บทความวิจัย | ระบบการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของรัฐมนตรี

แม้ว่าสิงค์โปร์จะมีคะแนนค่า CPI สูงสุดในอาเซียน แต่สิงคโปร์กลับไม่มีการเปิดเผยข้อมูลการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของรัฐมนตรีต่อสาธารณะ อย่างไรก็ตาม ประมวลจรรยาบรรณสำหรับรัฐมนตรี (Code of Conduct for Ministers) ค.ศ.2005 นับเป็นจุดแข็งหลักของสิงคโปร์

 

การตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของรัฐมนตรีของประเทศส่วนใหญ่ในโลกต่างมีเหตุผลที่คล้ายคลึงกันคือ เห็นว่าการจัดให้มีระบบดังกล่าวเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการต่อต้านการทุจริต (Anti-corruption) อย่างไรก็ตาม ระบบตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของรัฐมนตรีในแต่ละประเทศนั้น จะมีความแตกต่างกันไปในรายละเอียด โดยมีระดับความเข้มข้นของการตรวจสอบที่แตกต่างกัน  

 

ในทางปฏิบัติของบางประเทศที่อยู่ในกลุ่มสมาชิกอาเซียน (ASEAN) นั้น มีความน่าสนใจในการศึกษาเรื่องพัฒนาการของระบบตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของรัฐมนตรี ในที่นี้หมายรวมถึงนายกรัฐมนตรีด้วย เพราะเป็นตำแหน่งที่สำคัญอย่างยิ่งที่คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นที่จับตามองของประชาชน โดยบทความนี้จะเป็นการศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบกระบวนการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของรัฐมนตรีของประเทศไทยและสิงคโปร์ 

 

จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ทั้งประเทศไทยและสิงคโปร์ใช้การตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของรัฐมนตรีในการต่อต้านการทุจริต แต่สิงคโปร์มีประมวลจรรยาบรรณสำหรับรัฐมนตรีที่ให้ความชัดเจนในการปฏิบัติหน้าที่ แม้จะไม่มีผลบังคับเป็นกฎหมาย แต่มีกฎที่รัฐมนตรีต้องปฏิบัติตาม ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการพิจารณาให้ออกจากตำแหน่งได้ ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยควรพิจารณาปรับใช้ประมวลจรรยาบรรณที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้นสำหรับรัฐมนตรี ในขณะที่สิงคโปร์อาจพิจารณาเพิ่มการเปิดเผยข้อมูลทรัพย์สินและหนี้สินต่อสาธารณะเพื่อเพิ่มความโปร่งใสทางการเมือง

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

อมรรัตน์ กุลสุจริต. (2559). ระบบการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของรัฐมนตรี. วารสารร่มพฤกษ์, 34(1), 209233.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2559
ผู้แต่ง

อมรรัตน์ กุลสุจริต 

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

ปัญหาการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง: สำนักตรวจสอบทรัพย์สินภาคการเมือง

การตรวจสอบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินมีปัญหาหลายด้าน ทั้งปัญหาที่เกิดจากผู้ยื่นบัญชีทรัพย์สิน ปัญหาที่เกิดจากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบทรัพย์สิน ปัญหาที่เกิดจากกระบวนการตรวจสอบ และปัญหาด้านกำลังคน จึงต้องเร่งหาแนวทางแก้ไขอุปสรรคในการตรวจชอบบัญชีทรัพย์สินฯ

บทความวิจัย | ระบบการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของรัฐมนตรี

แม้ว่าสิงค์โปร์จะมีคะแนนค่า CPI สูงสุดในอาเซียน แต่สิงคโปร์กลับไม่มีการเปิดเผยข้อมูลการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของรัฐมนตรีต่อสาธารณะ อย่างไรก็ตาม ประมวลจรรยาบรรณสำหรับรัฐมนตรี (Code of Conduct for Ministers) ค.ศ.2005 นับเป็นจุดแข็งหลักของสิงคโปร์

บทความวิจัย | การพัฒนารูปแบบและวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน

การใช้ระบบฐานข้อมูลสารสนเทศและเชื่อมโยงฐานข้อมูลในทุกภาคส่วน เพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบได้ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ

You might also like...

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : พัฒนาทักษะการสื่อสารด้านการต่อต้านคอร์รัปชันผ่านการกระทำเชิงสัญลักษณ์

สัญลักษณ์ มักถูกใช้ในการเรียกสิ่งหนึ่งแทนการเรียกตรงๆ โดยอาจจะเกิดจากการเปรียบเทียบหรือการตีความออกมาเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ได้ ซึ่งนับเป็นการสื่อสารรูปแบบหนึ่งที่มนุษย์ใช้กันนอกเหนือจากการเขียนข้อความ ในสังคมของเรามีการใช้สัญลักษณ์ในการสื่อสารให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | การสร้างชุมชนที่โปร่งใสต้องเริ่มต้นที่ตรงไหน จึงจะสำเร็จ ?

“พลังของชุมชน” สามารถเป็นด่านแรกในการป้องกันการทุจริตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อชุมชนมีระบบภายในที่เข้มแข็งและประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ทำไมครูและสื่อมวลชนถึงมีความสำคัญในการป้องกันการคอร์รัปชัน

คุณอาจจะคุ้นเคยกับกฎหมายต่อต้านคอร์รัปชันที่มุ่งเป้าไปที่การลงโทษนักการเมืองหรือข้าราชการที่ทุจริต แต่เคยได้ยินไหมว่ามีกฎหมายต่อต้านคอร์รัปชันที่ครอบคลุมไปถึง “ครู” และ “สื่อมวลชน” ด้วย ?