การศึกษาเปรียบเทียบเงินสนับสนุนพรรคการเมืองในประเทศไทย และอินโดนิเซีย นำไปสู่การพัฒนาพรรคการเมือง หรือการคอร์รัปชัน

ศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างของกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองในประเทศไทย และอินโดนีเซีย ว่าส่งผลต่อการพัฒนาพรรคการเมืองใน 2 ประเทศ มากน้อยแค่ไหนอย่างไร

หลังจากการปฏิรูปทางการเมืองในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2540 และการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตยในประเทศอินโดนีเซีย พ.ศ. 2541 ทั้ง 2 ประเทศ ได้ประกาศให้มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อการสนับสนุนพรรคการเมือง โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เป็นแหล่งเงินทุนในการพัฒนาพรรคการเมืองให้เข้มแข็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาเลือกตั้ง

อย่างไรก็ตาม ผลจากการให้งบประมาณเพื่อการสนับสนุนพรรคการเมืองของทั้ง 2 ประเทศ ไม่ได้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ แต่กลับส่งผลให้เกิดการคอร์รัปชันในงบประมาณเพื่อการสนับสนุนพรรคการเมือง อีกทั้ง ไม่ได้นำเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐไปใช้ เพื่อการพัฒนาองค์กรของตนเองอย่างแท้จริง งานวิจัยนี้ จึงมุ่งศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างของกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองในประเทศไทยและอินโดนีเซีย ว่าส่งผลต่อการพัฒนาพรรคการเมืองใน 2 ประเทศ มากน้อยแค่ไหนอย่างไร

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • ผลจากการศึกษา พบว่าเงินกองทุนสนับสนุนพรรคการเมืองของประเทศไทย และอินโดนีเซีย ไม่ได้นำมาซึ่งการพัฒนาพรรคการเมืองสู่องค์กรที่เข้มแข็งอย่างแท้จริง หากแต่นำมาสู่ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันของพรรคการเมืองในลักษณะที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการการเลือกตั้งของทั้ง 2 ประเทศ ต่างพยายามปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ และกฎเกณฑ์ในการจัดสรรงบประมาณ และบทลงโทษต่อพรรคการเมืองที่กระทำผิด และพยายามแสวงหาผลกำไรจากงบประมาณเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง เพื่อให้งบประมาณถูกนำไปใช้อย่างโปร่งใส และมีประสิทธิภาพในการพัฒนาพรรคการเมืองและการเมืองโดยภาพรวมของประเทศต่อไป
  • ผลจากการศึกษา ได้ให้ข้อเสนอแนะต่อพรรคการเมืองในการบริหารจัดการเงินจัดสรรจากกองทุนพัฒนาพรรคการเมือง โดยระบุว่าพรรคการเมืองของทั้ง 2 ประเทศ ควรจัดกิจกรรมทางการเมืองโดยให้ความสำคัญกับการสร้างความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับสมาชิกพรรค เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในพรรคการเมืองที่ตนเองสังกัด นอกจากนี้ ยังควรนำงบประมาณที่ได้ไปใช้ในการขยายฐานเสียงของพรรคในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างเหมาะสมและเท่าเทียม เพื่อไม่ให้พื้นที่สาขาพรรคต้องหันไปพึ่งพานักการเมือง หรือสมาชิกผู้แทนราษฎรของพื้นที่แทน รวมถึงพรรคการเมืองควรจัดทำรายงานการเงิน และรายงานประจำปีในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้กับคณะกรรมการการเลือกตั้งให้ตรงเวลา และมีความถูกต้อง ครบถ้วน
  • ผลจากการศึกษา ได้ให้ข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยระบุว่าควรจัดสรรงบประมาณให้แก่พรรคการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้ง และส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างแรงจูงใจให้พรรคการเมืองที่ไม่ได้รับเงินจัดสรร พยายามพัฒนาองค์กรให้พรรคได้รับการเลือกตั้งต่อไปในอนาคต และควรมีกระบวนการตรวจสอบการจัดกิจกรรมทางการเมืองตามโครงการที่พรรคการเมืองเสนอขอรับงบประมาณจากกองทุน  รวมถึงควรมีการจัดอบรมให้พรรคการเมืองขนาดเล็กมีความรู้ในทางกฎหมายมากขึ้น เพื่อส่งเสริมการระดมทุนของพรรค อันจะมีส่วนสนับสนุนให้พรรคการเมืองสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประชาชนในพื้นที่ได้
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

พรรณชฎา ศิริวรรณบุศย์ และประณต นันทิยะกุล. (2557). การศึกษาเปรียบเทียบเงินสนับสนุนพรรคการเมืองในประเทศไทย และอินโดนิเซีย นำไปสู่การพัฒนาพรรคการเมือง หรือการคอร์รัปชัน. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2557
ผู้แต่ง
  • พรรณชฎา ศิริวรรณบุศย์
  • ประณต นันทิยะกุล
หน่วยงาน
หัวข้อ
Related Content

โครงการเฝ้าระวังและป้องกันการทุจริตจากนโยบายและโครงการของรัฐ

งานวิจัยนี้ จะพาไปทำความเข้าใจรูปแบบ คุณลักษณะ และวิธีการดำเนินนโยบาย มาตรการ หรือโครงการของรัฐเพื่อหาวิธีการเฝ้าระวังและป้องกันการทุจริตที่เกิดขึ้น

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก

เพื่อประมาณการต้นทุน รายรับ การขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคมของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก และประมาณการผลตอบแทนส่วนเกินที่ตกแก่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์การแสวงหาค่าเช่า และศึกษาการทุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง

โครงการพัฒนากฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริต

เพื่อศึกษาเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 244 มาตรา 245 ประกอบมาตรา 221 เกี่ยวกับการวางระบบการร่วมมือกันทำงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เพื่อกำหนดมาตรการ และวิธีการทำงานร่วมมือกันของ
องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเชิงนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพ
ประสิทธิผล

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | เบื้องหลังการทุจริตภาษีศุลกากร: เมื่อบริษัทปลอมกลายเป็นเครื่องมือเลี่ยงภาษี

บริษัทปลอม vs ศุลกากร : หนีภาษีเขาทำกันอย่างไร ? วิธีป้องกันบริษัทปลอม แหล่งหนีภาษาศุลกากรหลักหมื่นล้าน !! กระบวนการเหล่านี้จะเป็นอย่างไร ? แต่ละตัวละครทำหน้าที่อะไร สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “การศึกษากลุ่มอิทธิพลซึ่งนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบ: กรณีศึกษาการทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีศุลกากรในประเทศไทย” (2561)

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : เมื่อชีวิตมีแค่ทางเลือกที่แย่กับแย่น้อยกว่า: ปัญหามลพิษในประเทศไทยหนักแค่ไหน ?

รู้หรือไม่ว่าในชีวิตประจำวันของคนไทย การตัดสินใจง่ายๆ อย่างการเปิดหรือปิดหน้าต่างกลับสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของคุณภาพชีวิตและปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ผู้เขียนจึงอยากเชิญชวนให้ผู้อ่านทุกท่านทำความเข้าใจปัญหามลพิษในอากาศจากก๊าซเรดอนในอาคาร ปัญหาฝุ่นควัน PM2.5 และความสำคัญของการบริหารจัดการของภาครัฐ ผ่านพฤติกรรมง่ายๆ อย่างการเปิดหรือปิดหน้าต่าง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | แก้เกมฟอกเงิน แก้โกงงบประมาณ

ปัญหาฟอกเงินไทย อะไรคือจุดอ่อน ? ชวนสำรวจแนวทางการป้องกันฟอกเงินด้วยการแก้กฎหมายบางมาตรา และสร้างความร่วมมือเพื่อให้เกิดความโปร่งใส จากงานวิจัยเรื่อง การต่อต้านการคอร์รัปชัน: มาตรการการควบคุมการเคลื่อนไหวของเงิน (2558)