บทความวิจัย | บทบาทและปัญหาของคณะกรรมการการเลือกตั้งในการทุจริตเลือกตั้งท้องถิ่นจังหวัดเพชรบุรี

แนวทางในการแก้ไขปัญหาการทุจริตเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี คือการดำเนินการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้อำนาจและบทบาทแก่คณะกรรมการเลือกตั้งประจำจังหวัดมากขึ้น และกกต. ควรสร้างการตระหนักรู้ต่อผลเสียของการทุจริตเลือกตั้งกับประชาชนอย่างจริงจัง 

 

จากปัญหาการทุจริตเลือกตั้งของนักการเมืองท้องถิ่น และปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของกกต.ประจำจังหวัดเพชรบุรี บทความนี้ต้องการศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน รวมทั้งเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตเลือกตั้ง 

 

โดยใช้วิธีการศึกษาด้วยวิธีการทบทวนวรรณกรรมและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตเลือกตั้ง และปัญหาในการควบคุมการทุจริตเลือกตั้งคณะกรรมการเลือกตั้งประจำจังหวัด รวมถึงกระบวนการ ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

 

ผลการวิจัย พบว่า การทุจริตเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี สามารถจำแนกได้ 2 รูปแบบ คือ การทุจริตเลือกตั้งทางตรงและการทุจริตเลือกตั้งทางอ้อม โดยมีวิธีการและเครือข่ายในการทุจริตเลือกตั้งหลายรูปแบบ อาทิ เครือข่ายความเป็นญาติพี่น้อง ความเป็นเพื่อนนักการเมืองท้องถิ่นด้วยกันที่ช่วยเหลือกัน เครือข่ายความสัมพันธ์กับนักการเมืองระดับชาติในจังหวัดและนอกจังหวัด เป็นต้น 

 

ดังนั้น แนวทางในการป้องกันและการแก้ไขปัญหาการทุจริตเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี คือ การแก้ไข ปรับปรุง กฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยให้อำนาจและบทบาทแก่คณะกรรมการเลือกตั้งประจำจังหวัดเพิ่มมากขึ้น และ กกต. ควรสร้างความรู้ความเข้าใจและปลูกจิตสำนึกแก่ประชาชนในเรื่องผลเสียของการทุจริตเลือกตั้งอย่างจริงจังให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง 

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

ัชชานุช พิชิตธนารัตน์. (2562). บทบาทและปัญหาของคณะกรรมการการเลือกตั้งในการทุจริตเลือกตั้งท้องถิ่นจังหวัดเพชรบุรี. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา, 5(1), 68-89.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2562
ผู้แต่ง
  • ัชชานุช พิชิตธนารัตน์
วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการเฝ้าระวังและป้องกันการทุจริตจากนโยบายและโครงการของรัฐ

งานวิจัยนี้ จะพาไปทำความเข้าใจรูปแบบ คุณลักษณะ และวิธีการดำเนินนโยบาย มาตรการ หรือโครงการของรัฐเพื่อหาวิธีการเฝ้าระวังและป้องกันการทุจริตที่เกิดขึ้น

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก

เพื่อประมาณการต้นทุน รายรับ การขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคมของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก และประมาณการผลตอบแทนส่วนเกินที่ตกแก่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์การแสวงหาค่าเช่า และศึกษาการทุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | จะกลัวทำไมมีเมื่อกฎหมายหนุนหลัง ? ชวนส่องกฎหมายต่อต้านคอร์รัปชันที่สนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วม

เพราะการมีส่วนร่วมของประชาชนไม่ได้มีแค่การเลือกตั้งเท่านั้น แต่การตรวจสอบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ นับว่าเป็นอีกหนึ่งการมีส่วนร่วมที่สำคัญ KRAC คัดสรร ชวนดู กฎหมายมาตราไหน สนับสนุนประชาชนอย่างไรบ้าง ?

KRAC The Experience | EP.9 Fight Together! : The Anti-Corruption Ecosystem

การสร้างระบบนิเวศเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชันมีความสำคัญอย่างไร ? ชวนดู แนวคิดความร่วมมือในการสร้างระบบนิเวศเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชันที่มีประสิทธิภาพ กับ KRAC The Experience ตอน “Fight Together ! : The Anti-Corruption Ecosystem”

KRAC Insight | Data Standard: การสร้างมาตรฐานข้อมูล ที่ต่อยอดสู่การต่อต้านคอร์รัปชัน

KRAC ชวนฟังทีม Open Data ในเครือข่าย SEA-AC เล่าถึงการจัดการข้อมูลให้เป็นมาตรฐาน (Data Standard) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและสามารถต่อยอดไปสู่การเชื่อมโยงข้อมูลของบุคคลที่มีสถานภาพทางการเมือง (PEPs)