บทความวิจัย | วิธีการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในหน่วยงานภาครัฐ

การแก้ไขปัญหาการทุจริตในสังคมไทยควรนำมาตรการทางกฎหมายและหลักธรรมาภิบาลมาปรับใช้ร่วมกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงและการสร้างเครื่องหมายความดี ซึ่งจะทำให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างประสิทธิภาพและยั่งยืน

 

ปัญหาทุจริตในสังคมไทยเป็นปัญหาที่สะสมเรื้อรังมานาน ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ การศึกษาครั้งนี้จึงต้องการศึกษาความหมาย รูปแบบ สาเหตุและปัจจัยของการทุจริต รวมถึงแนวคิดเกี่ยวกับการทุจริตในภาครัฐ เพื่อเสนอแนวทางการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในหน่วยงานภาครัฐ  

 

โดยใช้วิธีการศึกษาด้วยการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการความหมาย รูปแบบ สาเหตุและปัจจัยที่ก่อให้เกิดการทุจริต แนวคิดเกี่ยวกับการทุจริตในภาครัฐ และแนวทางการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในหน่วยงานภาครัฐ 

 

ผลการศึกษา พบว่า การทุจริตเกิดจากความต้องการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรมิชอบเพื่อตนเองและพวกพ้อง ดังนั้น การทุจริตในภาครัฐส่วนมากจะอยู่ในรูปแบบของการทุจริตเชิงนโยบายและผลประโยชน์ทับซ้อน โดยแนวทางการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในสังคมไทย จะต้องมีมาตรการทางกฎหมายในการปราบปรามการทุจริต การนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ภาครัฐอย่างเคร่งครัด ต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ

 

รวมถึงควรสร้างเครื่องหมายความดีให้เกิดขึ้นกับตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ นอกจากนี้สิ่งที่ขาดไม่ได้คือการนำเอาหลักเศรษฐกิจพอเพียง มากใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของประชาชนทุกระดับ และนำมาประยุกต์ใช้การปฏิบัติงานและการพัฒนาบริหารประเทศสำหรับการรัฐบาลและข้าราชการ ซึ่งจะส่งผลให้การดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

กัญจิรา วิจิตรวัชรารักษ์ และพระมหาอรุณ  ปญฺญารุโ. (2565). วิธีการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในหน่วยงานภาครัฐ. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 9(1), 3751.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2565
ผู้แต่ง
  • กัญจิรา วิจิตรวัชรารักษ์ 
  • พระมหาอรุณ ปญฺญารุโณ
วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษาความเหมาะสมและความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาขององค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ค.ศ.1997 ว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศในการทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศ

ศึกษาความพร้อมของไทยในการเข้าเป็นภาคีตามอนุสัญญาองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ค.ศ.1997 ว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่รัฐต่างประเทศในการทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศ

You might also like...

KRAC Insight | เกมแห่งแรงจูงใจ: ถอดบทเรียนกฎหมายผ่อนผันโทษผ่านมุมมองทฤษฎีเกม

KRAC INSIGHT ชวนเจาะลึกว่าทำไมกฎหมายผ่อนผันโทษจึงซับซ้อน และทำงานเหมือน Prisoner’s Dilemma ที่จูงใจผู้ร่วมขบวนการให้หักหลังกันเอง !

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : พัฒนาทักษะการสื่อสารด้านการต่อต้านคอร์รัปชันผ่านการกระทำเชิงสัญลักษณ์

สัญลักษณ์ มักถูกใช้ในการเรียกสิ่งหนึ่งแทนการเรียกตรงๆ โดยอาจจะเกิดจากการเปรียบเทียบหรือการตีความออกมาเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ได้ ซึ่งนับเป็นการสื่อสารรูปแบบหนึ่งที่มนุษย์ใช้กันนอกเหนือจากการเขียนข้อความ ในสังคมของเรามีการใช้สัญลักษณ์ในการสื่อสารให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | การสร้างชุมชนที่โปร่งใสต้องเริ่มต้นที่ตรงไหน จึงจะสำเร็จ ?

“พลังของชุมชน” สามารถเป็นด่านแรกในการป้องกันการทุจริตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อชุมชนมีระบบภายในที่เข้มแข็งและประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง