คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : การยกระดับธรรมาภิบาลในภาคสื่อมวลชน : เครือข่ายสื่อต้านโกง

สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่านทุกท่านเราห่างหายกันไปนานจากการอัปเดตความคืบหน้าการยกระดับธรรมาภิบาลในภาคส่วนต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน จากบทความตอนที่แล้วเรื่อง “Collaboration for Good Governance สรุปผลการดำเนินงานโครงการปี 2566” มีการสรุปผลการดำเนินงานโครงการในปีที่ผ่านมาและเรามีการเกริ่นถึงการขยายความร่วมมือในการสร้างเสริมธรรมาภิบาลไปยังภาคส่วนต่างๆ ของสังคมให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันโครงการร้อยพลังฯ ได้มีการขยายความร่วมมือเพื่อยกระดับธรรมาภิบาลในภาคสื่อมวลชน ซึ่งจะเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชันเพื่อให้เกิดระบบนิเวศการต่อต้านคอร์รัปชันที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

โครงการร้อยพลังสร้างเสริมธรรมาภิบาล ภายใต้งานร้อยพลังสร้างสังคมดีมูลนิธิเพื่อคนไทย ร่วมกับงานสื่อสารสังคมสนับสนุนภาคี มูลนิธิเพื่อคนไทย คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชันและส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค (KRAC) คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) บริษัทแฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด และภาคีเครือข่าย ร่วมกันพัฒนา “โครงการสนับสนุนการทำงานสื่อสืบสวนประเด็นทุจริตคอร์รัปชัน” ซึ่งมีเป้าหมายในการดำเนินงาน เพื่อสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายสื่อมวลชนที่สามารถทำงานตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐและเฝ้าระวังไม่ให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชันในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตลอดจนสนับสนุนการนำเสนอข้อมูลเพื่อให้สังคมเกิดความตระหนักรู้และมีส่วนร่วมในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน

คณะทำงานโครงการสนับสนุนการทำงานสื่อสืบสวนฯ ได้มีการจัดทำแผนการดำเนินงานโดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาปัญหา/อุปสรรคการทำข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนประเด็นทุจริตคอร์รัปชันของสื่อมวลชน และการประสานงานเพื่อความร่วมมือภาคีเครือข่ายสื่อมวลชน พร้อมทั้งการนำข้อมูลจากการศึกษามาออกแบบกิจกรรมส่งเสริมการระดมความร่วมมือต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันภาคสื่อมวลชน (Roundtable Discussion) ระยะที่ 2การจัดกิจกรรมส่งเสริมการระดมความร่วมมือต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันภาคสื่อมวลชน (Roundtable Discussion) โดยจะมีการเชิญชวนภาคีเครือข่ายสื่อมวลชนเข้ามาร่วมพูดคุยเพื่อหารือแนวทางความร่วมมือในการขับเคลื่อนงานร่วมกัน และระยะที่ 3 การสรุปผลการดำเนินงานโครงการ และการสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการจัดกิจกรรมเพื่อทำการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ให้เกิดการรับรู้สู่สังคมในวงกว้าง

ความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการ อยู่ระหว่างการดำเนินงานในระยะที่ 1 คณะทำงานฯ มีการศึกษารายงานเชิงวิชาการที่เกี่ยวกับสถานการณ์การทุจริตคอร์รัปชันในสังคมไทย และการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชันของภาคสื่อมวลชน พบว่า สถานการณ์ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันในสังคมไทยยังมีความรุนแรง และเอื้อให้ผู้กระทำความผิดกล้าตัดสินใจลงมือทำการทุจริตได้ง่าย จนส่งผลให้พฤติกรรมการทุจริตคอร์รัปชันมีการปรับตัวจนเกิดความซับซ้อนและแยบยลมากยิ่งขึ้น ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันเนื่องมาจากการขาดการติดตามอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันนักข่าวและการนำเสนอข่าวสืบสวนสอบสวนประเด็นทุจริตคอร์รัปชันยังมีจำนวนไม่เพียงพอจึงทำให้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในหลายๆ ประเด็นไม่ถูกติดตาม เฝ้าระวัง และเปิดโปงอย่างต่อเนื่อง การขาดช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลและการเปิดโปงกระบวนการทุจริตที่แม่นยำทำให้การทำข่าวสืบสวนสอบสวนประเด็นทุจริตคอร์รัปชันมักเจออุปสรรคในการเข้าถึงแหล่งข้อมูล การขุดคุ้ย และการตั้งข้อสังเกตสำหรับการทำข่าวเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก และการขาดเครือข่ายสื่อมวลชนในการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ ที่จะร่วมกันเป็นกระบอกเสียงให้กับประชาชนในการผลักดันให้หน่วยงานรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องเกิดการตรวจสอบเมื่อมีประเด็นทุจริตคอร์รัปชันขึ้นในสังคม

