บทความวิจัย | นโยบายป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย: ศึกษาเชิงวิพากษ์การนํานโยบายไปสู่การปฏิบัติ

การป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรให้ความสำคัญกับปัจจัยสำเร็จ เช่น นโยบาย ทรัพยากร กลไกการควบคุมภายใน เป็นต้น และกำกับดูแลปัจจัยล้มเหลว เช่น ผู้กำหนดนโยบาย ผู้ปฏิบัติงาน สภาพแวดล้อม เป็นต้น เพื่อให้การดำเนินนโยบายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

 

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความสำเร็จในการนำนโยบายว่าด้วยการป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปปฏิบัติ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความล้มเหลวในการนำนโยบายว่าด้วยการป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปปฏิบัติและ 3) เพื่อศึกษาแนวทางเพื่อการป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยงาน 

 

โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพจากเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) การศึกษาภาคสนาม (Field Study) ตลอดจนการศึกษาค้นคว้าจากงานเขียน บทความ ข้อมูล หรืองานวิจัยที่อาศัยการสืบค้นข้อมูลจากเอกสารเพื่อนำไปสู่คำตอบตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด 

 

ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายด้านการป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปปฏิบัติ โดยแบ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จคือ นโยบาย ทรัพยากร ลักษณะขององค์กรที่นำนโยบายไปปฏิบัติ การติดต่อสื่อสาร และกลไกการควบคุมภายใน และปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความล้มเหลวคือ ปัจจัยด้านผู้กำหนดนโยบาย ปัจจัยด้านผู้ปฏิบัติงาน ปัจจัยด้านประชาชนและสื่อมวลชน ปัจจัยด้านองค์กรเพื่อการตรวจสอบ และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม

 

ซึ่งแนวทางสำหรับการป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย คือ หน่วยงานภาครัฐบาลต้องพิจารณาถึงปัจจัยที่จะส่งผลให้เกิดความสำเร็จในการนำนโยบายว่าด้วยการป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปปฏิบัติ โดยการนำปัจจัยดังกล่าว มาบังคับใช้อย่างเป็นรูปธรรม และต้องให้ความสำคัญถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่จะส่งผลให้เกิดความล้มเหลวในการนำนโยบายว่าด้วยการป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปปฏิบัติโดยการขจัดปัจจัยดังกล่าวให้หมดไป

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

กานต์ ศริวิภาสถิตย์. (2557). นโยบายป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย : ศึกษาเชิงวิพากษ์การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(1), 19.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2557
ผู้แต่ง

กานต์ ศรีวิภาสถิตย์

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก

เพื่อประมาณการต้นทุน รายรับ การขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคมของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก และประมาณการผลตอบแทนส่วนเกินที่ตกแก่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์การแสวงหาค่าเช่า และศึกษาการทุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | การต่อต้านการทุจริตอาจต้องเริ่มที่ความเข้าใจของประชาชน

ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสิทธิการรับรู้ข่าวสารของสำนักงาน ป.ป.ช. จำนวน 1,041 คน ในปี 2562 ชี้คนไทยครึ่งประเทศไม่รู้ว่า ตัวเองมีสิทธิเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของสำนักงาน ป.ป.ช.

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ทำไมบริษัทก่อสร้างไทย อาจเป็นได้แค่ผู้รับจ้างของบริษัทจีน ?

ชวนคาดการณ์การเข้ามาของจีนในอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ภายใต้กฎหมายจัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ. 2560 โดยงานวิจัยนี้พบว่า อีก 3 ปีข้างหน้าบริษัทจากจีนอาจสร้างความปั่นป่วนให้อุตสาหกรรมก่อสร้างไทยไม่น้อยทีเดียว

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | How to แก้ไข ใช้งบรัฐไม่เหลื่อมล้ำ

รัฐใช้งบประมาณเยอะขึ้น แต่ทำไมปัญหาความเหลื่อมล้ำแย่ลง ? งานวิจัยเรื่อง “ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการกระจายรายได้ของกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางและความเกี่ยวข้องของดัชนีชี้วัดธรรมาภิบาล” มีคำตอบและแนวทางแก้ไขจากงานวิจัยมาเล่าให้ฟัง