บทความวิจัย | มาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินที่ได้มาจากการกระทําความผิดเกี่ยวกับการทุจริต

การฟอกเงินเป็นการดําเนินการของอาชญากรด้วยวิธีการต่างๆ ที่ทําให้ผลประโยชน์ที่ได้มาจากการกระทําความผิดเปลี่ยนสภาพเป็นผลประโยชน์ที่บุคคลทั่วไปเชื่อว่าได้มาอย่างถูกต้องกฎหมาย ในการเอาผิดผู้กระทำการฟอกเงินต้องพิจารณาความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และกฎหมายอื่นที่มีการกําหนดความผิดไว้

 

การศึกษาในครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยเพื่อทบทวนมาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินที่ได้มาจากการกระทําความผิดเกี่ยวกับการทุจริต โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการศึกษากฎหมายไทยที่เกี่ยวกับการฟอกเงินที่ได้จากการกระทําความผิดเกี่ยวกับการทุจริตตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542   

 

ผลการศึกษา พบว่า มาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินที่ได้มาจากการกระทําความผิดเกี่ยวกับการทุจริต ยังมีปัญหาบางประการในด้านความไม่ชัดเจนของการกําหนดความผิดเกี่ยวกับการทุจริตตามมาตรา 3(5) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542

 

จึงควรมีการแก้ไขกฎหมายโดยนําแนวทางการกําหนดการกระทําความผิดเกี่ยวกับการทุจริตของต่างประเทศมาปรับปรุงกฎหมายของประเทศไทย ได้แก่ การกําหนดความผิดที่เกี่ยวกับการกระทําทุจริตให้ชัดเจนในการบังคับใช้และให้ครอบคลุมการทุจริตต่อหน้าที่ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน และควรกําหนดกฎกระทรวงที่มีตารางรายชื่อความผิดที่มาจากการกระทําทุจริตทั้งหมดที่ได้เงินหรือทรัพย์สินไว้

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

ปัวิช ทัพภวิมล. (2561). มาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินที่ได้มาจากการกระทําความผิดเกี่ยวกับการทุจริต. วารสารวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 8(2), 8293.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2561
ผู้แต่ง

ปัวิช ทัพภวิมล

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการพัฒนากฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริต

เพื่อศึกษาเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 244 มาตรา 245 ประกอบมาตรา 221 เกี่ยวกับการวางระบบการร่วมมือกันทำงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เพื่อกำหนดมาตรการ และวิธีการทำงานร่วมมือกันของ
องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเชิงนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพ
ประสิทธิผล

You might also like...

KRAC Insight | เกมแห่งแรงจูงใจ: ถอดบทเรียนกฎหมายผ่อนผันโทษผ่านมุมมองทฤษฎีเกม

KRAC INSIGHT ชวนเจาะลึกว่าทำไมกฎหมายผ่อนผันโทษจึงซับซ้อน และทำงานเหมือน Prisoner’s Dilemma ที่จูงใจผู้ร่วมขบวนการให้หักหลังกันเอง !

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : พัฒนาทักษะการสื่อสารด้านการต่อต้านคอร์รัปชันผ่านการกระทำเชิงสัญลักษณ์

สัญลักษณ์ มักถูกใช้ในการเรียกสิ่งหนึ่งแทนการเรียกตรงๆ โดยอาจจะเกิดจากการเปรียบเทียบหรือการตีความออกมาเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ได้ ซึ่งนับเป็นการสื่อสารรูปแบบหนึ่งที่มนุษย์ใช้กันนอกเหนือจากการเขียนข้อความ ในสังคมของเรามีการใช้สัญลักษณ์ในการสื่อสารให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | การสร้างชุมชนที่โปร่งใสต้องเริ่มต้นที่ตรงไหน จึงจะสำเร็จ ?

“พลังของชุมชน” สามารถเป็นด่านแรกในการป้องกันการทุจริตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อชุมชนมีระบบภายในที่เข้มแข็งและประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง