ลงมือสู้โกง : เป็นไปได้ไหม กรุงเทพฯ ที่ไร้โกง ?

ผ่านมาแล้ว 1 เดือนกับความหวังใหม่ของชาว กทม.ที่ได้ “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” มาเป็นผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่จากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2565 ที่ผ่านมาแน่นอนว่าการทำงานและผลงานต่างๆ ของผู้ว่าฯ กำลังถูกเป็นที่จับตามองว่าจะมาพัฒนาและแก้ไขสารพัดปัญหาของ กทม. ที่ถูกแช่แข็งเอาไว้ได้หรือไม่ ผู้เขียนเองในฐานะที่เป็นชาวกรุงเทพฯ ตั้งแต่กำเนิด พบเจอปัญหามากมายที่เกิดขึ้นจนแทบจะสิ้นหวังไปแล้วว่ากรุงเทพฯ คงไม่มีทางจะกลายเป็นเมืองที่มีชีวิตดีๆ ที่ลงตาม ตามคำที่ติดบนป้ายโฆษณาขายฝันเอาไว้ได้อย่างแน่นอน ทั้งคุณภาพของบริการสาธารณะ ถนนและทางเท้าที่มีปัญหาแทบจะทุกพื้นที่ คุณภาพในโครงการจัดซื้อจัดจ้างต่างๆ ปัญหาเรียก-รับส่วยในการขอใบอนุญาตหรือติดต่อราชการการขาดความโปร่งใสในการบริหารจัดการและเข้าถึงข้อมูลสาธารณะได้อย่างง่าย ไปจนถึงการขาดระบบร้องเรียนที่มีประสิทธิภาพ สิ่งเหล่านี้คือ “การทุจริตคอร์รัปชัน”ที่เป็นปัญหาโคลนติดล้อของกรุงเทพฯ และเป็นความท้าทายของผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่ที่ต้องเข้ามาแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะหากปล่อยไว้อาจไม่สามารถดำเนินนโยบายต่างๆ ที่วางไว้ให้สำเร็จได้จริง หรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนากรุงเทพฯ อีกเช่นเคย

นอกจากในมุมมองของผู้เขียนเองแล้ว ยังมีผลสรุปจาก “สำรวจ กทม. กับการทุจริต ที่ยังรอผู้ว่าที่กล้าแก้” โดย องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ร่วมกับ HAND Social Enterprise ดำเนินการสำรวจสถานการณ์ทุจริตคอร์รัปชันของกทม. ในช่วง 5-10 ปี (พ.ศ.2556-2565) ผ่านมุมมองและประสบการณ์ของคนกรุงเทพฯ เพื่อสะท้อนความรุนแรงของสถานการณ์ทุจริตคอร์รัปชัน ผลสำรวจออกมาชี้ชัดอย่างเช่นกันว่าคนกรุงเทพฯ กว่า 80% รับรู้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในกทม. และอยากให้ผู้ว่าฯ คนใหม่ปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันให้เด็ดขาด จึงน่าตั้งคำถามและอยากชวนผู้อ่านมาติดตามไปด้วยกันว่า กทม. ในยุคชัชชาตินี้ เป็นไปได้ไหมที่จะไร้โกง

ผู้เขียนในฐานะหนึ่งในทีม HAND SocialEnterprise และเป็นหนึ่งในคณะผู้จัดทำ “สำรวจ กทม. กับการทุจริต ที่ยังรอผู้ว่าที่กล้าแก้” พบว่าในช่วง 5-10 ปีที่ผ่านมา ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันใน กทม. มีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ผ่านกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างต่างๆ ไปจนถึงการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวของเจ้าหน้าที่รัฐ และการบริหารราชการที่ไม่โปร่งใสและเป็นธรรมของ กทม. หรือพูดง่ายๆ ว่าการคอร์รัปชันมีอยู่ในเกือบทุกกระบวนการดำเนินงานของ กทม. จึงทำให้อาจเริ่มต้นที่จะแก้ไขได้ยากและเป็นปัญหามาอย่างต่อเนื่องยาวนาน คณะผู้จัดทำแบบสำรวจฯ ของ HAND Social Enterprise จึงได้มี 3 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันของผู้ว่าฯ คนใหม่ (Quick Win) ที่ค้นพบจากการทำแบบสำรวจฯ ที่จะเป็นทางลัดให้ผู้ว่าฯ กทม. นำไปปรับใช้ได้อย่างเร่งด่วน ดังนี้

1.กทม. ต้องเร่งสร้างความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง

2.กทม. ควรมีวิธีการต้านโกงที่สอดคล้องกับคนต่างรุ่นต่างประสบการณ์ เนื่องจากแต่ละคนมีความเข้าใจและประสบการณ์ของการคอร์รัปชันที่แตกต่างกัน เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของคนกรุงเทพฯ

