่าย ๆ ว่าหมายถึง “การโกง” นั่นเอง หรือ การไม่ซื่อสัตย์ สุจริต ของบุคคลกลุ่มหนึ่ง ที่ร่วมมือกันทําความชั่วโดยเจตนา มีการไตร่ตรอง วางแผนอย่างมีขั้นตอน หรือมีกระบวนการอย่างแยบยล ตั้งใจบิดเบือนข้อมูล ให้ผิดจากความเป็นจริงเพื่อให้ตนและพวกพ้องได้ประโยชน์ ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และ ความมั่นคงของประเทศ

ผู้วิจัยจึงได้ทำการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับทุจริตคอร์รัปชันเพื่อเสนอแนวทางการป้องกันและปราบปรามทุจริตคอร์รัปชันในสังคมไทย

ผลการศึกษา พบว่า กระบวนการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันอย่างมีประสิทธิภาพ จําเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ในการที่จะป้องกันและปราบปรามการทุจริตอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการติดตามและตรวจสอบการทุจริตหรือประพฤติมิชอบในภาครัฐ โดยให้ความรู้กับภาคประชาชน รวมถึงส่งเสริมสิทธิในการรับรู้และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเพื่อให้มีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เสริมสร้างการบูรณาการการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับองค์กร ทุกภาคส่วนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

พระครูโอภาสนนทกิตติ์ (ศักดา โอภาโส). (2566). ทางออกการป้องกันและการปราบปรามทุจริตในสังคมไทย. Journal of MCU Social Science Review, 12(1), A114-A122. 

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2566
ผู้แต่ง

พระครูโอภาสนนทกิตติ์ (ศักดา โอภาโส)

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก

เพื่อประมาณการต้นทุน รายรับ การขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคมของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก และประมาณการผลตอบแทนส่วนเกินที่ตกแก่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์การแสวงหาค่าเช่า และศึกษาการทุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | การสร้างชุมชนที่โปร่งใสต้องเริ่มต้นที่ตรงไหน จึงจะสำเร็จ ?

“พลังของชุมชน” สามารถเป็นด่านแรกในการป้องกันการทุจริตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อชุมชนมีระบบภายในที่เข้มแข็งและประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ทำไมครูและสื่อมวลชนถึงมีความสำคัญในการป้องกันการคอร์รัปชัน

คุณอาจจะคุ้นเคยกับกฎหมายต่อต้านคอร์รัปชันที่มุ่งเป้าไปที่การลงโทษนักการเมืองหรือข้าราชการที่ทุจริต แต่เคยได้ยินไหมว่ามีกฎหมายต่อต้านคอร์รัปชันที่ครอบคลุมไปถึง “ครู” และ “สื่อมวลชน” ด้วย ?

KRAC Update เล่าข่าวต้านคอร์รัปชัน I แอฟริกาใต้ต่อสู้คอร์รัปชัน กู้คืนทรัพย์กลับประเทศได้อย่างไร ?

เพราะการคอร์รัปชัน ไม่ใช่แค่การตรวจสอบหรือการนำคนผิดมาลงโทษเท่านั้น แอฟริกาใต้จึงเดินหน้าเพื่อต่อสู้ กู้คืนทรัพย์หลายหมื่นล้านจากการคอร์รัปชัน