รูปแบบการประเมินธรรมาภิบาลสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

สังเคราะห์แนวคิดด้านองค์ประกอบ และตัวบ่งชี้การประเมินธรรมาภิบาลของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และนำเสนอแนวทางการประเมินธรรมาภิบาลของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

งานวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สังเคราะห์แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับองค์ประกอบ และตัวบ่งชี้การประเมินธรรมาภิบาลของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รวมถึงศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับรูปแบบการประเมินธรรมาภิบาล และตรวจสอบความเป็นไปได้ เพื่อจัดทำแนวทางการประเมินธรรมาภิบาลของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการต่อไป

โดยงานวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้เเก่ ระยะที่ 1  จัดทำรูปแบบและตัวบ่งชี้การประเมินธรรมาภิบาลของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มีประชากรกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิในการสัมภาษณ์ และดำเนินการเก็บข้อมูลโดยใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) ระยะที่ 2 การวิเคราะห์องค์ประกอบ และปัจจัยการประเมินธรรมาภิบาลของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มีกลุ่มตัวอย่างเป็นข้าราชการพลเรือนในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) และ ระยะที่ 3 ตรวจสอบความเป็นไปได้ และความเหมาะสม ในการนำรูปแบบการประเมินธรรมาภิบาลของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการไปใช้ในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการโดยผู้เชี่ยวชาญ

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • ผลจากการศึกษา พบว่ารูปแบบการประเมินธรรมาภิบาลของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ยึดหลักธรรมาภิบาลได้แก่ (1) หลักประสิทธิผล (2) หลักประสิทธิภาพ (3) หลักการตอบสนอง (4) หลักความรับผิดชอบ (5) หลักความโปร่งใส (6) หลักการมีส่วนร่วม (7) หลักการกระจายอำนาจ (8) หลักยุติธรรม และ (9) หลักความเสมอภาค โดยผลการวิเคราะห์องค์ประกอบการประเมินธรรมาภิบาลของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประกอบด้วย 11 องค์ประกอบ ได้แก่

    1. ประสิทธิผลด้านบุคคล ตัวอย่างตัวเเปร เช่น มีการจัดทำแผนฝึกอบรมรายตำแหน่งและประเมินผลการฝึกอบรมในแต่ละหลักสูตร
    2.  ประสิทธิผลด้านแผน ตัวอย่างตัวเเปร เช่น แผนปฎิบัติราชการ 4 ปี ประกอบด้วยวิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ และเป้าประสงค์
    3.  ประสิทธิภาพ ตัวอย่างตัวเเปร เช่น มีการจัดทำแผนการประเมินความคุ้มค่าสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปีที่ผ่านความเห็นชอบจากผู้บริหาร
    4. การตอบสนองด้านการบริการ ตัวอย่างตัวเเปร เช่น มีการกำหนดยุทธศาสตร์และแผนการพัฒนาการให้บริการในแผนปฏิบัติราชการประจำปี
    5. การตอบสนองด้านข้อร้องเรียน ตัวอย่างตัวเเปร เช่น มีการเผยแพร่ประกาศชี้แจงมาตรฐานการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานแก่ประชาชนผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกประเภทงานบริการ
    6. ความรับผิดชอบ ตัวอย่างตัวเเปร เช่น มีการประเมินผลและรายงานการบริหารตามแผนความเสี่ยง
    7. ความโปร่งใส ตัวอย่างตัวเเปร เช่น มีการติดตามประเมินผล และรายงานผลสำเร็จของการดำเนินการตามแผนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและโครงการสนับสนุน
    8. การมีส่วนร่วม ตัวอย่างตัวเเปร เช่น มีการติดตาม และประเมินผลสำเร็จ และมีการปรับปรุงและแก้ไขการให้ภาคประชาชนเข้าร่วมปฏิบัติราชการให้บรรลุได้ตามเป้าหมายกำหนด
    9. การกระจายอำนาจ ตัวอย่างตัวเเปร เช่น จัดทำรายงานและมีการนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ปรับปรุง และพัฒนาการติดตามและตรวจสอบการปฏิบัติราชการตามหลักการมอบอำนาจให้บรรลุได้ตามเป้าประสงค์หรือเป้าหมายที่กำหนด
    10. นิติธรรม ตัวอย่างตัวเเปร เช่น มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อกฎระเบียบ ข้อบังคับ และนำมาปรับปรุงกฎระเบียบ ข้อบังคับที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพ
    11. ความเสมอภาค ตัวอย่างตัวเเปร เช่น มีการสำรวจความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และจัดทำมาตรฐานครบทุกกระบวนการปฏิบัติงานและการให้บริการกำหนดเป็นระเบียบปฏิบัติ
  • คณะผู้วิจัย ได้สรุปปัจจัยความสำเร็จของการประเมินธรรมาภิบาลของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประกอบด้วย
    1. ผู้บริหาร ต้องเป็นผู้นำ ให้ความสำคัญ และเป็นกลไกในการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติ 
    2. การจัดการความรู้ของหน่วยงานต้องเข้มแข็ง และพัฒนาบุคลากรให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ในหลักธรรมาภิบาล
    3. สร้างวัฒนธรรมองค์กรโดยยึดหลักธรรมาภิบาล
    4. มีการพัฒนาระบบฐานข้อมูล ที่เป็นปัจจุบันครอบคลุมและทันสมัย
    5. คู่มือ เครื่องมือ เวลาประเมิน ต้องมีความเหมาะสม มีเงื่อนไขหลักเกณฑ์ที่ระบุชัดเจน และได้รับการยอมรับจากผู้ถูกประเมิน 
    6. ผู้ประเมินควรมีความรู้ ความเข้าใจในการประเมินตามหลักธรรมาภิบาล
    7. มีการประชาสัมพันธ์ และรายงานผลการปฏิบัติต่อผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นข้อมูลในการพัฒนาหน่วยงานตามหลักธรรมาภิบาลต่อไป
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