3.กทม. ต้องมีการป้องกันอย่างต่อเนื่อง มีมาตรการปราบปรามที่เข้มแข็ง และควรมีการปฏิรูปในส่วนการปลูกฝังการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน

จาก 3 ข้อเสนอแนะข้างต้น ผู้เขียนได้นำไปสำรวจต่อกับ 214 นโยบายของ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่นี้ จากเว็บไซต์ www.chadchart.com ซึ่งอยู่ภายใต้ร่ม9 นโยบายหลัก ได้แก่ 1) ปลอดภัยดี 2) สร้างสรรค์ดี 3) สิ่งแวดล้อมดี 4) เศรษฐกิจดี 5) เดินทางดี 6) สุขภาพดี 7) โครงสร้างดี 8) เรียนดี และ 9) บริหารจัดการดีพบว่ามีอยู่หลายนโยบายที่สอดคล้องกับแนวทางการสร้างความโปร่งใสแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชันได้อย่างเร่งด่วน คือ

1.สร้างความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง เช่น นโยบาย “บริหารจัดการดี” ด้านงบประมาณที่มีนโยบายประเมินประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในโครงการของกทม. นโยบายให้ประชาชนมีส่วนร่วมกำหนดงบประมาณ กทม. (Participatory Budgeting) ด้านการเปิดเผยข้อมูล (Open data) ที่มีนโยบายเปิดเผยข้อมูลศักยภาพสูงของ กทม. (Open Bangkok) และเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างครอบคลุมทั้งของ กทม.และกรุงเทพธนาคม เป็นต้น

2.สร้างการมีส่วนร่วมของคนกรุงเทพฯ จากคนต่างรุ่น ต่างประสบการณ์เพื่อร่วมกันต้านโกงได้เช่น นโยบาย “เรียนดี” ด้านการเปิดเผยข้อมูล (Open data) มีนโยบายโรงเรียนประสิทธิภาพสูงด้วย Opendata ที่ กทม.จะเปิดเผยข้อมูลของโรงเรียนในมิติต่างๆขึ้นอยู่บน Cloud พร้อมกับการแสดงผลบน Dashboard ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย เพื่อให้โรงเรียน นักเรียน ผู้ปกครองและภาคส่วนต่างๆ ได้มีส่วนร่วมสอดส่องและแก้ไขปัญหาในภาคการศึกษาได้มากขึ้น และนโยบาย “เศรษฐกิจดี” ด้านหาบเร่แผงลอย กทม. จะเพิ่มการเผยแพร่ข้อมูลพื้นที่การค้าให้โปร่งใสตั้งแต่วิธีการกำหนดลักษณะของพื้นที่ค้า ไปจนถึงจำนวนและประเภทการค้าในพื้นที่ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ค้าแผงลอย ภาคประชาชน และเอกชนในพื้นที่มาช่วยดูแลพื้นที่การค้าได้มากยิ่งขึ้น เป็นต้น

3.การป้องกัน ปราบปรามและปลูกฝังต้านโกง เช่นการป้องกันคอร์รัปชันสอดคล้องกับนโยบาย “บริหารจัดการดี” ที่มีนโยบายพัฒนาระบบติดตามการขออนุญาตกับ กทม. (Tracking System) เพื่อสร้างความโปร่งใสในการดำเนินงานแต่ละขั้นตอนของ กทม. ได้ การปราบปรามคอร์รัปชันสอดคล้องกับนโยบายโปร่งใส ไม่ส่วย ที่จะแก้ไขปัญหาการรับเงินใต้โต๊ะ โดยจริงจังกับการห้ามเรียกเก็บส่วย การปรับลงโทษผู้กระทำผิด และการรับฟังการร้องเรียนของประชาชน นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพื่อลดการใช้ดุลยพินิจของเจ้าพนักงาน ลดการเจอกันระหว่างประชาชนผู้ขออนุญาตและข้าราชการ และต่อมาการปลูกฝังต้านโกงสอดคล้องกับนโยบาย“สิ่งแวดล้อมดี, บริหารดี, ปลอดภัยดี และเดินทางดี” ที่มีนโยบายรณรงค์สิทธิและระเบียบวินัยพลเมืองในเรื่องจราจร ความสะอาด คอร์รัปชัน สิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างจิตสำนึกส่วนรวมในการอยู่ร่วมกัน รักษาสิทธิร่วมกัน และวินัยของพลเมือง ทั้งด้านจราจร ความสะอาด ความโปร่งใสและสิทธิในการตรวจสอบ และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

