โครงการตลาดเชิงประยุกต์สำหรับการกระตุ้นและจําแนกกลุ่มประชาชนที่มีความตระหนักรู้เกี่ยวกับการต่อต้านคอร์รัปชัน

แนวทางการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการต่อต้านคอร์รัปชันที่มีประสิทธิภาพ ยังขาดองค์ความรู้และความเข้าใจด้านการจัดจำแนกกลุ่มประชาชนที่มีพฤติกรรมการต่อต้านการคอร์รัปชัน เพื่อสร้างกลยุทธ์ในการสื่อสารด้านการต่อต้านคอร์รัปชันที่เหมาะสมสำหรับคนไทย 4.0

แนวทางการต่อต้านคอร์รัปชันที่มีประสิทธิภาพ คือแนวทางการมีส่วนร่วมภาคประชาชน อย่างไรก็ตาม แนวคิดเรื่องการต่อต้านคอร์รัปชันยังขาดองค์ความรู้และความเข้าใจด้านการจัดจำแนกกลุ่มประชาชนที่มีพฤติกรรมการต่อต้านการคอร์รัปชัน เพื่อสร้างกลยุทธ์ในการสื่อสารด้านการต่อต้านคอร์รัปชันที่เหมาะสมสำหรับคนไทย 4.0

งานวิจัยเรื่องนี้ จึงใช้ศาสตร์การตลาดจําแนกกลุ่ม และศึกษาลักษณะซ่อนเร้นของผู้ที่มีพฤติกรรมต่อต้านคอร์รัปชันที่แตกต่างกันในสังคมไทย เพื่อออกแบบกลไกกระตุ้นการมีส่วนร่วมของคนในสังคมที่มีความหลากหลาย

โดยจากการศึกษา พบว่าปัจจัยที่ควรนำมาใช้ในการแบ่งกลุ่มเพื่อดำเนินนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชัน คือ ปัจจัยเชิงสังคม วัฒนธรรม และจิตวิทยา ซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มคนได้อย่างมีประสิทธิภาพและชัดเจนเหมาะสมกว่า ในส่วนของปัจจัยที่ส่งผลต่อการต่อต้านคอร์รัปชัน ได้เเก่ บรรทัดฐานส่วนบุคคล และความเป็นชาย

ดังนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการต่อต้านคอร์รัปชัน จึงควรให้ความรู้ด้านบรรทัดฐานด้านคอร์รัปชันแก่สังคมอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นให้กลุ่มเป้าหมาย เห็นปัญหาของการคอร์รัปชันที่ชัดเจน และต้องกำหนดกรอบบรรทัดฐานทางสังคมของการคอร์รัปชันให้เข้าใจง่ายและถูกต้อง เพื่อปลุกจิตสำนึกและกระตุ้นให้เกิดบรรทัดฐานส่วนบุคคลด้านคอร์รัปชันในวงกว้างมากขึ้น นอกจากนี้ การสื่อสารให้เกิดความรู้สึกถึงความสำคัญของความเท่าเทียมกันระหว่างหญิงและชาย ทั้งในเรื่องทัศนคติ ความคิด ความเชื่อ ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่สามารถกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการต่อต้านคอร์รัปชันได้

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • ผลจากการศึกษา สามารถยืนยันผลได้ว่าปัจจัยซ่อนเร้นตามลักษณะทางวัฒนธรรม ค่านิยม และทัศนคติของคนทั่วไป สามารถนำมาแบ่งแยกกลุ่มคนที่มีพฤติกรรมต่อต้านคอร์รัปชันที่แตกต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งลักษณะแฝงร่วมที่ชัดเจนระหว่างกลุ่มที่ต่อต้านคอร์รัปชันสูง และต่อต้านคอร์รัปชันต่ำนั้น ประกอบด้วย บรรทัดฐานส่วนตน ความเชื่อในอำนาจของตน ความกลัวความเสี่ยงต่อผลลัพธ์ ความหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอนของกระบวนการ และความยึดมั่นในผลประโยชน์ อีกทั้ง เมื่อบรรทัดฐานส่วนตนสูงขึ้น การต่อต้านคอร์รัปชันก็จะสูงขึ้นตามด้วย
  • ผลจากการศึกษา ได้เสนอแนะว่าการให้ความรู้ และปลูกจิตสำนึกเพื่อสร้างบรรทัดฐานส่วนตนด้านการคอร์รัปชัน มีความสำคัญอย่างยิ่งในการกระตุ้นให้คนในสังคม ลุกขึ้นมาต่อต้านคอร์รัปชัน ในขณะเดียวกัน กลุ่มที่มีความเป็นชายต่ำ หรือในที่นี้หมายถึงคนที่มีความดุดัน บึกบึนต่ำ จะมีการต่อต้านคอร์รัปชันสูง ซึ่งสามารถอภิปรายได้ว่าการปลูกจิตสำนึกและทัศนคติด้านความเท่าเทียมระหว่างชายและหญิง สามารถเป็นแนวทางหนึ่งในการกระตุ้นให้เกิดการต่อต้านคอร์รัปชันได้มากขึ้น
  • ผลจากการศึกษา ได้เสนอแนวทางการต่อยอดข้อเสนอแนะจากงานวิจัย ว่าสามารถนำองค์ความรู้ด้านแนวทางการจัดจำแนกกลุ่มประชาชนที่มีพฤติกรรมการต่อต้านคอร์รัปชัน และการจัดทำกลยุทธ์ในการสื่อสารด้านการต่อต้านคอร์รัปชันที่เหมาะสมกับองค์กรที่เกี่ยวข้อง ผ่านการจัดทำ digital content ในรูปแบบที่น่าสนใจ เช่น วิดีโอ และอินโฟกราฟิก โดยเน้นสื่อสารเรื่องการสร้างบรรทัดฐานส่วนตนด้านการคอร์รัปชัน และการปลูกจิตสำนึก และทัศนคติด้านความเท่าเทียมระหว่างชายและหญิง
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