คณะทำงานฯ มีการประสานงานเพื่อความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายสื่อมวลชนหลายสำนัก เช่น สำนักข่าวประชาไท,ทีมสื่อสาร TIJ, Nation Story, สำนักข่าว PPTV, The ISAAN Record, LANER, สำนักข่าว Thai PBS, อดีตผู้สื่อข่าว คอลัมน์หมายเลข 7, THE STANDARD, สำนักข่าวอิศรา, ทีมต้องแฉ และทีมปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน เป็นต้น เพื่อขอข้อมูลและขอสัมภาษณ์เชิงลึกในประเด็นปัญหา/อุปสรรค ความท้าทายต่าง ๆ ในการทำข่าวสืบสวนสอบสวนประเด็นทุจริตคอร์รัปชัน และบทบาทการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชันของภาคสื่อมวลชน เพื่อนำข้อมูลมาสรุปผลและนำไปพัฒนาโครงการฯ รวมทั้งการเชิญชวนเครือข่ายสื่อมวลชนเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการระดมความร่วมมือต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันภาคสื่อมวลชน (Roundtable Discussion) ที่จะจัดขึ้นในการดำเนินงานระยะที่ 2

นอกจากนี้คณะทำงานฯ ยังมีการศึกษาข้อมูลเครือข่ายสื่อมวลชนที่มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชันในระดับประเทศและต่างประเทศ พบว่า ในประเทศไทยยังไม่มีเครือข่ายสื่อมวลชนที่ทำงานประเด็นทุจริตคอร์รัปชันโดยเฉพาะ และสื่อมวลชนยังไม่มีการทำงานร่วมกันแบบเครือข่ายที่มีรูปแบบการทำงานที่ชัดเจน เนื่องจากสถานการณ์ของสื่อมวลชนปัจจุบันมีการแข่งขันค่อนข้างสูง เมื่อศึกษาข้อมูลในระดับต่างประเทศพบว่า มีเครือข่ายสื่อต่อต้านคอร์รัปชันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Journalist Against Corruption (JAC) ที่ก่อตั้งโดย 35 องค์กรสื่อจาก 7 ประเทศอาเซียน เป็นเครือข่ายที่รวมนักสื่อสารมวลชนที่ทุ่มเทในการสืบสวนและเปิดเผยปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน เครือข่ายนี้ดำเนินการโดยมีศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมืองประเทศฟิลิปปินส์ (Philippine Center for Investigative Journalism : PCIJ) เป็นองค์กรหลักในการร่วมก่อตั้งและทำหน้าที่ประสานงานความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย โดยคณะทำงานฯ เห็นว่า ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการระดมความร่วมมือต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันภาคสื่อมวลชน (Roundtable Discussion) ที่จะเกิดขึ้นในระยะต่อไป ควรมีการเชิญชวนเครือข่าย JAC เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงาน เพื่อเป็นแนวทางให้ภาคีเครือข่ายสื่อมวลชนที่ได้เห็นแนวทางการทำงานร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น

แนวทางการดำเนินงานต่อไปของโครงการคณะทำงานฯ จะนำข้อมูลจากการศึกษารายงานเชิงวิชาการ และข้อมูลจากการสัมภาษณ์เครือข่ายสื่อมวลชนมาออกแบบกิจกรรมส่งเสริมการระดมความร่วมมือต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันภาคสื่อมวลชน (Roundtable Discussion) ที่จะจัดขึ้นในระยะต่อไป

ความคืบหน้าโครงการที่ผู้เขียนได้กล่าวถึงเบื้องต้น เป็นเพียงการริเริ่มการสร้างความร่วมมือเพื่อยกระดับธรรมาภิบาลในภาคสื่อมวลชนที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน สุดท้ายนี้ผู้เขียนขอเชิญชวนทุกท่านร่วมกันติดตามกิจกรรมที่กำลังจะเกิดขึ้นภายใต้งานโครงการ โดยสามารถติดตามความเคลื่อนไหวงานได้ผ่านช่องทางเฟซบุ๊กร้อยพลังสร้างสังคมดี และเฟซบุ๊ก HAND Social Enterprise ในสิ้นปีเราคงได้เห็นความคืบหน้าการขยายความร่วมมือเพื่อยกระดับธรรมาภิบาลภาคสื่อมวลชนอย่างแน่นอน

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง

พัชรี ตรีพรม

หน่วยงานสนับสนุน

หัวข้อ
Related Content

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : อัปเดตประชุมวิชาการโลกเรื่องคอร์รัปชัน

เมื่อช่วงต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา ผศ. ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค Co-Founder บริษัท HAND Social Enterprise ได้รับเชิญไปบรรยายในงานประชุมทางวิชาการ Cambridge Economic Crime ที่จัดขึ้นเป็นปีที่ 40 แล้ว ซึ่งงานนี้ถือได้ว่าเป็นงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติที่เกี่ยวข้องกับเรื่องคอร์รัปชันที่ใหญ่ที่สุดงานหนึ่ง โดยผศ. ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค ได้เข้าร่วมบรรยายเกี่ยวกับผลงานวิจัยเรื่องประสิทธิภาพที่แท้จริงของความโปร่งใสในการต่อต้านคอร์รัปชัน ผ่านการศึกษาผลกระทบจากโครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ (Infrastructure Transparency: CoST)

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : อยากแก้ปัญหาปากท้องก่อน แต่ถ้าไม่ปฏิรูปตำรวจ ก็แก้ยาก !

ซับซ้อน ซ่อนเงื่อน มืดเทา อาจเป็นคำนิยามวงการตำรวจไทยในปัจจุบัน ? หากเราพูดถึงวงการตำรวจ หลาย ๆ คนคงจะนึกถึงเรื่องที่ตำรวจดันไปเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมกับการทุจริต ไม่ว่าจะเป็นกรณีหมูเถื่อน กำนันนก ทุนจีนสีเทา หรือข่าวอาชญากรรมต่าง ๆ แทนที่จะมองว่า ตำรวจคือผู้ที่รักษาความสงบให้บ้านเมือง และคุ้มครองประชาชนให้รู้สึกปลอดภัย

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : สติ๊กเกอร์ส่วย…แก้ได้ ?

จะแก้ปัญหาอย่างไรให้ชีวิตปลอดภัยจากผลกระทบของสินบน ? ประเด็นร้อนทุจริตเร็ว ๆ นี้คงหนีไม่พ้นเรื่อง “ส่วยสติกเกอร์” หลังว่าที่ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกลวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ออกมาแฉตั้งแต่กลไกไปจนถึงราคาอย่างที่หลายคนคงได้ยินมาบ้างแล้ว แต่ที่สำคัญกว่านั้น รู้หรือไม่ว่าเรื่องของส่วยรถบรรทุกที่ดูเหมือนเป็นเรื่องไกลตัว จริง ๆ แล้วใกล้ตัวกว่าที่เราคิด

You might also like...

บทความวิจัย : มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ

แนวทางการดำเนินคดีสำหรับผู้ทุจริตการสอบคัดเลือกเข้ารับราชการ และเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาด้านการพัฒนากฎหมายการทุจริตการสอบคัดเลือกเข้ารับราชการ

บทความวิจัย : ทางออกการป้องกันและการปราบปรามทุจริตในสังคมไทย

แนวทางแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในสังคมไทยต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคม รวมทั้งภาคประชาชนในการติดตามและตรวจสอบการทุจริตในภาครัฐ

บทความวิจัย : แนวทางพัฒนาจริยธรรมนักการเมืองไทย

การประเมินจริยธรรมของนักการเมืองโดยภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้น จึงควรมีมาตรการพัฒนาจริยธรรม มาตรการกำหนดคุณสมบัติด้านจริยธรรม และมาตรการกำหนดบทลงโทษในกรณีทำความผิด เพื่อยกระดับจริยธรรมในนักการเมืองให้สูงขึ้น