บทความวิจัย | ปัญหาการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557

เพื่อแก้ไขปัญหาการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ควรเพิ่มอำนาจให้องค์กรอิสระหรือองค์กรรัฐอื่น ๆ มีสิทธิริเริ่มกระบวนการถอดถอนด้วย

 

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการและปัญหาการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งที่รัฐเสรีประชาธิปไตยใช้ในการควบคุมและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเพื่อประกันความชอบธรรมและความชอบด้วยกฎหมายของการดำเนินการภายใต้ขอบเขตอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเป็นกระบวนการตรวจสอบทางการเมืองที่แยกออกจากกระบวนการตรวจสอบโดยฝ่ายตุลาการหรือองค์กรศาล 

 

กระบวนการถอดถอนบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในไทยตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องมีปัญหาในหลายด้าน โดยการเริ่มต้นกระบวนการถอดถอนสามารถทำได้โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอย่างน้อยหนึ่งในสี่ของสภาทั้งหมด หรือประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 20,000 คน ตามที่กำหนดในมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 และมาตรา 59 ของกฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542

 

บทความนี้นำเสนอเเนวทางแก้ไขปัญหาด้านการถอดถอนบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในไทยว่า ควรพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อขยายสิทธิ์ริเริ่มกระบวนการถอดถอนให้แก่หน่วยงานหรือองค์กรอื่น เช่น องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ หรือกลุ่มสมาชิกวุฒิสภา นอกเหนือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและประชาชนที่มีสิทธิ์เลือกตั้งในกรณีปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังจำเป็นต้องพิจารณาถึงการถอดถอนผู้ที่พ้นจากตำแหน่งไปแล้ว แม้ว่ารัฐธรรมนูญและกฎหมายเกี่ยวข้องไม่ได้ระบุชัดเจนในเรื่องนี้ แต่สภานิติบัญญัติแห่งชาติยังคงมีอำนาจในการดำเนินการตามกระบวนการถอดถอน รวมถึงการยึดทรัพย์และการระงับสิทธิ์เลือกตั้งในอนาคตตามกฎหมายที่มีบัญญัติไว้อย่างชัดเจน

 

 

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

อมร พิกุลงามโชติ. (2560). ปัญหาการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 8(2), 3443.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2560
ผู้แต่ง

อมร พิกุลงามโชติ

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการเฝ้าระวังและป้องกันการทุจริตจากนโยบายและโครงการของรัฐ

งานวิจัยนี้ จะพาไปทำความเข้าใจรูปแบบ คุณลักษณะ และวิธีการดำเนินนโยบาย มาตรการ หรือโครงการของรัฐเพื่อหาวิธีการเฝ้าระวังและป้องกันการทุจริตที่เกิดขึ้น

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก

เพื่อประมาณการต้นทุน รายรับ การขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคมของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก และประมาณการผลตอบแทนส่วนเกินที่ตกแก่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์การแสวงหาค่าเช่า และศึกษาการทุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | การสร้างชุมชนที่โปร่งใสต้องเริ่มต้นที่ตรงไหน จึงจะสำเร็จ ?

“พลังของชุมชน” สามารถเป็นด่านแรกในการป้องกันการทุจริตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อชุมชนมีระบบภายในที่เข้มแข็งและประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ทำไมครูและสื่อมวลชนถึงมีความสำคัญในการป้องกันการคอร์รัปชัน

คุณอาจจะคุ้นเคยกับกฎหมายต่อต้านคอร์รัปชันที่มุ่งเป้าไปที่การลงโทษนักการเมืองหรือข้าราชการที่ทุจริต แต่เคยได้ยินไหมว่ามีกฎหมายต่อต้านคอร์รัปชันที่ครอบคลุมไปถึง “ครู” และ “สื่อมวลชน” ด้วย ?

KRAC Update เล่าข่าวต้านคอร์รัปชัน I แอฟริกาใต้ต่อสู้คอร์รัปชัน กู้คืนทรัพย์กลับประเทศได้อย่างไร ?

เพราะการคอร์รัปชัน ไม่ใช่แค่การตรวจสอบหรือการนำคนผิดมาลงโทษเท่านั้น แอฟริกาใต้จึงเดินหน้าเพื่อต่อสู้ กู้คืนทรัพย์หลายหมื่นล้านจากการคอร์รัปชัน