พรอัญชลี พุกชาญค้า. (2554). รูปแบบการประเมินธรรมาภิบาลสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ:กรุงเทพฯ.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2554
ผู้แต่ง

พรอัญชลี พุกชาญค้า

หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาพรมแดนและช่องว่างความรู้เรื่องคอร์รัปชันและธรรมาภิบาล เพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2566-2570

ศึกษาพัฒนาการของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลในประเทศไทย เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะต่อแนวทางการสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยในประเด็นคอร์รัปชัน และธรรมาภิบาลในอนาคต

โครงการวิจัยการสังเคราะห์รูปแบบ กลไกและแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ศึกษาพัฒนาการของรูปแบบ กลไก และแนวทางการปลูกฝังเจตคติ และวัฒนธรรมสุจริตที่มีผลต่อการป้องกันการทุจริตของไทย และศึกษากรณีของต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อไป

โครงการวิจัยการศึกษาแนวทางความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

นำเสนอแนวคิดและกิจกรรมที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพการดำเนินงานของ ป.ป.ช. ในการแก้ไขปัญหาการทุจริต และเสนอแนวทางการพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลร่วมกันผ่านกระบวนการประสานข้อมูลระหว่างหน่วยงานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

You might also like...

KRAC Hot News I อุบัติเหตุการก่อสร้างตามแนวถนนพระราม 2: ภาพสะท้อนปัญหาธรรมาภิบาลโครงการก่อสร้างภาครัฐไทย

อุบัติเหตุซ้ำซากบนถนนพระราม 2 ถึงเวลาปฏิรูป! ระบบจัดซื้อจัดจ้างต้องโปร่งใส ประชาชนต้องเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย และต้องมีมาตรการป้องกันและลงโทษที่จริงจังกันเสียที

KRAC Hot News I ผู้หญิงไม่เพียงแต่ถูกเรียกสินบน… แต่ยังถูกขอเรื่องเซ็กส์ด้วย

งานวิจัยจาก Transparency International เผยว่า “เพศ” ส่งผลต่อรูปแบบการเผชิญกับคอร์รัปชัน! เพราะผู้หญิงอาจถูกบังคับให้จ่ายสินบนทางเพศ หรือถูกละเมิดโดยเจ้าหน้าที่ที่ใช้อำนาจในทางมิชอบ

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ปิดช่องโหว่ดุลพินิจ ปิดช่องทางทุจริตในไทย

“ดุลพินิจ” อำนาจรัฐ หรือช่องว่างที่ทำให้เกิดการทุจริต ? KRAC ชวนถอดบทเรียนการแก้ปัญหาโกงจากการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐจากกงานวิจัยเรื่อง การแสวงหาผลประโยชน์ จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ (2560)