กระบวนการติดตั้งระบบและกลไกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนบางบัว เขตบางเขน และชุมชนหลังแฟลตร่วมพัฒนา เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร

ศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนากลไกป้องกันปัญหาคอร์รัปชัน ผ่านกติกาชุมชน รวมถึงพัฒนากลไกหนุนเสริมในการขับเคลื่อน เพื่อให้ชุมชนใช้เป็นแนวปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ

การศึกษานี้ ให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการติดตั้งระบบและกลไกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน โดยผ่านกติกาชุมชนที่สมาชิกชุมชนร่วมกันกําหนด รวมถึงการพัฒนากลไกหนุนเสริมในการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันในชุมชน และได้จัดทําเป็นคู่มือชุมชนต้านคอร์รัปชันภายใต้หลักธรรมาภิบาล เพื่อให้ชุมชนใช้เป็นแนวปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องฝังรากลึกจนกลายเป็นวิถีวัฒนธรรมชุมชน

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • ผลจากการศึกษา พบว่าการติดตั้งระบบและกลไกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ผ่านกติกาชุมชนที่ได้ร่วมกันกําหนด เพื่อการทํางานของคณะกรรมการชุมชน ประกอบด้วย 7 ประเด็นสำคัญได้แก่ (1) การประชุมและองค์ประชุมของคณะกรรมการชุมชน (2) การเงินและแบบฟอร์มทางการเงินของชุมชน (3) การรับสิ่งของบริจาคของคณะกรรมการชุมชน (4) การเปิดโอกาสให้สมาชิกชุมชน โดยเฉพาะเยาวชนคนรุ่นใหม่ มีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน (5) การสื่อสารและการเปิดเผยข้อมูลแก่สมาชิกชุมชน (6) กระบวนการหนุนเสริมเพื่อการต้านคอร์รัปชันในชุมชน และ (7) กระบวนการทํางานเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายภายนอก
  • ผลจากการศึกษา พบว่าจากการทดลองปฏิบัติการติดตั้งระบบและกลไกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ผ่านกติกาชุมชนที่ได้ร่วมกันกําหนด เพื่อการทํางานของคณะกรรมการชุมชนในช่วงระยะที่ดําเนินการ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมของทั้งสองชุมชน โดยชุมชนเห็นถึงความสําคัญของการตรวจสอบการทํางานของคณะกรรมการชุมชนมากขึ้น และเกิดความตื่นตัวต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการของคณะกรรมการชุมชน ทั้งการร้องเรียน และส่งข้อเสนอแนะผ่านช่องทางที่หลากหลายที่คณะกรรมการชุมชนได้จัดทําขึ้นตามกติกาชุมชน
  • เพื่อให้ระบบและกลไกสามารถขับเคลื่อนผ่านกติกาชุมชน อย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นแนวปฏิบัติในวิถีวัฒนธรรมชุมชน คณะผู้วิจัย จึงมีข้อเสนอแนะแบ่งออกเป็น 2 ระดับ ดังนี้
    1. ระดับชุมชน คณะกรรมการชุมชนต้องยึดกติกาชุมชนที่ได้ร่วมกันกําหนดขึ้นตามหลักธรรมาภิบาล และใช้เป็นวิธีปฏิบัติงานของชุมชนที่ต้องปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง โดยเฉพาะคณะกรรมการชุดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายเงินจํานวนมาก
    2. ระดับนโยบาย สำนักงานเขตบางเขน สํานักงานเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร และสํานักงาน ป.ป.ช. ต้องสนับสนุนและเร่งผลักดันทั้ง 2 ชุมชนที่เป็นพื้นที่ศึกษาวิจัย ให้เกิดการตื่นตัวและปฏิบัติตามกติกาชุมชนอย่างต่อเนื่องในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน และควรนํารูปแบบที่ได้จากการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมจากทั้งสองชุมชนไปใช้ในการขับเคลื่อนเป็นต้นเเบบให้เกิดผลสําเร็จต่อไป
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