เมื่อกลับมาสู่คำถามที่ว่า เป็นไปได้ไหม กรุงเทพฯ ที่ไร้โกง ผู้เขียนมีความเห็นว่าแม้เป็นไปได้ยาก แต่สามารถเป็นไปได้ หาก กทม. ยึด 3 หลักสำคัญของธรรมาภิบาลได้แก่ ความโปร่งใส การมีส่วนร่วม และความรับผิดชอบ ประกอบกับนำ 3 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน จากผลสรุป “สำรวจ กทม. กับการทุจริต ที่ยังรอผู้ว่าที่กล้าแก้” มาปรับใช้อย่างเร่งด่วน จริงจังและต่อเนื่อง ทั้งนี้นโยบายต่างๆ ของผู้ว่าฯ ชัชชาติเองก็มีความสอดคล้องกับการต่อต้านคอร์รัปชันดังที่ได้ยกตัวอย่างไว้ข้างต้น จึงทำให้น่าจับตามองและติดตามต่อไปว่าจะทำได้จริงหรือไม่ ผู้อ่านทุกท่านมีความคิดเห็นอย่างไรกันบ้างคะกับความหวังที่กรุงเทพฯ จะไร้โกง ? มาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือพูดคุยประเด็นปัญหาคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลได้ที่เฟซบุ๊คเพจ HAND Social Enterprise

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2565
ผู้แต่ง

เจนจิรา บำรุงศิลป์

หน่วยงานสนับสนุน

หัวข้อ
Related Content

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : เรามีคนโกงเพิ่มขึ้น หรือ เราจับคนโกงได้มากขึ้น

แจ้งไม่เยอะแน่นะวิ ! ปี 65 พบการแจ้งเรื่องทุจริตเกือบ 10,000 เรื่องในไทย เคยสงสัยกันบ้างไหมว่าทั้งๆ ที่มีหน่วยงานปราบโกงที่มีอำนาจทางกฎหมายล้นเหลืออยู่หลายหน่วยงาน ทำไมระดับการคอร์รัปชันของไทยยังดูจะแย่ลงเรื่อยๆ

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : เปิดตัว KRAC ศูนย์ความรู้ต้านโกง

คอร์รัปชันเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนอย่างมาก ถ้าไม่แก้ไขทุกมิติอย่างครอบคลุมผลที่ตามมาอาจกลายเป็นเพิ่มปัญหาให้สังคมได้ จึงต้องใช้วิธีที่มีประสิทธิภาพ หนึ่งในนั้นคือการใช้ความรู้ทางวิชาการ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติจึงได้ร่วมมือกับคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ จัดตั้ง “ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค” (Knowledge hub for Regional Anti-corruption and good governance Collaboration: KRAC) ขึ้น เมื่อ 24 เมษายนที่ผ่านมา

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : เดินทางไกลเพื่อเรียนรู้การต้านโกง

สวัสดีจากซานฟรานซิสโก คุณอยู่กับต่อภัสสร์และนี่คือแก้โกงไกลบ้าน…ชวนอ่านว่าในต่างประเทศมีการพัฒนาเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชันอย่างไร ? แล้วการเปิดเผยข้อมูลมีความสำคัญอย่างไร ?

You might also like...

บทความวิจัย : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี

เมื่อการกระจายอำนาจกลับกลายเป็นการกระจายการทุจริตสู่ท้องถิ่น เพื่อยับยั้งปัญหาคอร์รัปชันในท้องถิ่น จึงต้องส่งเสริมการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล (กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี)

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I UNODC จับมือไนจีเรียจัดทำรายงานการทุจริตในไนจีเรีย ชี้ “การติดสินบนได้รับการยอมรับน้อยลง”

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า “การทุจริตในไนจีเรีย: รูปแบบและทิศทาง (Corruption in Nigeria: Patterns and Trends)” เป็นการสำรวจเกี่ยวกับการรับรู้การทุจริตของประชาชนในประเทศไนจีเรียจากประสบการณ์ของประชาชน นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์แนวโน้มการทุจริต ประสิทธิภาพของกลยุทธ์ และแนวทางการต่อต้านการทุจริตอีกด้วย

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : โกง (เรื่อง) กิน ฉ่ำๆ หม่ำๆ แบดกาย แบดกายหม่ำๆ

เมื่อวันแม่ที่ผ่านมาหลายๆ ท่านคงพาคุณแม่ไปทานข้าว หรืออาจกลับบ้านไปทานข้าวกับคุณแม่และครอบครัว เพราะสำหรับคนไทยแล้ว “อาหารเป็นเรื่องสำคัญ” ดังนั้นในวันสำคัญการนัดรวมตัวกันกินข้าวจึงเป็นเรื่องจำเป็น