บทความวิจัย | มาตรการปราบปรามการทุจริตด้วยกฎหมายภาษี

การศึกษามาตรการปราบปรามการทุจริตด้วยกฎหมายภาษี พบว่า การนำมาตรการทางภาษีมาใช้จะสามารถเป็นเครื่องมือเสริมมาตรการทางอาญา และสามารถลดแรงจูงใจในการทุจริตและป้องกันความปลอดภัยของผู้แจ้งเบาะแสได้ 
 

รายได้ประจําซึ่งได้รับจากการทำงานที่ถูกต้องตามกฎหมายถูกกำหนดให้ต้องเสียภาษีตามมาตรา 40 (1) แต่รายได้จากการทุจริตกลับไม่ถูกประเมินเพื่อเสียภาษี จากกรณีดังกล่าวจะเห็นว่าการประเมินภาษีไม่เป็นธรรมสําหรับผู้ที่กระทําตามหน้าที่และถูกต้องตามกฎหมาย

 

ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาเจตนารมณ์นโยบายของกฎหมายภาษีอากร วัตถุประสงค์ และการนํามาตรการทางภาษีมาใช้เพื่อปราบปรามการทุจริต โดยการศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการศึกษาด้วยการทบทวนวรรณกรรม แนวคิด ทฤษฎีในลักษณะวิจัยเชิงสหวิทยาการเกี่ยวกับมาตรการทางภาษีกับการทุจริต 

 

ผลการศึกษา พบว่า การทุจริตเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยความต้องการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ และการลงโทษปรับหรือริบทรัพย์ไม่สามารถลดแรงจูงใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อเสนอคือ การใช้มาตรการทางภาษี เช่น การประเมินภาษีจากรายได้ที่ผิดกฎหมาย เพื่อเสริมมาตรการทางอาญาและลดแรงจูงใจในการทุจริต นอกจากนี้ การที่กระบวนการอาญาอาจถูกแทรกแซง ทำให้ผู้แจ้งเบาะแสบางครั้งถูกคุกคาม ดังนั้น หน่วยงานภาครัฐและกรมสรรพากรควรร่วมมือกันอย่างจริงจังในการบังคับใช้กฎหมายทั้งสองด้านเพื่อฟื้นฟูงบประมาณและส่งเสริมความเป็นธรรมทางสังคมในประเทศไทย

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

ติภัทร หอมละออ. (2566). มาตรการปราบปรามการทุจริตด้วยกฎหมายภาษี. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(1), 119-150.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2566
ผู้แต่ง

นิติภัทร หอมละออ

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | การสร้างชุมชนที่โปร่งใสต้องเริ่มต้นที่ตรงไหน จึงจะสำเร็จ ?

“พลังของชุมชน” สามารถเป็นด่านแรกในการป้องกันการทุจริตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อชุมชนมีระบบภายในที่เข้มแข็งและประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ทำไมครูและสื่อมวลชนถึงมีความสำคัญในการป้องกันการคอร์รัปชัน

คุณอาจจะคุ้นเคยกับกฎหมายต่อต้านคอร์รัปชันที่มุ่งเป้าไปที่การลงโทษนักการเมืองหรือข้าราชการที่ทุจริต แต่เคยได้ยินไหมว่ามีกฎหมายต่อต้านคอร์รัปชันที่ครอบคลุมไปถึง “ครู” และ “สื่อมวลชน” ด้วย ?

KRAC Update เล่าข่าวต้านคอร์รัปชัน I แอฟริกาใต้ต่อสู้คอร์รัปชัน กู้คืนทรัพย์กลับประเทศได้อย่างไร ?

เพราะการคอร์รัปชัน ไม่ใช่แค่การตรวจสอบหรือการนำคนผิดมาลงโทษเท่านั้น แอฟริกาใต้จึงเดินหน้าเพื่อต่อสู้ กู้คืนทรัพย์หลายหมื่นล้านจากการคอร์รัปชัน