บทความวิจัย | ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการการสอบเข้ารับราชการตำรวจ: ศึกษาศูนย์ฝึกอบรม ตำรวจภูธรภาค 7 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

การศึกษายุทธศาสตร์การบริหารจัดการการสอบเข้ารับราชการตำรวจ พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินยุทธศาสตร์ คือ ปัจจัยด้านกฎหมายและปัจจัยด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษายุทธศาสตร์การบริหารจัดการการสอบเข้ารับราชการตำรวจของศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 7 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ประชากรผู้ให้ข้อมูล จำนวน 10 คนคัดสรรจากผู้เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการการสอบ ฝ่ายอำนวยการสอบ และนักเรียนนายสิบตำรวจ

  

ผลการศึกษาสรุปได้ ดังนี้ (1) กฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายที่ดี ช่วยป้องปรามการทุจริต จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัยและปิดช่องโหว่การทุจริตการสอบ (2) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการฝึกอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการสอบอย่างเข้มข้น เพื่อให้สามารถตรวจสอบและป้องกันการทุจริตได้ สำหรับข้อเสนอแนะคือ ควรเสริมสร้างกฎหมายให้เข้มงวดขึ้น บังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด และพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องเพื่อรู้เท่าทันกลอุบายในการโกง

 

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

อรุญ กันพร้อม. (2560). ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการการสอบเข้ารับราชการตำรวจ: ศึกษาศูนย์ฝึกอบรม ตำรวจภูธรภาค 7 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 10(2), 1902-1913.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2560
ผู้แต่ง

อรุญ กันพร้อม

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

แนวทางการพัฒนาระบบตรวจสอบภายในกับธรรมาภิบาลในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ 8 จังหวัด ภาคเหนือ เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา แพร่ น่าน ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน

วิเคราะห์หาแนวทางการพัฒนาระบบการตรวจสอบภายในของผู้ตรวจสอบภายใน ให้สามารถสนับสนุนการบริหารราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีกรณีศึกษาในพื้นที่ภาคเหนือ 8 จังหวัด

รูปแบบการทุจริตและปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชันในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ศึกษารูปแบบและปัจจัยเสี่ยงของการทุจริตคอร์รัปชันในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขหรือกำหนดมาตรการป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

รูปแบบการทุจริตและปัจจัยที่ก่อให้เกิดการทุจริตในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการทุจริตในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจประกอบด้วย ปัจจัยภายในคือการขาดความสุจริตในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และปัจจัยภายนอก เช่น รายได้ที่ไม่เพียงพอ ระบบอุปถัมภ์ การขาดการกำกับดูแลที่ดี และอิทธิพลของนักการเมือง

You might also like...

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : บทเรียนจากตึก สตง.: จริยธรรมและความโปร่งใสแบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ

เหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในภัยธรรมชาติที่รุนแรงที่สุดในรอบร้อยปีของประเทศไทย ได้สร้างความเสียหายและความสูญเสียในหลายพื้นที่ ผมขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อผู้ที่สูญเสียและทุกคนที่ได้รับผลกระทบจากภัยครั้งนี้

KRAC Insight | ปฏิรูปวงการพลังงานไทยให้ถึงฝัน ชวนรู้จัก “การแสวงหาค่าเช่า” ในอุตสาหกรรมพลังงานไทย

KRAC ชวนทุกท่านร่วมเจาะลึกเกี่ยวกับโครงสร้างของอุตสาหกรรมพลังงานไทย และทำความเข้าใจกับค่าเช่าและผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปสู่การออกแบบแนวทางการปฏิรูปพลังงานที่ความโปร่งใสและยั่งยืนของไทย

KRAC Insight | PEPs: ร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ สู่การสร้างข้อมูลเพื่อแก้ไขคอร์รัปชันข้ามชาติ

KRAC ชวนดูข้อเสนอต่อเเนวทางการดำเนินงานตาม PEPs จากทีม Open Data เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์ของ Data standard และตัวอย่างการใช้ชุดข้อมูล PEPs สำหรับสื่อมวลชน