บทความวิจัย | การพัฒนาคู่มือแนวทางการนําหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้สําหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษา

แนวทางในการส่งเสริมหลักสูตรด้านคุณธรรมจริยธรรมเพื่อต่อต้านการทุจริตในสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา ควรมีการกําหนดหลักการ กระบวนการ และแนวปฏิบัติอย่างชัดเจน และควรมีแผนการเรียนรู้และสื่อการสอนที่สอดคล้องกับบริบทของผู้เรียนในสถานศึกษา 

 

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอน  เพื่อนำไปออกแบบและสร้างคู่มือแนวทางการนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ สำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษา 

 

โดยวิธีการศึกษาแบบสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพและแนวทางในการส่งเสริมและหลักสูตรด้านคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษา การออกแบบคู่มือหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา และการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของคู่มือฯ จากการสำรวจความพึงพอใจด้วยแบบสอบถามในสถานศึกษาที่ได้ทดลองใช้คู่มือฯ ที่ได้รับการออกแบบ

 

ผลจากการศึกษา ได้องค์ความรู้ใหม่จากการวิจัยและพัฒนา เรื่อง การพัฒนาคู่มือแนวทางการนําหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ สําหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษา และได้เทคนิคการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้และสื่อการสอนที่สอดคล้องกับบริบทของผู้เรียนในสถานศึกษา

 

สำหรับข้อเเนะเชิงนโยบาย ระบุว่า ควรสนับสนุนให้ครูผู้สอนร่วมกับเครือข่ายความร่วมมือว างแผนและเตรียมจัดทํากิจกรรมเพื่อนําคู่มือที่พัฒนาขึ้นไปใช้ให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงควรจัดให้มีการนิเทศติดตามและประเมินผลการดําเนินงานอย่างต่อเนื่องภายในสถานศึกษาอาชีวศึกษา และแลกเปลี่ยนสะท้อนคิดร่วมกัน

 
เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

สันติ ทองแก้วเกิด. (2565). การพัฒนาคู่มือแนวทางการนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้สำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษา. วารสารวิจยวิชาการ, 6(4), 307–324.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2565
ผู้แต่ง

สันติ ทองแก้วเกิด

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการวิจัยและประสานงานเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน

เพื่อออกแบบงานวิจัยสำหรับแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันบนฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงพัฒนาระบบและเครื่องมือใหม่ในการป้องกันและลดคอร์รัปชันในระดับพื้นที่

โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2

จัดทำข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยเน้นแนวทางการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันจากมุมมองของประชาชน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR) และกระบวนการ Design Thinking เต็มรูปแบบ

โครงการวิจัยการสังเคราะห์รูปแบบ กลไกและแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ศึกษาพัฒนาการของรูปแบบ กลไก และแนวทางการปลูกฝังเจตคติ และวัฒนธรรมสุจริตที่มีผลต่อการป้องกันการทุจริตของไทย และศึกษากรณีของต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อไป

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | เบื้องหลังการทุจริตภาษีศุลกากร: เมื่อบริษัทปลอมกลายเป็นเครื่องมือเลี่ยงภาษี

บริษัทปลอม vs ศุลกากร : หนีภาษีเขาทำกันอย่างไร ? วิธีป้องกันบริษัทปลอม แหล่งหนีภาษาศุลกากรหลักหมื่นล้าน !! กระบวนการเหล่านี้จะเป็นอย่างไร ? แต่ละตัวละครทำหน้าที่อะไร สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “การศึกษากลุ่มอิทธิพลซึ่งนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบ: กรณีศึกษาการทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีศุลกากรในประเทศไทย” (2561)

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : เมื่อชีวิตมีแค่ทางเลือกที่แย่กับแย่น้อยกว่า: ปัญหามลพิษในประเทศไทยหนักแค่ไหน ?

รู้หรือไม่ว่าในชีวิตประจำวันของคนไทย การตัดสินใจง่ายๆ อย่างการเปิดหรือปิดหน้าต่างกลับสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของคุณภาพชีวิตและปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ผู้เขียนจึงอยากเชิญชวนให้ผู้อ่านทุกท่านทำความเข้าใจปัญหามลพิษในอากาศจากก๊าซเรดอนในอาคาร ปัญหาฝุ่นควัน PM2.5 และความสำคัญของการบริหารจัดการของภาครัฐ ผ่านพฤติกรรมง่ายๆ อย่างการเปิดหรือปิดหน้าต่าง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | แก้เกมฟอกเงิน แก้โกงงบประมาณ

ปัญหาฟอกเงินไทย อะไรคือจุดอ่อน ? ชวนสำรวจแนวทางการป้องกันฟอกเงินด้วยการแก้กฎหมายบางมาตรา และสร้างความร่วมมือเพื่อให้เกิดความโปร่งใส จากงานวิจัยเรื่อง การต่อต้านการคอร์รัปชัน: มาตรการการควบคุมการเคลื่อนไหวของเงิน (2558)