อมรรัตน์ กุลสุจริต, เพ็ญประภา ภัทรานุกรม, สุจิตรา สามัคคีธรรม, ปรีชา ปิยจันทร์ และหฤทัย กมลศิริสกุล. (2563). กระบวนการติดตั้งระบบและกลไกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนบางบัว เขตบางเขน และชุมชนหลังแฟลตร่วมพัฒนา เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2562
ผู้แต่ง
  • อมรรัตน์ กุลสุจริต
  • เพ็ญประภา ภัทรานุกรม
  • สุจิตรา สามัคคีธรรม
  • ปรีชา ปิยจันทร์
  • หฤทัย กมลศิริสกุล
หน่วยงาน
หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการประสานงานวิจัยและส่งเสริมศักยภาพเครือข่ายเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน

การออกแบบกระบวนการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล จำเป็นจะต้องเข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้งจากมุมมองที่หลากหลาย และบริบทรอบด้านที่เป็นทั้งปัจจัยสนับสนุนและอุปสรรคต่อการแก้ไขปัญหานี้

แนวทางการเสริมสร้างธรรมาภิบาลท้องถิ่นและการเฝ้าระวังติดตามการคอร์รัปชันโดยชุมชนมีส่วนร่วม กรณีศึกษา : พื้นที่อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน

เพื่อศึกษาบริบทของชุมชน ทุนทางสังคม และสถานการณ์ธรรมาภิบาลและการคอร์รัปชันในระดับพื้นที่ รวมถึงระบบและกลไกทางสังคมต่อการจัดการ และป้องกันปัญหาโดยชุมชนมีส่วนร่วม

แนวทางการพัฒนาระบบและกลไกเพื่อพัฒนาชุมชนให้เป็นสังคมที่ปลอดคอร์รัปชันโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน: กรณีศึกษา ชุมชนในเขตบางเขน เขตสายไหม เขตดอนเมือง และเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร

ศึกษาสภาพปัญหาและปัจจัยที่ก่อให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชัน ตลอดจนรูปแบบและช่องทางการแก้ไขปัญหาในการดำเนินกิจกรรมในชุมชน โดยมีชุมชนเป็นหัวใจในการขับเคลื่อน

You might also like...

KRAC Hot News I ปลดล็อกรังนกจากถ้ำสู่บ้านอย่างไร ให้โปร่งใสไร้ทุจริต

การส่งออกรังนกไทยมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามความต้องการของผู้บริโภค ธุรกิจรังนกจึงสร้างรายได้มหาศาลให้กับเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน แต่หากขาดการกำกับดูแลให้โปร่งใส อาจจะก่อให้เกิดผลเสียมหาศาลกับธุรกิจไทยได้

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | “ธรรมาภิบาล” หลักการที่ยืดหยุ่น พร้อมสร้างประสิทธิภาพ

เคยสงสัยไหมว่าทำไมหลักธรรมาภิบาลของแต่ละองค์กรถึงดูไม่เหมือนกัน บางองค์กรมี 6 หลัก บางองค์กรมี 8 หลัก ความจริงแล้วหลากหลายองค์กรทั่วโลกล้วนมีการวางแนวคิดเกี่ยวกับธรรมาภิบาลที่ต่างกัน โดยงานวิจัยเรื่อง “โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูล องค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (ระยะที่ 2)” (2563) ได้ศึกษาเรื่องนี้เอาไว้

โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (Phase 2)

การศึกษาเพื่อสร้างตัวชี้วัดสำหรับการประเมินและติดตามการนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการบริหารจัดการขององค์กรในประเทศไทย พบว่า มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในระดับมาก และยังสามารถปรับปรุงดัชนีชี้วัดบางตัวเพื่อให้สอดคล้องการทำงานของแต่ละหน่วยงานได้