ต่อภัสสร์ ยมนาค, เอกก์ ภทรธนกุล, อภิชาต คณารัตนวงศ์, ธานี ชัยวัฒน์, ปฏิพัทธ์ สุสำเภา. (2563). การตลาดเชิงประยุกต์สำหรับการกระตุ้นและจําแนกกลุ่มประชาชนที่มีความตระหนักรู้เกี่ยวกับการต่อต้านคอร์รัปชัน. แผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคมแผนงานคนไทย 4.0 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.).

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2561
ผู้แต่ง
  • ต่อภัสสร์ ยมนาค
  • เอกก์ ภทรธนกุล
  • อภิชาต คณารัตนวงศ์
  • ธานี ชัยวัฒน์
  • ปฏิพัทธ์ สุสำเภา
หน่วยงาน
หัวข้อ
Related Content

โครงการวิจัยและประสานงานเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน

เพื่อออกแบบงานวิจัยสำหรับแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันบนฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงพัฒนาระบบและเครื่องมือใหม่ในการป้องกันและลดคอร์รัปชันในระดับพื้นที่

โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2

จัดทำข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยเน้นแนวทางการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันจากมุมมองของประชาชน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR) และกระบวนการ Design Thinking เต็มรูปแบบ

โครงการวิจัยการสังเคราะห์รูปแบบ กลไกและแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ศึกษาพัฒนาการของรูปแบบ กลไก และแนวทางการปลูกฝังเจตคติ และวัฒนธรรมสุจริตที่มีผลต่อการป้องกันการทุจริตของไทย และศึกษากรณีของต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อไป

โครงการวิจัยการศึกษาแนวทางความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

นำเสนอแนวคิดและกิจกรรมที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพการดำเนินงานของ ป.ป.ช. ในการแก้ไขปัญหาการทุจริต และเสนอแนวทางการพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลร่วมกันผ่านกระบวนการประสานข้อมูลระหว่างหน่วยงานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

You might also like...

บทความวิจัย : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี

เมื่อการกระจายอำนาจกลับกลายเป็นการกระจายการทุจริตสู่ท้องถิ่น เพื่อยับยั้งปัญหาคอร์รัปชันในท้องถิ่น จึงต้องส่งเสริมการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล (กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี)

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I UNODC จับมือไนจีเรียจัดทำรายงานการทุจริตในไนจีเรีย ชี้ “การติดสินบนได้รับการยอมรับน้อยลง”

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า “การทุจริตในไนจีเรีย: รูปแบบและทิศทาง (Corruption in Nigeria: Patterns and Trends)” เป็นการสำรวจเกี่ยวกับการรับรู้การทุจริตของประชาชนในประเทศไนจีเรียจากประสบการณ์ของประชาชน นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์แนวโน้มการทุจริต ประสิทธิภาพของกลยุทธ์ และแนวทางการต่อต้านการทุจริตอีกด้วย

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : โกง (เรื่อง) กิน ฉ่ำๆ หม่ำๆ แบดกาย แบดกายหม่ำๆ

เมื่อวันแม่ที่ผ่านมาหลายๆ ท่านคงพาคุณแม่ไปทานข้าว หรืออาจกลับบ้านไปทานข้าวกับคุณแม่และครอบครัว เพราะสำหรับคนไทยแล้ว “อาหารเป็นเรื่องสำคัญ” ดังนั้นในวันสำคัญการนัดรวมตัวกันกินข้าวจึงเป็นเรื่องจำเป็น