โครงการวิจัยการศึกษาแนวทางความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

นำเสนอแนวคิดและกิจกรรมที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพการดำเนินงานของ ป.ป.ช. ในการแก้ไขปัญหาการทุจริต และเสนอแนวทางการพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลร่วมกันผ่านกระบวนการประสานข้อมูลระหว่างหน่วยงานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

งานวิจัยเรื่องนี้ มุ่งศึกษาเพื่อสร้างความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตระหว่าง สำนักงาน ป.ป.ช. และภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม โดยใช้กรอบแนวคิดการอภิบาลผ่านการร่วมมือ (Collaboration Governance) เป็นกรอบทฤษฎีในการศึกษาเรื่องนี้ รวมถึงได้ศึกษาวิวัฒนาการความร่วมมือของสำนักงาน ป.ป.ช. กับภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น ซึ่งทำให้การแสวงหาความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ เกิดขึ้นได้ยาก

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • ในส่วนของการแก้ไขปัญหาดังกล่าว คณะผู้วิจัย ได้จัดทำขึ้นตามแนวทางการอภิบาลผ่านการร่วมมือ (Collaboration Governance) โดยนำ  K-PACT หรือ Korea Pact ซึ่งเป็นลักษณะสัญญาประชาคมที่จะมีการร่วมมือในสองระดับ คือ สภาระดับชาติ และสภาเครือข่ายของภาคส่วนต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในกรณีของไทยเป็น T-PACT หรือ Thailand Pact เพื่อให้เหมาะสมกับบริบทของไทย โดยรายละเอียดข้อเสนอของตัวแบบที่ได้ดำเนินการศึกษา ระบุว่าสำนักงาน ป.ป.ช.  ควรจะมีหน่วยงานเพิ่มขึ้นอีก 3 หน่วยงาน เพื่อทำหน้าที่นอกเหนือจากงานที่ดำเนินการอยู่แล้วในปัจจุบัน ดังนี้
    1. งานด้านความร่วมมือ ได้แก่ (1) งานร่วมมือทั่วไป ซึ่งเป็นการสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ในรูปของสำนักเลขาธิการสภาความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (2) งานร่วมมือในการจัดหาทุนให้กับกองทุนสนับสนุนการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และ (3) งานร่วมมือในการจัดหางบประมาณ และแนวทางสร้างแรงจูงใจให้แก่พยานและผู้แจ้งเบาะแส เพื่อให้หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ สามารถปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้นโยบายของสำนักงาน ป.ป.ช.

    2. งานสารสนเทศ ได้เเก่ การดูแลเว็บไซต์กลาง เพื่อให้เกิดการไหลเวียนของข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและมีจำนวนมากพอที่จะจัดการกับกรณีทุจริตได้อย่างทันท่วงที

    3. งานวิชาการที่เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เพื่อเผยแพร่ให้สมาชิกในเครือข่ายทั้งหมดได้ทราบ

  • ผลจากการศึกษา ได้ระบุส่วนที่มีความสำคัญมากที่สุด คือ การให้ความคุ้มครองแก่ผู้แจ้งเบาะแสและพยาน รวมทั้งการสร้างแรงจูงใจแก่พยาน เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนให้ความร่วมมือในการแจ้งเบาะแส และเข้ามาเป็นพยานมากขึ้น หากสำนักงาน ป.ป.ช. ดำเนินงานได้ตามตัวแบบดังกล่าวนี้ทั้งหมด จะเป็นการสร้างความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตจากทุกภาคส่วนอย่างเข้มแข็ง
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

อภิชัย พันธเสน. (2550). โครงการวิจัยการศึกษาแนวทางความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต. สถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2550
ผู้แต่ง

อภิชัย พันธเสน

หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

บทความวิจัย : รูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนววิถีพุทธในงานต่อต้านการทุจริต และการสร้างเครือข่ายต่อต้านการทุจริตอย่างยั่งยืน

การพัฒนากิจกรรมสำหรับต่อต้านการทุจริตควรมีการประยุกต์หลักพุทธธรรมและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ

บทความวิจัย : การแก้ปัญหาคอรัปชันในยุคดิจิทัลตามแนวพุทธจริยธรรม

หิริโอตตัปปะ ฆราวาสธรรม และทิศ 6 หลักธรรมที่ควรนำมาประยุกต์เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาคอรัปชันในยุคดิจิทัล เพราะการแก้ปัญหาอาจต้องย้อนกลับไปแก้ไขที่รากเหง้า คือ การสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจ

บทความวิจัย : กบฏโพกผ้าเหลือง กับเสถียรภาพทางการเมืองในวรรณกรรมสามก๊ก

“กบฎโพกผ้าเหลือง” สะท้อนให้เห็นว่าการฉ้อราษฎร์บังหลวงในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจนำมาสู่การล่มสลายของราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ดังนั้น เพื่อเสถียรภาพทางการเมือง รัฐจะต้องมีมาตรการป้องกันการทุจริตคอรัปชัน ควบคู่ไปกับการดูแลประชาชนให้อยู่ดีกินดี

บทความวิจัย : การประยุกต์ใช้เทคนิคการตอบสนองเชิงสุ่ม สําหรับศึกษาพฤติกรรมเชิงปกปิดของนักศึกษาสาขาสถิติประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

นำเสนอเทคนิคการตอบสนองเชิงสุ่มของกรีนเบิร์ก เพื่อศึกษาพฤติกรรมเชิงปกปิดอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงเรื่องระบบความคิด ค่านิยม และพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของวัยรุ่น ซึ่งหมายรวมถึงพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทุจริต

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ท้องถิ่นอาจช้ำ เมื่อความเหลื่อมล้ำถูกซ้ำด้วยการจัดสรรงบประมาณที่ไม่มีประสิทธิภาพ

รู้หรือไม่ ? การจัดสรรเงินอุดหนุนจากรัฐบาลกลางที่ไม่เป็นธรรม ไม่โปร่งใส และขาดเป้าหมายชัดเจน อาจกลายเป็นการเพิ่มปัญหาความเหลื่อมล้ำในท้องถิ่น แทนที่จะช่วยลดช่องว่างทางเศรษฐกิจ แล้วเราจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร ?

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | โควิด-19 ส่งผลอย่างไรต่อสถานการณ์คอร์รัปชันและธรรมาภิบาล ?

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ไม่ได้ส่งผลกระทบแค่สุขภาพและเศรษฐกิจ แต่ยังทำให้การต่อต้านคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลเผชิญความท้าทายใหม่ ๆ เช่น การใช้อำนาจพิเศษของรัฐ ความไม่เท่าเทียมที่เพิ่มขึ้น และการจัดซื้อจัดจ้างแบบฉุกเฉินที่เสี่ยงต่อการทุจริต แล้วเราจะฟื้นฟูผลกระทบเหล่านี้ได้อย่างไร ?

KRAC The Experience | EP 8: Networks is in every way, Offline and Online Against Corruption

“การทำงานเป็นเครือข่ายจะช่วยเสริมสร้างการทำงานต่อต้านคอร์รัปชันอย่างไร ?” เรามีคำตอบมาให้จากแนวทางการขับเคลื่อนการต่อต้านคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นในระดับโลก🌏 ร่วมไขข้อสงสัยได้ที่ KRAC The Experience ตอน Networks is in every way, Offline and Online Against Corruption