บทความวิจัย | ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินคดีของผู้พิพากษาทางอาชญา: มุมมองของนักศึกษาในกรุงพนมเปญ

ผู้พิพากษาเป็นผู้มีบทบาทในระบบตุลาการในการสร้างความยุติธรรมและกฎหมายให้เกิดขึ้นในสังคม โดยงานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามุมมองของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในกรุงพนมเปญต่อปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินคดีอาญา

 

โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วม 3 แห่ง ได้แก่ Build Bright University, Royal University of Phnom Penh และ University of Cambodia กลุ่มที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษา จำนวน 391 คน 

 

ผลการวิจัย พบว่า ความรู้ในเรื่องกฎหมายของผู้พิพากษา มีอิทธิพลมากที่สุดต่อการพิจารณาคดีอาญาในกัมพูชา กล่าวคือ ยิ่งผู้พิพากษามีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายมากเท่าไหร่ การตัดสินคดียิ่งมีความน่าเชื่อถือและเป็นธรรมมากขึ้นเท่านั้น ในขณะที่ความคิดเห็นของประชาชน อิทธิพลทางการเมือง และการทุจริตมีผลกระทบต่อการตัดสินคดีน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญ

 

ผู้เขียนได้เสนอแนะให้มีการปรับปรุงระบบกฎหมายให้ทันสมัยและตรงกับความต้องการของประชาชน  อีกทั้งควรเพิ่มความรู้เกี่ยวกับระบบตุลาการในหลักสูตรการศึกษาของนักศึกษา และเผยแพร่ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนการทางกฎหมายให้ประชาชนเข้าใจมากขึ้น

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

ปิยะ นาควัชระ. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินคดีของผู้พิพากษาทางอาชญา: มุมมองของนักศึกษาในกรุงพนมเปญ. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 15(1), 45-59.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2566
ผู้แต่ง

ปิยะ นาควัชระ

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการพัฒนากฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริต

เพื่อศึกษาเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 244 มาตรา 245 ประกอบมาตรา 221 เกี่ยวกับการวางระบบการร่วมมือกันทำงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เพื่อกำหนดมาตรการ และวิธีการทำงานร่วมมือกันของ
องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเชิงนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพ
ประสิทธิผล

You might also like...

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : องค์กรย้อนแย้งลักลั่นและเกมผักชีโรยหน้าในดินแดนมัชฌิมา

“ถึงทุกท่านที่ผ่านมาพบโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ไม่ว่าท่านเป็นใคร ข้าขอให้จดหมายฉบับนี้เป็นคำเตือนจากดินแดนมัชฌิมา ดินแดนของข้าที่ความจริงและความลวงถูกพร่ามัวไปด้วยหมอกแห่งอำนาจและความย้อนแย้งได้โปรดพิจารณาจดหมายฉบับนี้อย่างถี่ถ้วน และอย่าได้ซ้ำรอยดินแดนแห่งนี้ด้วยเถิด”

ยุุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามการทุจริตในโครงการพัฒนาของรัฐระดับชุมชน

จากการวิเคราะห์ TOWS Matrix 4 ของโครงการต่าง ๆ ของรัฐ สามารถพัฒนาเป็นโมเดลยุทธศาสตร์ เพื่อช่วยลดปัญหาคอร์รัปชันในโครงการพัฒนาของรัฐระดับชุมชนได้

KRAC Extract | LGBTQI+ กับคอร์รัปชัน: เมื่อศักดิ์ศรีถูกลดค่าในสังคมที่ไม่เท่าเทียม

ชวนเจาะลึกรายงาน “The Impacts of Corruption on LGBTQI+ Rights” ที่เผยให้เห็นว่า การคอร์รัปชันไม่ใช่แค่เรื่องเงิน แต่มันกระทบต่อชีวิต ศักดิ์ศรี และสิทธิของผู้คน มาร่วมเรียนรู้ว่า เราจะสร้างนโยบายต้านคอร์รัปชันที่เห็นหัวใจของความเป็นมนุษย์ได้อย่าง