รู้จักกับ FISA แบบประเมินคุณธรรมป้องกันการทุจริตในนิวซีแลนด์
นิวซีแลนด์เป็นประเทศที่ได้อันดับสองของการจัดอันดับคะแนน CPI หรือดัชนีการรับรู้การทุจริต ด้วยคะแนนที่สูงถึง 88 คะแนน จากการพยายามแก้ปัญหาคอร์รัปชัน สร้างความโปร่งใสและคุณธรรม ตัวอย่างความพยายามแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ “FISA” เครื่องมือการประเมินเพื่อส่งเสริมให้เกิดคุณธรรม และช่วยลดปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในองค์กรด้านการเงิน
FISA คือ เครื่องมือการประเมินคุณธรรมของภาคการเงินที่เปิดตัวเมื่อปี 2021 ที่ผ่านมา โดย Adrian Orr ผู้ว่าการธนาคารกลางนิวซีแลนด์ จุดประสงค์ของการประเมินเพื่อให้กลายเป็นแนวทางที่จะใช้ในการพัฒนาคุณธรรมให้กับองค์กรด้านการเงิน โดยมีองค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น ธนาคาร บริษัทด้านการเงิน กองทุนการออมเพื่อการเกษียณ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน สมาคมก่อสร้าง สถาบันการเงิน
โดยการประเมินจะมุ่งไปที่ 9 ประเด็นสำคัญ คือ 1. ธรรมาภิบาล 2. ความรับผิดชอบ 3. การจัดการนโยบาย 4. การสื่อสาร 5. ทรัพยากรมนุษย์ 6. การบริการลูกค้า 7. การจัดการความเสี่ยง 8. การทำงาน และ 9. จัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งหลังจากจบการประเมิน องค์กรจะได้รู้ผลคะแนนขององค์กรตัวเองเทียบกับองค์กรอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกันแบบไม่ระบุชื่อ ทำให้องค์กรนั้นสามารถนำเอาคะแนนที่ได้ไปทบทวนและพัฒนาคุณธรรมภายในองค์กรและช่วยป้องกันการทุจริตได้
- ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หัวข้อ
มาแล้ว !! โอกาสพัฒนาความรู้สู่การต่อต้านคอร์รัปชันอย่างมีประสิทธิภาพ
ชวนเรียนหลักสูตรต่อต้านคอร์รัปชัน และการส่งเสริมธรรมาภิบาลร่วมสมัยกับ 6 ผู้เชี่ยวชาญตัวจริง
KRAC Insight | สรุปงานเสวนา จะบริหารงบประมาณอย่างไรให้มีประสิทธิภาพและป้องกันการคอร์รัปชันได้?
ชวนอ่านสรุป “การประชุมเชิงวิชาการด้านการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” หัวข้อ “โครงการริเริ่มสนับสนุนการพัฒนาการกำกับดูแลและส่งเสริมการบริหารการเงินที่โปร่งใสและมีความรับผิดชอบ”
KRAC Insight | บรรษัทภิบาล ศัพท์ไม่ใหม่ที่ควรปรับใช้กับภาคเอกชน !
รู้หรือไม่ “บรรษัทภิบาล” สามารถช่วยภาคเอกชนในการพัฒนาองค์กรได้ ! แต่ช่วยอย่างไร…วันนี้เรามีคำตอบมาให้จากงาน “the Southeast Asian Anti-Corruption Network (SEA-ACN) Roundtable Discussion”